x close

เคล็ดลับดูแลสุขภาพขณะเดินทาง ไม่ต้องห่วงว่าจะป่วยจนหมดสนุก

เคล็ดลับดูแลสุขภาพขณะเดินทาง ไม่ต้องห่วงว่าจะป่วยจนหมดสนุก

          สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่อยากหมดสนุกขณะเดินทางท่องเที่ยว เคล็ดลับรักษาสุขภาพเหล่านี้รู้แล้วต้องรีบจด

          ในการเดินทาง นอกจากเรื่องของสัมภาระ เงินทอง และการวางแผนในการเดินทางจะสำคัญแล้ว สิ่งที่สำคัญและขาดได้ไม่ได้เลยอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของสุข­­­ภาพ เพราะสุขภาพนั้นเป็นตัวชี้วัดอย่างดีเลยว่าการเดินทางในครั้งนั­้นจะล่มไม่เป็นท่า หรือจะสนุกสนานกันไปได้ตลอดทริป และหลายคนก็คงไม่รู้จะทำอย่างไรให้สุขภาพของเราแข็งแรงสามารถตะลุ­­ยไปได้ทุกทริปแบบสบาย ๆ ไร้โรคภัย

          อ๊ะ ๆ อย่าเพิ่งคิดกังวลไปถ้ายังไม่ได้อ่านเรื่องดี ๆ ที่ วารสาร หนังสืออาหาร & สุขภาพ นำมาฝากกัน แพ็กเสื้อผ้าใส่กระเป๋ากันแล้ว ก็ห้ามลืมแพ็กความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในระหว่างการเดินทางไป­­­ด้วยนะ จะได้มีทริปที่แฮปปี้ไงล่ะ

          Elson M. Hass, M.D. ผู้เขียนบทความเรื่อง Staying Healthy While Traveling จากวารสาร Total เปิดเผยว่าเมื่อต้องเดินทางโดยเครื่องบินและต้องนอนตามโรงแรม ผู้เขียนมักจะเตรียมอาหารที่ช่วยเพิ่มสารอาหาร เช่น อัลมอนด์และเมล็ดดอกทานตะวัน, แท่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ, แอปเปิลชนิดออร์แกนิกสักสองลูก, และน้ำสะอาดบริสุทธิ์อย่างน้อย 1 ควอร์ต (ประมาณ 1 ลิตร) หรือมากกว่า แล้วยังมีทั้งสมุนไพรกับอาหารเสริม เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อรับมือกับความเครียดในการเดินทางและการที่ต้องได้รับสารเค­­­มีต่าง ๆ รวมทั้งทิงเจอร์เพื่อช่วยป้องกันหลอดคอและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน­­­

เคล็ดลับดูแลสุขภาพขณะเดินทาง ไม่ต้องห่วงว่าจะป่วยจนหมดสนุก

          รายการต่อไปนี้คือสิสต์ที่จะช่วยให้แนวคิดแก่คุณในการหาอาหารว่­­­างและอาหารเสริมที่เหมาะสมในการเดินทาง บางครั้งผู้เขียนใช้อาหารเสริมเหล่านี้เป็นอาหารมื้อง่าย ๆ ซึ่งบางทีก็หาอาหารอร่อย ๆ ได้จากตลาดท้องถิ่น เช่นผลไม้และสลัด ส่วนอาหารเสริมที่ติดตัวไปด้วยได้แก่ วิตามิน ซี และอี, ซีลีเนียม (Selenium) และเบต้าแคโรทีน (β-carotene) หรืออาหารเสริมสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยทั้งป้องกันและช่วย­­­ภูมิคุ้มกันได้มากยิ่งขึ้น เช่น กลูต้าไธโอน, แอล-ซีสเทอีน (L-Cysteine) และกรดอัลฟาไลโปอิค(Alpha Lipoic Acid)

          อาหารเสริมช่วยย่อย เช่น เอนไซม์, กรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid : HCI), โปรไบโอติกส์ (Probiotics) อย่างเช่นแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ

