x close

สร้างสุขภาพดีตามเข็มนาฬิกาชีวิต



สร้างสุขภาพดีตามเข็มนาฬิกาชีวิต (Lisa)

            นอกจากจะกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกาย และนอนให้เพียงพอแล้ว การรู้เรื่องนาฬิกาชีวิตก็ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้นะ

            แม้เรื่องนาฬิกาชีวิตจะอยู่ใกล้ตัวเราเสียเหลือเกิน แต่หลายคนกลับมองข้ามเพียงเพราะไม่รู้หรือไม่ใส่ใจให้ดีพอ เพราะเรื่องของนาฬิกาชีวิตนั้นเกี่ยวข้องกับสุขภาพล้วนๆ ทั้งกับการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น การผลิตใช่เพื่อมีประจำเดือน หรือการผลิตฮอร์โมนต่างๆ ไปจนถึงการผลิตเซลล์ใหม่ๆ

            เรื่องนี้นักร้องชื่อดังอย่าง ไคลี่ มิน็ก รู้ดีและเริ่มรู้สึกเสียใจที่ตัวเองไม่ยอมแต่งงานให้เร็วกว่านี้ เพราะหลังวัย 35 การตกไข่และตั้งครรภ์นั้นถือเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งเธอมีความคิดว่า การได้เป็นแม่คนถือเป็นสิ่งที่วิเศษสุดที่เธอควรจะทำ แต่อย่างไรก็ดีความคิดนี้อาจถูกแย้งโดย คาเมอรอน ดิแอช เพราะถึงแม้เธอจะเข้าสู่วัย 36 เธอก็ยังไม่เดือดเนื้อร้อนใจที่จะมีลูก แม้ใครๆ จะถามไถ่เธอว่าวัยของเธอนั้น อาจจะตกไข่และมีลูกได้ยากกว่าสาวรุ่น ๆ ก็ตาม

             แล้วอะไรล่ะ...คือนาฬิกาชีวิต

            ถ้าถามแพทย์ตะวันออก นาฬิกาชีวิตคือช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพของเราอย่างแยกไม่ออก โดยภายในหนึ่งวันนั้นร่างกายของเราจะมีการไหลเวียนของพลังชีวิต (พลังลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะภายในร่างกาย โดยใช้เวลาหนึ่งชั่วยาม หรือ 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 12 ช่วง หรือ 24 ชั่วโมง เรียกว่า "นาฬิกาชีวิต" โดยอวัยวะที่พลังชีวิตไหลผ่านนั้นจะมีทั้งอวัยวะตัน คือ ตับ ไต หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด และอวัยวะกลวงคือ กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี ระบบความร้อนของร่างกาย ซึ่งในทางตะวันตกเขามีศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะเรียกว่า Chronobiology ศาสตร์นี้จะศึกษาถึงวงจรการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทั้งกลางวันและกลางคืน หรือหนึ่งวันเต็มๆ ซึ่งบางอวัยวะทำงานได้ดีในเวลากลางวัน และบางอวัยวะทำงานได้ดีในเวลากลางคืน
       

           นาฬิกาชีวิต & การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย

            เช้า

            01.00 ถ้าเข้านอนร่างกายจะมีภาวะหลับตื้น ฝันแต่ก็ตื่นง่าย ร่างกายช่วงนี้ไวกับความเจ็บปวด
            02.00 ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานช้าลง
            03.00 ระบบต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่ภาวะพักกล้ามเนื้อผ่อนคลาย และหายใจช้าลง
            04.00 เลือดไปเลี้ยงสมองช้าลง หายใจอ่อนเป็นช่วงที่คนตายง่ายที่สุด
            05.00 ร่างกายผ่านการพักผ่อนมา 3-4 ชั่วโมงแล้ว ถือว่าได้เติมเต็มความมีชีวิตชีวา
            06.00 ความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ระบบการทำงานในร่างกายถูกปลุกให้ตื่น
            07.00 ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนมากขึ้น ทำให้การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด และอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น
            08.00 การขับของเสียของตับเสร็จสิ้น ร่างกายเข้าสู่ระบบถูกระตุ้น
            09.00 ระบบประสาทถูกกระตุ้นมากขึ้น หัวใจมีกำลังมากขึ้น ระบบความจำทำงานดี
            10.00 ร่างกายแข็งแกร่งที่สุด ความเจ็บปวดในร่างกายจะลดลงมาก การทำงานจะมีประสิทธิภาพสูง
            11.00 ร่างกายยังไม่อ่อนล้า การทำงานยังคงดำเนินต่อเนื่องไปได้ดี
            12.00 พลังร่างกายทั้งหมดถูกกระตุ้นขึ้นมาร่างกายต้องการอาหารมื้อเที่ยง

            บ่าย

            13.00 หลังจากได้อาหารกลางวัน ร่างกายเริ่มอยากพักผ่อน
            14.00 การตอบสนองของร่างกายและสมองช้าลง
            15.00 อวัยวะรับความรู้สึกเริ่มไวต่อการตอบสนอง
            16.00 ระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ละลดลงอย่างรวดเร็ว
            17.00 ประสิทธิภาพการทำงานยิ่งสูงขึ้น
            18.00 พลังในการทำงานถึงจุดสูงสุด บางคนเอาพลังเหลือเฟือไปออกกำลังกาย
            19.00 ความดันเลือดสูง หงุดหงิดง่าย
            20.00 การตอบสนองรวดเร็ว ว่องไว
            21.00 ความจำดีเยี่ยม
            22.00 เริ่มรู้สึกง่วง การทำงานของร่างกายลดลง
            23.00 เซลล์ต่างๆ ของร่างกายเริ่มซ่อมแซมฟื้นฟูตัวเอง
            24.00 ร่างกายขจัดเซลล์ที่ตาย และสร้างเซลล์ตัวใหม่ขึ้นมาแทน


นาฬิกาชีวิต & การทำงานของอวัยวะ

 01.00-03.00 น. ตับ
 03.00-05.00 น.  ปอด
05.00-07.00 น.
ลำไส้ใหญ่
 07.00-09.00 น.  กระเพาะอาหาร
 09.00-11.00 น.  ม้าม
 11.00-13.00 น.  หัวใจ
 13.00-15.00 น.  ลำไส้เล็ก
 15.00-17.00 น.  กระเพาะปัสสาวะ
 17.00-19.00 น.  ไต
 19.00-21.00 น.  เยื่อหุ้มหัวใจ
 21.00-23.00 น.  ระบบความร้อน (ซานเจียว)
 23.00-01.00 น.  ถุงน้ำดี







ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สร้างสุขภาพดีตามเข็มนาฬิกาชีวิต อัปเดตล่าสุด 30 เมษายน 2558 เวลา 10:56:23 23,925 อ่าน
TOP