x close

อุจจาระร่วง ใครว่าไม่อันตราย ไม่ระวังก็ถึงตายได้เหมือนกัน

อุจจาระร่วง ใครว่าไม่อันตราย ไม่ระวังก็ถึงตายได้เหมือนกัน

          โรคอุจจาระร่วง โรคใกล้ตัวที่รู้จักกันดี อย่าคิดว่าโรคนี้ทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ระวัง รักษาไม่ถูก อาจเกิดอาการแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้

          บางคนอาจคิดว่า "อาการอุจจาระร่วง" ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง ก็แค่เพียงท้องเสียและอาเจียน หายารับประทาน ดื่มน้ำเกลือแร่ก็หาย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลยค่ะ เพราะโรคอุจจาระร่วงนั้น มีอาการที่ต้องสังเกตอย่างใกล้ชิด และไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง หากมัวแต่ชะล่าใจก็อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่อาจถึงแก่ชีว­­­ิตได้

          ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคอุจจาระร่วงกันให้มากขึ้น­­­­­­ โดยมี น.อ.นพ.ธนาสนธิ์ ธรรมกุล หน่วยโรคติดเชื้อ กองอายุกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไว้ในนิตยสารหมอชาวบ้าน เพื่อบอกให้รู้ว่า โรคนี้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไตวาย หรือถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ รู้ไว้ก่อนจะได้รักษาและป้องกันได้อย่างถูกทางค่ะ

 สาเหตุของอุจจาระร่วง

          อุจจาระร่วงมักเกิดจากสารพิษหรือเชื้อโรคซึ่งอาจจะมีอยู่ตั้งแต­­­่แรกในอาหารหรือน้ำที่เราดื่มหรือปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งมือที่ปนเปื้อนแล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาดก่อน­­­ปรุงหรือกินอาหาร ซึ่งเรามักเรียกกลุ่มอาการอุจจาระร่วงที่มีสาเหตุมาจากอาหารหรือ­น้ำว่า โรคอาหารเป็นพิษ

          นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้มีอาการอุจจาระร่วงได้ เช่น บางคนดื่มนมแล้วไม่ย่อย ยาบางชนิด เช่น ยาที่เป็นน้ำเชื่อม ยาปฏิชีวนะ หรือโรคลำไส้บางชนิดก็ทำให้มีอุจจาระร่วงได้ บางครั้งท่านอาจจะสงสัยว่าทั้ง ๆ ที่กินอาหารสุกแล้วก็ยังเกิดอาหารเป็นพิษทำให้ท้องเสียและอาเจี­­­ยนได้

          ทั้งนี้ เพราะสารพิษบางชนิดที่ตกค้างอยู่ในอาหารหรือน้ำมีความทนทานต่อค­­­วามร้อน กรณีนี้มักพบในอาหารปรุงสุกแล้วปล่อยทิ้งค้างไว้เป็นเวล­านานโดยไม่ได้เก็บรักษาให้เหมาะสม เช่น ข้าวผัดหลังผัดทิ้งไว้ค้างคืนโดยไม่ได้ใส่ตู้เย็นที่อุณหภูมิเห­­­มาะสมแล้วนำมาอุ่น เชื้อจุลชีพที่เจริญในระหว่างนี้อาจปล่อยสารพิษไว้ เมื่อนำมาอุ่นความร้อนสามารถทำลายเชื้อจุลชีพได้ แต่ไม่สามารถทำลายสารพิษที่ตกค้างได้

          ดังนั้นนอกจากต้องใส่ใจกับความสุกความสะอาดของอาหารและสุขอนามั­­­ยของผู้ปรุงอาหารหรือบริการแล้ว ขั้นตอนในการเก็บรักษาอาหารเพื่อนำมาบริโภคซ้ำก็มีความสำคัญเช่­­­นกัน ในทางการแพทย์เราให้คำนิยามของอาการอุจจาระร่วงว่าคือการถ่ายอุ­­­จจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมงหรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้น

          ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง บางรายอาจมีไข้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเนื่องจากการขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระหายน้ำ หน้ามืด ในรายที่มีอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงอาจมีปัสสาวะออกน้­­­อย ซึมลง สับสน ความดันโลหิตต่ำได้

อุจจาระร่วง ใครว่าไม่อันตราย ไม่ระวังก็ถึงตายได้เหมือนกัน

อาการของอุจจาระร่วง

          อาการอุจจาระร่วงแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มที่มีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น และกลุ่มที่มีอาการอุจจาระร่วงเป็นอาการเด่น