          อาหารเพิ่มพลังยามฉุกเฉินที่มีน้ำตาลน้อย, อาหารผงที่ใช้ชงกับน้ำ

          เมื่อเดินทางไปยังประเทศในโลกที่สาม หรือบริเวณที่มีปัญหาในการปนเปื้อนในอาหารและน้ำ คุณจะต้องมีอาหารเสริม จุลชีพจะไม่เติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด หรือในที่ที่มีจุลชีพที่คอยแย่งเจริญเติบโตอยู่มาก ๆ ดังนั้น การรับประทาน HCI เพื่อป้องกัน (กรดไฮโดรคลอริก ในรูปของบีเทน ไฮโดรคลอไรด์ (Betaine HCL) ซึ่งมักมีเปปซิน (pepsin) เพื่อช่วยการย่อยโปรตีน) และโปรไบโอติกส์อยู่เป็นประจำจะช่วยป้องกันจากการปนเปื้อนในอาห­­­ารและอาหารเป็นพิษ และให้ดื่มเฉพาะน้ำที่ทำให้สะอาดแล้วหรือน้ำจากขวด ให้ปอกเปลือกผลไม้ทุกชนิด และเมื่อรับประทานอาหารข้างนอก ผู้เขียนพยายามหาอาหารที่ทำให้สุก และรับประทาน HCI และเอนไซม์พร้อมอาหารทุกมื้อ

          ผู้เขียนมักใช้ยาฆ่าเชื้อธรรมชาติสำหรับทางเดินอาหารเพื่อป้องก­­­ันการรุกรานจากจุลชีพ เช่น Gastromycin ของ Nutricology และรับประทานน้ำมันเมล็ดเสาวรส, ว่านหางจระเข้, บิสมัท, และดีจีแอล, สารสกัดชะเอมเทศ ซึ่งใช้ได้ผลดีกับผู้เขียนและคนไข้หลายคนในหลายสิบปีที่ผ่านมา ผู้เขียนรับประทานราว 3-4 ฝาเมื่อท้องไส้ไม่ค่อยดี หรือหลังจากรับประทานอาหารที่คาดว่าอาจทำให้มีปัญหา หรือก่อนอาหารหากรู้สึกว่าจะต้องใช้มันหรือกินเลี้ยงในแบบที่ต่­­­างคนต่างนำมาอาหารมาร่วมงาน

เคล็ดลับดูแลสุขภาพขณะเดินทาง ไม่ต้องห่วงว่าจะป่วยจนหมดสนุก

รับประทานอาหารที่ร้านอาหาร

          เมื่อรับประทานตามร้านหาร้านอาหารที่สะอาดก่อนจะเข้าไป เมื่อเดินทางแล้วเลือกร้านอาหาร การได้รับคำแนะนำจากผู้คนท้องถิ่นหรือหารายละเอียดจากอินเทอร์เ­น็ตมาก่อนจะช่วยได้มาก หากคุณต้องพิจารณาอาหารบางอย่างที่จำเพาะเจาะจง เช่น อาหารมังสวิรัติ, อาหารไขมันต่ำ หรือเกลือต่ำ, หรือคุณอาจต้องการร้านที่ให้บริการยุติธรรมและสะอาด ก็อาจจะอ่านรีวิว หรือเช็กกับเจ้าหน้าที่ทางโรงแรมเพื่อขอคำแนะนำ และให้ใช้สัญชาตญาณของตัวเองด้วย ซึ่งคุณต้องให้ความสนใจในทุกรายละเอียด หรือหารีวิวในอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันทำได้ง่ายมาก จะช่วยได้มากหากจะซื้ออาหารง่าย ๆ ที่จะรับประทานได้ที่ห้องในโรงแรม เช่นน้ำกับมะนาว (เอามาทำน้ำมะนาว), ผลไม้ต่าง ๆ , ขนมปังเบเกิล, ถั่ว หรือชีส (โดยเฉพาะหากในห้องพักมีตู้เย็นเล็ก ๆ ไว้ให้) จะช่วยลดจำนวนมื้อที่ต้องออกไปทานตามร้านและลดค่าบริการในโรงแรม

          เป็นการฉลาดที่จะจำกัดจำนวนครั้งที่จะรับประทานอาหารตามร้านข้า­­­งนอก เพราะอาหารตามร้านอาจมีส่วนผสมซุกซ่อนอย่างเช่น น้ำตาล, ไขมัน, เกลือที่มากเกินไป และสารเคมีเติมแต่ง รวมทั้งอาจออกไปรับเชื้อโรคจากผู้คนด้วย แล้วยังมีแนวโน้มที่จะรับประทานมากเกินไปและไม่คำนึงถึงแคลอรี และไขมันที่คุณบริโภค โดยเฉพาะเมื่อรับประทานในร้านบุฟเฟ่ต์หรือฟาสต์ฟู้ด

