x close

ให้ตายสิพับผ่า การปฐมพยาบาลที่คิดว่าใช่ กลับอันตรายเหลือเชื่อ !

ให้ตายสิพับผ่า การปฐมพยาบาลที่คิดว่าใช่ กลับอันตรายเหลือเชื่อ !

          โอละพ่อล่ะสิ เมื่อการปฐมพยาบาลบางอย่างที่เคยคิดว่าปลอดภัย กลับเป็นแค่ความเข้าใจผิด ๆ แถมอันตรายมากกว่าที่คิดไว้ !

          เมื่อเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบที่ไม่ต้องหอบกันไปถึงโรงพยาบาล เชื่อว่าสิ่งแรกที่ทุกคนคิดถึงและใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วยเหล่าน­­ั้นคงไม่พ้นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างใดอย่างหนึ่งที่พอมีควา­ม­รู้พื้นฐานอยู่บ้าง แต่จะเป็นอย่างไรหากการปฐมพยาบาลนั้นไม่ใช่ทางเลือกที่ดี อย่างการปฐมพยาบาล 7 อย่างตามที่ Reader’s Digest ออกโรงเตือนไว้ว่า วิธีบรรเทาอาการเจ็บป่วยเหล่านี้แหละตัวร้ายที่เรานึกไม่ถึง

1. แผลไฟไหม้บรรเทาแป๊บเดียวไม่หายหรอกนะ

          เมื่อเกิดแผลไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวกผิวจนพุพอง หน่วยกาชาดแห่งสหรัฐอเมริกาก็บอกว่า วิธีรักษาที่ดีที่สุดไม่ใช่ใช้น้ำแข็งประคบหรือทายาสีฟัน แต่เป็นการบรรเทาความร้อนผ่านกระแสน้ำโดยตรงนานกว่า 20 นาทีขึ้นไป

          ประเภทราดผิวด้วยน้ำแป๊บ ๆ ไม่ช่วยให้คุณลดอาการแสบร้อนไปได้อย่างที่เข้าใจหรอกนะจ๊ะ เนื่องจากความร้อนที่ทำร้ายผิวมีความลึกกว่าผิวหนังชั้นนอก หรือบางเคสอาจลึกไปเกือบถึงเนื้อเยื่อเลยด้วยซ้ำ การบรรเทาและป้องกันความร้อนทำลายเซลล์ผิวไปมากกว่าที่เป็นอยู่­­จึงต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก

ให้ตายสิพับผ่า การปฐมพยาบาลที่คิดว่าใช่ กลับอันตรายเหลือเชื่อ !

2. แหงนหน้าเมื่อเลือดกำเดาไหล

          เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของคนที่เลือดกำเดาไหล ยังไงก็ต้องแหงนหน้าขึ้นเพื่อหวังจะหยุดเลือดกำเดาที่ไหลออกมา อ๊ะ ! นี่ยังไม่ใช่วิธีที่ถูกค่ะ แถมยังอันตรายกว่าเดิมอีกด้วยซ้ำ เนื่องจากเลือดกำเดาอาจไหลย้อนกลับสู่ลำคอ เสี่ยงต่ออาการสำลัก หายใจติดขัด ซึ่งวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องสำหรับอาการเลือดกำเดาไหลก็คือ จัดตำแหน่งศีรษะให้ตั้งตรงตามธรรมชาติ คางตั้งฉากกับพื้น ใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งบีบบริเวณดั้งให้เกิดแรงดัน จากนั้นนั่งลงและทำตัวให้ผ่อนคลาย เลือดกำเดาจะค่อย ๆ หยุดไหลเอง

3. ประคบร้อนอาการเคล็ดขัดยอก หรือกระดูกที่หัก

          วิลเลียม กลูคแมน แพทย์จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งสหรัฐอเมริกาเตือนว่า การประคบร้อนกับกล้ามเนื้อที่เคล็ดขัดยอก หรือกระดูกที่หักจะยิ่งทำให้เลือดไหลเวียน ณ จุดนั้น ก่อให้เกิดอาการบวมยิ่งขึ้น ฉะนั้นเลือกบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกและกระดูกหักด้วยของเย็นดีกว­­่า

ให้ตายสิพับผ่า การปฐมพยาบาลที่คิดว่าใช่ กลับอันตรายเหลือเชื่อ !

4. เขี่ยเศษผงที่เข้าตา

          อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับดวงตาของเราเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย­­ จนทำให้หลายคนหลงคิดว่าตัวเองโปรพอจะรักษาอาการเจ็บตาได้ชิล ๆ ด้วยการเขี่ยสิ่งแปลกปลอมในลูกตาออกมา จัดการหยอดตาอีกหน่อย แล้วปิดตาด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็จบ แต่อยากเตือนสักนิดค่ะว่า การเขี่ยสิ่งแปลกปลอมออกจากดวงตาอาจยิ่งเสี่ยงทำให้ม่านตาเป็นร­­ิ้วรอย หรือหนักกว่านั้นอาจจะตาอักเสบขึ้นมาก็ได้