          กลุ่มที่ 1 มีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น มีสาเหตุใหญ่อยู่ 2 สาเหตุ คืออาการเป็นพิษจากสารพิษที่ทนความร้อนและการติดเชื้อไวรัสในระ­­­บบทางเดินอาหาร กรณีที่เกิดจากสารพิษที่ทนต่อความร้อน ผู้ป่วยมักมีอาการหลังกินอาหารประมาณ 6-24 ชั่วโมง โดยมักมีประวัติกินอาหารที่ทิ้งค้างไว้นาน ผู้ป่วยมักเริ่มต้นด้วยอาการอาเจียนมากร่วมกับปวดท้อง ต่อมาจึงถ่ายอุจจาระร่วงซึ่งมักเป็นไม่รุนแรง

          ส่วนกรณีของการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหารมักพบในเด็ก ส่วนใหญ่ติดต่อทางน้ำดื่ม และอาหาร มีระยะฟักตัวประมาณ 18-72 ชั่วโมง มักเริ่มด้วยไข้ต่ำ ๆ ไอ หวัดเล็กน้อย ซึ่งมักเป็นอยู่ 1-2 วัน ต่อจากนั้นจะมีอาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย และมีอาการอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ แต่จะไม่มีมูกเลือด

อุจจาระร่วง ใครว่าไม่อันตราย ไม่ระวังก็ถึงตายได้เหมือนกัน

          กลุ่มที่ 2 มีอาการอุจจาระร่วงเป็นอาการเด่น อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มที่อุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำกับกลุ่มที่ถ่ายเป็นมูกปนเลือด ทั้ง 2 กลุ่มส่วนมากเกิดการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย กลุ่มที่อุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปสร้างสารพิษในลำไส้ ตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้ เช่น อหิวาตกโรค

          ส่วนกลุ่มที่ถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด มักจะมีอาการไข้ ปวดท้อง หรือปวดเบ่งที่ทวารหนัก ถ่ายบ่อย โดยถ่ายแต่ละครั้งปริมาณไม่มาก ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น "โรคบิด" เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ลุกลามเข้าไปในผนังลำไส้ ทำให้มีลำไส้อักเสบ
 
          ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการอุจจาระร่วง มักเป็นชนิดที่อาการไม่รุนแรง อาจมีถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำปนเนื้อประมาณ 5-6 ครั้งต่อวัน ไม่มีอาการของการขาดน้ำหรือเกลือแร่ เช่น ไม่มีอาการอ่อนเพลียกระหายน้ำ หน้ามืด หรือซึมลง มักจะไม่มีไข้หรือมีเพียงไข้ต่ำ ๆ อาจจะมีปวดท้องหรืออาเจียนมากในระยะแรก แต่อาการมักจะดีขึ้นได้เองใน 1-2 วัน

          ผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจดูแลตัวเองไปก่อนได้โดยไม่จำเป็นต้องพบแพท­­­ย์ มุ่งเน้นที่การทดแทนน้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอ โดยการดื่มน้ำเกลือแร่ และกินยารักษาตามอาการ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ การกินอาหารถ้าอุจจาระร่วงไม่มากสามารถกินอาหารได้ตามปกติ แต่ถ้ามีอาการมากแนะนำให้กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป น้ำผลไม้ นมถั่วเหลือง ส่วนนมสดไม่ควรดื่มเพราะอาจทำให้อุจจาระร่วงมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และไม่ควรกินอาหารที่มีไขมันมาก

อุจจาระร่วง ใครว่าไม่อันตราย ไม่ระวังก็ถึงตายได้เหมือนกัน

กินยาอะไรใช้บรรเทาอาการ

          ยาที่อาจกินได้โดยไม่ต้องพบแพทย์ ได้แก่ ยากลุ่มที่มีการออกฤทธิ์ดูดขับสารพิษ เช่น kaolin, pectin, activated charcoal ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัย แต่ลดปริมาณอุจจาระได้ไม่มาก ไม่ทำให้อุจจาระร่วงหายเร็วขึ้น แต่ทำให้อุจจาระมีลักษณะเป็นเนื้อมากขึ้น

          ส่วนยากลุ่มที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ เช่น loperamide (lmodium) สามารถทำให้ถ่ายอุจจาระน้อยครั้งลง ยานี้ห้ามใช้ในรายที่ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดหรือมีไข้สูง อาจกินในรายที่ต้องทำงานต่อเนื่อง ไม่สามารถหยุดงานได้หรือต้องเดินทางไกล แต่ถ้ากินมากเกินไปอาจทำให้ท้องอืด แน่นท้อง จึงไม่ควรกินเกิน 1-2 เม็ดต่อวัน

          กรณีที่กินแล้วไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีอาการปวดมวนท้องอาจกินยา hyoscine (buscopan) ซึ่งมีฤทธิ์ลดอาการบีบเกร็งของลำไส้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากอาการปวดท้องอาจเกิดจากส­­­าเหตุอื่นที่มีอันตราย ดังนั้น ถ้าปวดท้องรุนแรง มีไข้ถ่ายมีมูกปนเลือด หรือกินยาแล้วไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