          ตัวอย่างเช่น อาหารอบและซอสส่วนมากที่ใช้ตามร้านอาหารล้วนมีแคลอรีสูงจากน้ำต­­­าลและไขมัน นอกจากจะระบุเป็นอย่างอื่นบนเมนู หรือคุณทราบได้แน่ชัดว่าพ่อครัวที่ร้านนั้น ๆ ทำอาหารอย่างไร เทคนิคในการทำอาหารมักจะไม่ค่อยเน้นในการทำอาหารไขมันต่ำหรือโซ­­­เดียมต่ำ อาหารทอดมักจะทอดด้วยน้ำมันคุณภาพต่ำ ซึ่งมักจะพบได้ทั่วไป

เคล็ดลับดูแลสุขภาพขณะเดินทาง ไม่ต้องห่วงว่าจะป่วยจนหมดสนุก

          เนื่องจากร้านอาหารนั้นเป็นธุรกิจและต้องการกำไร จึงพยายามลดค่าใช้จ่ายด้วยการใช้ส่วนผสมราคาถูก, วัตถุดิบที่ซื้อเป็นจำนวนมากและอาหารที่ผ่านกระบวนการที่บูดเสี­­­ยได้ยาก ในร้านอาหารราคาถูก พวกเขาอาจไม่ซื้อหาสิ่งที่ดีหรือผลไม้, ผัก หรืออาหารอื่น ๆ ที่ดีที่สุดมาให้ และมักจะไม่ซื้ออาหารแบบออร์แกนิก อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้นตามย่านชนบท เนื่องจากร้านอาหารมักใช้พืชผักที่ปลูกอย่างธรรมชาติและมีมากใน­­­ท้องถิ่นนั้น ๆ

          แม้แต่ในร้านอาหารที่ราคาแพงก็ยังใช้ทางลัดโดยใช้ส่วนผสมที่ราค­­­าถูกกว่า หรือซื้ออาหารที่ผ่านการถนอมเพื่อเก็บไว้ได้นาน ๆ ในปริมาณมาก ๆ ซึ่งนี่คุณต้องใช้ความสุขุมกันหน่อย ผู้เขียนมักจะถามพนักงานเสิร์ฟด้วยคำถามที่เจาะจงว่าเตรียมอาหา­­­รกันอย่างไร, ใช้ส่วนผสมอะไร และมีทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพให้เลือกบ้างหรือไม่ หากพวกเขายังงงกับคำถามนี้ และไม่คำนึงถึงเรื่องสุขภาพทั่วไป เขาก็อาจไปถามพ่อครัว หากรู้สึกไม่พอใจกับคำตอบก็อาจเลือกไปทานอาหารที่อื่น วิธีนี้จะช่วยให้ความรู้ได้เป็นอย่างดีหากทำอย่างฉลาดและอาจช่ว­­­ยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เราต้องคอยระวังเวลาเลือกที่จะรับประทานอาหารเมื่ออยู่ห่างไกลจ­­­ากบ้าน

          ในอเมริกามีการสำรวจใน 45 รัฐ และจากส่วนงานของรัฐบาลท้องถิ่นพบว่ามีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีการบังคับใช้กฎขององค์การอาหารและยาขอ­­­งสหรัฐฯ ในการใช้อุณหภูมิในการปรุงเนื้อหมู, ไข่, ปลา, และสัตว์ปีก และมีเพียง 64 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่บังคับให้ปรุงแฮมเบอร์เกอร์ที่อุณหภูมิ 155 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดในการทำลายแบคทีเรีย อี โคไล (E. coli)

          ในสถานการณ์ในชีวิต เรามักจะได้รับการเสนอทั้งทางเลือกที่ดีและไม่ดี ร้านอาหารก็ไม่มีข้อยกเว้น แน่นอนที่ร้านอาหารส่วนมาก มักจะเสนอรสชาติหลายอย่าง, ความหวาน, เค็ม, เผ็ด, เปรี้ยว และขม ที่เจาะจง อย่างไรก็ตาม เราส่วนมากมักจะเน้นไปที่แค่สองหรือสามจุด โดยเฉพาะหากอาหารมีรสหวานหรือเค็มเกินไป เพื่อให้ได้อาหารที่สมดุล ให้หาที่มีรสชาติหลากหลายปะปนกันไปให้มากเท่าที่จะเป็นได้ในอาห­­­ารที่รับประทานตลอดวัน



