x close

แพทย์เตือนคนติดสมาร์ทโฟน ระวังโรคโซเชียลมีเดียซินโดรม เล่นเน็ตจนนิ้วล็อก

โซเชียลมีเดียซินโดรม
แพทย์เตือนคนติดสมาร์ทโฟน ระวังโรคโซเชียลมีเดียซินโดรม เล่นเน็ตจนนิ้วล็อก

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

              แพทย์เตือนคนติดโซเชียล ระวัง โซเชียลมีเดียซินโดรม เกร็งมือจนกล้ามเนื้ออักเสบ มีพังผืด ร้ายแรงอาจถึงขั้นผ่าตัด

              เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2558 หลังจากที่โซเชียลมีเดีย เริ่มแพร่หลายเป็นอย่างมาก ก็ทำให้มีผู้ป่วยที่เกิดจากการเล่นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอันตรายที่ตามมา อาจจะทำให้เกิดโรคนิ้วล็อก และต้องผ่าตัดในที่สุด

              ทั้งนี้ นายคชานนท์ แข็งการ ดีเจคลื่น ว้าว 98.25 อุดรธานี ต้องเข้ารับการรักษาอาการปวดมือใต้นิ้วโป้ง เป็นเวลากว่า 1 เดือน ซึ่งแพทย์ระบุว่า อาการนี้คืออาการอักเสบของกล้ามเนื้อ หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดนิ้วล็อกจนต้องผ่าตัด หรือที่เรียกว่า ไอโฟนซินโดรม หรือ ไอแพดซินโดรม ซึ่งนายคชานนท์เผยว่า ตนเป็นคนติดโซเชียลเน็ตเวิร์กมาก ต้องคอยเช็กโทรศัพท์ตั้งแต่ตื่นนอน ตนเริ่มติดโซเชียลมาหลายปีนับตั้งแต่สมาร์ทโฟนเฟื่องฟู โดยจะมีอาการปวดข้อนิ้วขวา จับแล้วดังกึ๊ก ๆ จากนั้นตนก็ไปรักษา และหมอก็บอกว่านี่เป็นอาการของคนติดสมาร์ทโฟน ตนไปหาหมอเร็วเพราะนิ้วเริ่มมีพังผืด แต่ยังไม่ถึงขั้นนิ้วล็อก

              ด้านพันเอกดุษฎี  ทัตตานนท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กล่าวว่า การเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์กมาก ๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย นับตั้งแต่ ต้นคอ หลัง มือ และนิ้วจากการวิจัยพบว่า คอของมนุษย์มีน้ำหนัก 4 กิโลกรัม หากเล่นโทรศัพท์และก้มคอ 60 องศา จะทำให้เหมือนมีเด็ก 8 ขวบมานั่งขี่คอ ทำให้เกิดอาการล้า อักเสบ และหากเป็นพฤติกรรมเรื้อรัง ก็อาจทำให้เกิดกระดูกคอเสื่อม และเกิดการทับเส้นประสาทที่คอ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อาการอักเสบที่เกิดจากเส้นเอ็นหรือกระดูก แรก ๆ จะเกิดไม่นานและจะหายไป เพราะร่างกายปรับตัวได้ แต่หากเป็นซ้ำ ๆ ก็จะเกิดอาการเรื้อรัง หายยากขึ้น จนสุดท้ายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและกระดูกถาวร กระดูกคอเสื่อม มีหินปูนเกาะ ทับเส้นประสาทที่คอ เฉกเช่นนิ้วและมือ ที่หากถือโทรศัพท์เอาไว้นาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดพังผืด ชา อ่อนแรง เอ็นอักเสบ ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดมือหรือปวดข้อ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

              ส่วนการรักษาและป้องกันโรคนี้ ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้น คือ ครึ่งชั่วโมงพักสายตา 5 นาที 1 ชั่วโมงเปลี่ยนอิริยาบถ 5 นาที ลุกออกจากจอ เดินไปเดินมา เข้าห้องน้ำ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พัก และใช้กล้ามเนื้อมัดอื่นแทนซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อพัก 5 นาที ก็สามารถใช้งานได้อีกชั่วโมงแล้ว


              อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2558 จะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีผู้ป่วยวุ้นตาเสื่อมมากขึ้น จากแสงของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ดังนั้น ควรมีการปรับระดับแสงให้น้อย และหลีกเลี่ยงการเล่นในที่มืด


***หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 08.38 น. วันที่ 4 มกราคม 2558

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก










เรื่องที่คุณอาจสนใจ
แพทย์เตือนคนติดสมาร์ทโฟน ระวังโรคโซเชียลมีเดียซินโดรม เล่นเน็ตจนนิ้วล็อก อัปเดตล่าสุด 5 มกราคม 2558 เวลา 11:52:10 2,943 อ่าน
TOP