ผู้ป่วยอุจจาระร่วงที่ควรปรึกษาแพทย์ ได้แก่

          - ผู้ป่วยที่มีอาการนานกว่า 2 วัน
          - มีอาการของการขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น กระหายน้ำ ปากแห้ง เพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด ปัสสาวะออกน้อย
          - มีอาการปวดท้องหรือปวดเบ่งรุนแรง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมูกปนเลือด
          - และผู้ป่วยที่มีไข้สูง

          นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจพิจารณาพบแพทย์เร็วขึ้น



น้ำเกลือชนิดกิน

1. ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) ซองเล็ก (สำหรับผสมน้ำ 1 แก้ว) ราคาซองละ 3 บาท ของใหญ่ (สำหรับผสมน้ำ 1 ขวดน้ำปลากลม) ราคาของละ 5 บาท)

          สรรพคุณ : ใช้ทดแทนการเสียน้ำและเกลือแร่ในรายที่มีอาการท้องร่วง หรือในรายที่อาเจียนมาก หรือเสียเหงื่อมากก็ได้ นอกจากนี้ ยังใช้ป้องกันการช็อกจากการเสียน้ำมากได้ด้วย

          ขนาดและวิธีใช้ : เทผงยาทั้งซองลงในน้ำดื่ม 1 แก้ว (สำหรับซองเล็ก) หรือ 1 ขวด (สำหรับซองใหญ่) ใช้ดื่มบ่อย ๆ แทนน้ำเมื่อเริ่มมีอาการท้องร่วง ถ้าถ่ายบ่อยให้ดื่มบ่อยครั้งขึ้น ถ้าอาเจียนด้วย ให้ดื่มทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง

          ให้ดื่มแทนน้ำตามปริมาณอุจจาระและปัสสาวะที่ถ่ายออกไป หรือจนกว่าปัสสาวะออกมากและใสหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น

          คำเตือน : คนที่เป็นโรคไต โรคหัวใจ หรือบวม ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้บวมและเหนื่อย เมื่อละลายยาในน้ำแล้ว อย่าทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง ยาจะบูดเสีย ไม่ควรใช้

2. น้ำเกลือชาวบ้าน

          สรรพคุณ : ใช้ทดแทนการเสียน้ำและเกลือแร่เช่นเดียวกับผงน้ำตาลเกลือแร่ โดยสามารถผสมเองตามสูตรผสม ดังนี้

          - น้ำสุก 1 ขวด (ขวดน้ำปลากลม 750 มล.)
          - น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ (หรือ 2 กำมือ)
          - เกลือ ครึ่งช้อนชา (1-2 หยิบมือ)

          นำมาผสมกันหรือต้มรวมกันก็ได้

          ขนาดและวิธีใช้ : เช่นเดียวกับผงน้ำตาลเกลือแร่



การป้องกันอาการอุจจาระร่วง

          ได้แก่ กินอาหารและน้ำที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน ซึ่งควรเริ่มตั้งแต่อาหารสดที่ซื้อมา การเก็บรักษา การเตรียมหรือปรุงอาหาร สถานที่ในการเตรียมอาหาร การล้างมือบ่อย ๆ ขณะเตรียมอาหาร โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสของสด อาหารที่ปรุงสุกแล้วควรเก็บใส่ภาชนะที­่มีฝาปิดมิดชิด ถ้าปล่อยทิ้งค้างไว้นานควรเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม

          นอกจากนี้ การล้างมือก็เป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการป้องกันอาหารอุจจาระ­­­ร่วง ทั้งนี้เพราะมือของเราอาจสัมผัสกับเชื้อจุลชีพที่ปนเปื้อนอยู่ใ­­­นสิ่งแวดล้อม จึงควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังกินอาหาร และภายหลังกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจทำให้มือปนเปื้อน เช่น หลังเข้าห้องน้ำ หลังปิดปากและจมูก เมื่อไอหรือจาม

          ได้รู้จักกับสาเหตุ อาการ วิธีรักษา และการป้องกันของโรคอุจจาระร่วงกันไปแล้ว คงจะทำให้พอที่จะรับมือกับโรคนี้กันได้แบบสบาย ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ก็ควรจะสังเกตอาการให้ดี เพราะหากรักษาด้วยตนเองแล้วยังไม่ดีขึ้นก็ควรจะรีบไปพบแพทย์ก่อ­­­นที่อาการจะหนักนะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อุจจาระร่วง ใครว่าไม่อันตราย ไม่ระวังก็ถึงตายได้เหมือนกัน อัปเดตล่าสุด 30 มิถุนายน 2564 เวลา 16:44:31 6,046 อ่าน
TOP