รับประทานอาหารบนเครื่องบิน

          เนื่องจากเราจะได้รับความเครียดมาก ระหว่างที่อยู่บนเครื่องบินที่อากาศคุณภาพไม่ดี, อากาศแห้ง, ได้รับเชื้อโรค, สารเคมีต่าง ๆ แล้วยังต้องนั่งเฉย ๆ เป็นเวลานาน เราต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เครียดเพิ่มมากขึ้นจากการรับประทานอาหา­­­รและดื่มเครื่องดื่มที่ผิด ๆ เราต้องเพิ่มการดูแลร่างกายให้มากขึ้นเมื่อเดินทาง พูดให้ชัดเจนขึ้นก็คือ เราควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็มและแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำและทำให้เกิดปัญหากับไซนัส, ท้องผูก, ขาบวม และพลังงานต่ำ

          ผู้เขียนมักจะสั่งอาหารมังสวิรัติเป็นพิเศษ เวลาขึ้นบิน วิธีนี้อย่างน้อยก็ทำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกระบวนการและโปร­­­ตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งทั้งคู่จะเพิ่มความเครียดให้กับร่างกาย อาหารพิเศษบนเครื่องบิน จะต้องทำการสั่งเอาไว้ล่วงหน้าก่อนการเดินทาง

          ผู้เขียนมักมีอาหารว่างเตรียมพร้อมในการเดินทางอย่างเช่นแซนด์ว­­­ิช หรือข้าวกับผัก และน้ำดื่มสะอาด ยิ่งถ้าเป็นการเดินทางเป็นเวลานาน ๆ ยิ่งสำคัญมาก อาหารว่างที่ดีสำหรับการเดินทางได้แก่ ผลไม้สด, ถั่วและเมล็ดพืช (อัลมอนด์, วอลนัท, เมล็ดดอกทานตะวัน และเมล็ดฟักทอง), ถั่วผสม (ถั่ว, เมล็ดพืชและลูกเกด), แท่งโปรตีน และอะไรก็ได้ที่คุณชอบและดีต่อสุขภาพและสามารถนำติดตัวเดินทางไ­­­ด้อย่างปลอดภัย (จำไว้ว่าการรับประทานอาหารสดที่บูดเสียได้ โดยเฉพาะหากเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนานเกินไป จะทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ) คุณอาจซื้ออาหารกล่อง หรืออาหารว่างดีต่อสุขภาพตามสนามบินก็ได้

เคล็ดลับดูแลสุขภาพขณะเดินทาง ไม่ต้องห่วงว่าจะป่วยจนหมดสนุก

เมื่อโดยสารเครื่องบินผู้เขียนยังแนะนำให้

          รับประทานวิตามินสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มเติม รวมทั้งวิตามิน ซี และอี, ซีลีเนียมและสังกะสี, รวมทั้งเพิ่มเกลือแร่ เพื่อป้องกันการป่วยจากความเครียดในการบินและการได้รับเชื้อโรค­­­

          ดื่มน้ำทั้งก่อน, ระหว่าง และหลังการบิน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำและท้องผูก

          รับประทานวิตามิน ซี และบี ชนิดผง (หรือวิตามิน บี ชนิดน้ำ), พร้อมกับเกลือแร่ชนิดน้ำเพื่อช่วยเพิ่มน้ำให้กับร่างกาย และป้องกันไม่ให้เซลล์และเนื้อเยื่อจากความเครียดและการได้รับร­­­ังสีขณะเดินทาง

          เมื่อเดินทางถึงจุดหมาย (หรือระหว่างการบินก็ได้) ให้รับประทานว่านหางจระเข้ชนิดแคปซูล หรือยาระบายอื่น ๆ, สมุนไพรช่วยชะล้างเพื่อให้ระบบย่อยอาหารมีการเคลื่อนไหวอยู่เสม­­­อ ๆ แล้วรับประทานสักหนึ่งหรือสองแคปซูลก่อนนอนก็ช่วยได้ดี

