x close

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ไข้หวัด2009


ไข้หวัดใหญ่ 2009




คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ในการดูแลรักษาอาการผู้ป่วย (สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)

1. หากมีอาการป่วยด้วยอาการไข้หวัด เช่น มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั้งในไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ ควรปฏิบัติตัวดังนี้


          1.1 หากอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ ผู้ป่วยสามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ 

          1.2 ผู้ป่วยที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่โรคจะรุนแรง 6 กลุ่ม ควรรีบพบแพทย์ทันทีที่เริ่มมีอาการป่วย ได้แก่

           ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด เป็นต้น
           ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวี ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
           หญิงตั้งครรภ์
           ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
           กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
           เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี

          1.3 หากมีไข้ ควรเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำสะอาดที่ไม่เย็น

          1.4 ผู้ป่วยควรเฝ้าระวังอาการป่วยของตัวเอง หากเริ่มมีอาการที่บ่งว่าโรคจะรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม หรืออาการป่วยไม่ดีขึ้นใน 3 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ 

          1.5 ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง หรือผู้ป่วยเพิ่งจะเริ่มป่วย 1-2 วัน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอ็ช1 เอ็น1 หรือไม่ เนื่องจากแนวทาง (วิธี) การดูแลรักษาผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน  

2 ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่อาจจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส  

          2.1 ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่โรคจะรุนแรง 6 กลุ่ม ได้แก่

           ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด เป็นต้น
           ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวี ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
           หญิงตั้งครรภ์
           ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
           กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
           เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี
           ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง (เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม) 
           ผู้ป่วยที่อาการไข้หรืออาการป่วยไม่ดีขึ้นใน 3 วัน 


3. ติดตามข่าวสารและคำแนะนำต่างๆ จากกระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะๆ 


คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ในการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

          การแพร่ระบาดของโรคจะเร็วหรือช้าเพียงใด ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ หากผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง จะมีจำนวนผู้สัมผัสเชื้อน้อยและจะมีผู้ป่วยไม่มากนัก แต่หากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ ผู้ป่วยจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลที่ผู้ป่วยใกล้ชิดและคลุกคลีด้วย นั่นคือ หากผู้ป่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ไม่ดี จะมีบุคคลอื่นในครอบครัวหรือบุคคลอื่นในที่ทำงานป่วยตามมาได้นั่นเอง

           ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หรือหยุดงาน และพักอยู่กับบ้านหรือหอพัก หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่นหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ และกลับเข้าเรียนหรือทำงานได้ เมื่อหายป่วยแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

           สวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น หรือใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม

           ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม


ขอขอบคุณข้อมูลจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ไข้หวัด2009 อัปเดตล่าสุด 7 กันยายน 2552 เวลา 13:18:35
TOP