          ดังนั้นมาปฐมพยาบาลดวงตาด้วยวิธีที่ถูกต้องกันดีกว่า เริ่มจากหาผ้าพันแผลปิดตาเอาไว้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมชนิดอื่นหลงเข้าไป จากนั้นรอสักพัก ร่างกายจะหลั่งน้ำตาไล่สิ่งแปลกปลอมที่มีอยู่จนหมดด้วยตัวเอง หลังจากนี้คุณจึงค่อยล้างตาด้วยน้ำยาล้างตาทีหลัง

          ส่วนตาที่มีสารเคมีเข้าไปทำให้รู้สึกแสบ เคสนี้ควรต้องรีบล้างตากับน้ำสะอาดให้เร็วที่สุด และหากอาการไม่ดีขึ้นคงต้องพบแพทย์เพื่อรักษากันต่อไป

ให้ตายสิพับผ่า การปฐมพยาบาลที่คิดว่าใช่ กลับอันตรายเหลือเชื่อ !

5. เปลี่ยนผ้าพันแผลออกจากแผลที่เลือดยังไหล

          เพราะเลือดยังไหลอยู่คุณจึงตัดสินใจเปลี่ยนผ้าพันแผลใหม่โดยนำผ­­้าพันแผลเก่าออก ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเด็ดขาด เนื่องจากโดยปกติแล้ว แผลในผ้าพันแผลเก่าจะสร้างกลไกแข็งตัวของเลือดให้จับกันเป็นก้อ­­น ทว่าเมื่อคุณดึงผ้าพันแผลเก่าออกไป การแข็งตัวของเลือดที่เพิ่งจะเกิดขึ้นนั้นก็คงหลุดติดผ้าพันแผล­­ไปด้วย คราวนี้เลือดก็ทะลักจนปิดแทบไม่ทันสิจ๊ะ

          ถ้าอย่างนั้นเอาเป็นว่า ในกรณีที่เลือดยังไหลซึมต่อเนื่องให้คุณปิดผ้าพันแผลผืนใหม่ทับ­­เข้าไป แล้วออกแรงกดหยุดเลือดสักพัก เมื่อเลือดหยุดไหลแน่แล้วจึงค่อยล้างแผลตามปกติ

6. ทำเฉยเมื่อประสบอุบัติเหตุทางรรถยนต์

          แม้จะไม่รู้สึกบาดเจ็บอะไรสักนิดนอกจากเจ็บใจที่ต้องเสียเงินซ่­­อมรถกันอีกแล้ว แต่คุณก็อย่าชะล่าใจไปค่ะ เพราะอาการบอบช้ำจากอุบัติรถชนนั้นอาจเกิดขึ้นหลังจากประสบเหตุ­­ราว ๆ 1-2 ชั่วโมงให้หลัง โดยเฉพาะหากคุณได้รับแรงกระแทก แม้เพียงเบา ๆ ก็อาจทำให้ช้ำได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเต็มร้อยก็น่าจะไปตรวจเช็กอาการที่โรงพ­­ยาบาลหรือคลินิกใกล้ ๆ สักหน่อย

7. แอบรักษาอาการป่วยด้วยตัวเองเงียบ ๆ

          คนจำนวนไม่น้อยที่ขี้เกรงใจ เวลาเจ็บป่วยก็มักไม่ยอมเอ่ยปากให้ใครได้รับรู้ แต่หากคุณเป็นคนที่แพ้แมลง สัตว์ หรืออาหารชนิดใดก็ตาม และมักจะมีรีแอคชั่นกับสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างรุนแรง ควรบอกกล่าวคนรอบข้างไว้ให้รู้ด้วยนะคะ เพราะอย่าลืมว่าอาการแพ้ของแต่ละคนแสดงออกต่างกัน เมื่อเกิดอาการขึ้นมาคนรอบข้างจะงงจนทำอะไรไม่ถูก และจบลงตรงที่ช่วยไม่ทันกันซะเปล่า ๆ

          นอกจากนี้เคสสำลักอาหารก็เช่นกัน ถ้าเกิดขึ้นกับคุณก็อย่าเกรงใจคนที่กำลังทานอาหารเลยเถอะ สะกิดคนรอบข้างให้ช่วยโทรเรียกรถพยาบาลดีที่สุด เพราะเคยมีกรณีน่าสลดเกิดขึ้นมานักต่อนักแล้ว ที่สำลักแล้ววิ่งเข้าห้องน้ำเพื่อจะล้วงคอเอาอาหารออกมา ทว่ากลับทำไม่สำเร็จและขาดอากาศหายใจตายเป็นปริศนาโดยลำพัง

          เรื่องการปฐมพยาบาลเหล่านี้เป็นเกร็ดความรู้ที่มีประโยชน์กับคุ­­ณและคนรอบตัวมาก อย่างน้อยหากหาทางช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ถูกวิธีจริง ๆ ก็คงเพิ่มความปลอดภัยได้มากขึ้นนะคะ











เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ให้ตายสิพับผ่า การปฐมพยาบาลที่คิดว่าใช่ กลับอันตรายเหลือเชื่อ ! อัปเดตล่าสุด 9 เมษายน 2558 เวลา 15:43:14 4,920 อ่าน
TOP