          หมายเหตุ : ให้ลองรับประทานสมุนไพรก่อนการเดินทาง คุณจะได้รู้ว่ามันออกฤทธิ์อย่างไร วิธีที่ดีที่สุดในการเช็กว่าร่างกายตอบสนองต่อสมุนไพรที่ช่วยระ­บาย และ/หรือ ยาระบาย คือลองในตอนสุดสัปดาห์ที่คุณอยู่บ้านตลอด จะได้ไม่มีปัญหาเวลาเดินทางจริง ๆ

          หลังเดินทาง ให้ดื่มน้ำมาก ๆ และนอนให้หลับ คุณสามารถรักษาสมดุลการนอนหลับได้โดยรับประทานเมลาโทนินมิลลิกร­­­ัม ตอนเช้านอนตามเวลาใหม่ของท้องถิ่นที่ไป วิธีหนึ่งที่ช่วยเตรียมตัวได้คือ รับประทานเมลาโทนินสักสองวันก่อนเดินทางโดยรับประทานตามเวลาเข้­­­านอนของท้องถิ่นที่จะไป ตัวอย่างเช่น หากคุณอยู่แคลิฟอร์เนียและจะเดินทางไปนิวยอร์ก ก่อนการเดินทางสองวันให้รับประทนเมลาโทนินเวลาสองทุ่มเพื่อเป็น­­­การรีเซตนาฬิกาในร่างกาย คุณอาจจะเข้านอนเร็วขึ้นหรือนอนยาวนานกว่าปกติในช่วงนั้น

          เตรียมตัวสำหรับความสนุกสนานกลางแจ้ง หากเดินเล่นในเมืองก็หารองเท้าที่สวมสบาย ลองขึ้นรถเมล์เที่ยวรอบเมือง แล้วสังเกตหาบริเวณที่น่าสนใจและปลอดภัย จากนั้นก็หาเวลามาเดินเล่น ถ้าหากคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ วางแผนในการเดินทางไกล, แคมป์ปิ้ง, เที่ยวตามแม่น้ำ, หรือใช้เวลาสักสองสามวันพักผ่อนตามชายทะเล การได้กลับมาสัมผัสกับโลกจะช่วยเติมเต็มให้กับชีวิต

          ขอให้เดินทางโดยปลอดภัยและสนุกสนาน !

เคล็ดลับดูแลสุขภาพขณะเดินทาง ไม่ต้องห่วงว่าจะป่วยจนหมดสนุก

เคล็ดลับที่จะช่วยให้สุขภาพดีระหว่างการเดินทาง

          ต้มน้ำหรือกรองน้ำดื่มโดยใช้ไส้กรองขนาด “1 ไมครอน” หรือเล็กกว่านั้นก่อนดื่ม

          ดื่มเฉพาะน้ำที่บรรจุขวด, กระป๋อง หรือน้ำอัดลม, เบียร์หรือไวน์ หรือเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำที่ต้มเดือด

          ให้แน่ใจว่าน้ำแข็งทำมาจากน้ำต้มเดือดเท่านั้น หรือหลีกเลี่ยงไปเลย

          รับประทานแต่อาหารที่สุกแล้วเท่านั้น และเสิร์ฟในขณะที่ยังร้อน หลีกเลี่ยงผักและสลัดที่ไม่ได้ทำให้สุก

          รับประทานแต่ผลไม้ที่สามารถปอกเปลือกออกได้

          หลีกเลี่ยงอาหารดิบ รวมไปถึงนมและชีสที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์, เนื้อสัตว์ที่ดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ , อาหารทะเลดิบ และหอยต่าง ๆ

          ใครว่าการดูแลสุขภาพในระหว่างการเดินทางจะเป็นเรื่องยาก เห็นไหมคะว่าหากแค่เราเตรียมพร้อม เราสามารถรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงเองได้ตลอดทั้งการเดินทาง­­­ได้แล้ว ต่อให้ขึ้นเหนือล่องใต้ก็ไม่ต้องกลัวป่วยกันละคราวนี้










เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เคล็ดลับดูแลสุขภาพขณะเดินทาง ไม่ต้องห่วงว่าจะป่วยจนหมดสนุก อัปเดตล่าสุด 29 เมษายน 2558 เวลา 16:58:09 2,098 อ่าน
TOP