x close

สารเร่งเนื้อแดง อันตรายใกล้ตัวที่ควรรู้ก่อนเผลอกิน

สารเร่งเนื้อแดง
   
           สารเร่งเนื้อแดง คืออะไร ข้อมูลผู้บริโภคสำคัญที่ควรศึกษาไว้ ก่อนเผลอกินสารเร่งเนื้อแดงจนเกิดอันตรายกับตัวเอง
 
          เราทุกคนล้วนเป็นผู้บริโภคที่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ด้วยปัจจัยบังคับเช่นนี้จึงอาจเป็นช่องโหว่ให้สารเคมีที่แฝงมากับอาหารและวัตถุดิบต่าง ๆ ผ่านเข้ามาสู่ร่างกายของเราได้ เช่น สารเร่งเนื้อแดงที่มักจะแฝงมากับเนื้อสัตว์ ซึ่งหากเลือกบริโภคไม่เป็น กินเข้าไปมาก ๆ จนเกิดภาวะสะสมก็อาจก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพได้อย่างนึกไม่ถึง ดังนั้นก่อนร่างกายจะได้รับความเสี่ยง เรามารู้จักสารเร่งเนื้อแดงกันค่ะว่า สารเร่งเนื้อแดงคืออะไร แล้วมีอันตรายขนาดไหนต่อสุขภาพของเรา

สารเร่งเนื้อแดง

สารเร่งเนื้อแดง คืออะไร ?

          สารเร่งเนื้อแดงที่พบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด เป็นสารเร่งเนื้อแดงที่มีชื่อทางเคมีว่า ซาลบูทามอล (Salbutamol) และเคลนบิวเทอรอล (Clenbuterol) โดยสารทั้ง 2 ชนิดนี้จัดเป็นสารเคมีในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (b-Agonist) ใช้มากในวงการผลิตยาบรรเทาโรคหอบ หืด มีจุดเด่นที่ช่วยขยายหลอดลม และช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัว ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จึงทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูและวัวนำสารเร่งเนื้อแดงไปผสมกับอาหารสัตว์ เพื่อให้เนื้อสัตว์มีปริมาณเนื้อแดงมากขึ้น แทนที่ชั้นไขมันซึ่งเนื้อพวกนี้จะขายไม่ได้ราคา


สารเร่งเนื้อแดงอันตรายแค่ไหน ?

          การใช้สารเร่งเนื้อแดงถือว่าเป็นการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ และหากพบว่าใช้สารเร่งเนื้อแดงกับเนื้อสัตว์ก็ถือว่าผิดกฎหมายตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 269 (พ.ศ. 2546) โดยนายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า หากได้รับสารเร่งเนื้อแดงในระยะยาว และมีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ในร่างกาย ผู้บริโภคอาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียน ซึ่งเป็นอันตรายมากกับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ และโรคลมชัก

สารเร่งเนื้อแดง

สารเร่งเนื้อแดง พบในอาหารแบบไหนบ้างนะ ?

          สารเร่งเนื้อแดงพบได้จากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ ซึ่งเป็นเนื้อสัตว์ที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานแบบเนื้อแดงมากกว่าเนื้อสีซีดหรือเนื้อติดมัน โดยแชมป์จากการสุ่มตรวจสารเร่งเนื้อแดงได้แก่ เนื้อหมู ซึ่งจากการสุ่มตัวอย่างเนื้อหมูในปี พ.ศ. 2553-2555 เป็นระยะเวลา 3 ปี พบว่ามีการใช้สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5, 19.2 และ 19.4 เป็นลำดับ ซึ่งถือเป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากังวล

สารเร่งเนื้อแดง
 
สารเร่งเนื้อแดง แตงโมมีไหม​ ?

          หลายคนอาจสงสัยว่า ผลไม้อย่างแตงโมซึ่งมีสีแดงจัดค่อนข้างชัดเจนนั้นเสี่ยงกับการมีสารเร่งเนื้อแดงอยู่ด้วยหรือไม่ ข้อสงสัยนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันได้ว่า หลังจากทำการตรวจวิเคราะห์สีสังเคราะห์ในแตงโม โดยสุ่มเก็บตัวอย่างแตงโมมาจากหลายจังหวัด ทั้งแตงโมสีแดง แตงโมสีเหลือง และแตงโมสีชมพู พบว่า แตงโมไทยไม่มีการใช้สีสังเคราะห์เพื่อให้สีสดสวย และไม่มีการใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มความหวานแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นซาลบูทามอล, เคลนบิวเทอรอล, ซัคคาริน, อะซีซัลเฟม เค, แอสปาแตม หรือไซคลาเมต ดังนั้นหายห่วงเรื่องสารเร่งเนื้อแดงในแตงโม รวมทั้งสารให้ความหวานในผลไม้ชนิดนี้ไปได้เลย

          ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์อธิบายเพิ่มเติมว่า ผลไม้อย่างแตงโมจะมีกลไกการปกป้องตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ และหากมีการฉีดสารสังเคราะห์ใด ๆ เข้าไปในเนื้อแตงโม แตงโมจะทำปฏิกิริยาต่อต้าน โดยเนื้อแตงโมจะเน่าเสีย ฉะนั้นเกษตรกรจึงไม่นิยมใช้สารเคมีหรือสารเร่งใด ๆ กับแตงโม

          ทว่านอกจากหาสารสังเคราะห์ในแตงโมแล้ว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังได้ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามผิวของแตงโมด้วย โดยพบว่า เปลือกแตงโมมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ แต่ยังพบในปริมาณต่ำ ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด

        อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคและแม่ค้าควรล้างเปลือกแตงโมให้สะอาดทุกครั้งก่อนหั่นหรือปอกแตงโมรับประทาน

สารเร่งเนื้อแดง
 
วิธีสังเกตว่าเนื้อสัตว์มีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนหรือไม่

          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 1. ในหมูที่ยังมีชีวิตอยู่ จะเห็นได้ชัดว่าหมูมีลักษณะคล้ายนักเพาะกาย มีมัดกล้ามนูนเด่นกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณสะโพก สันหลัง และหัวไหล่ ถ้าได้รับสารเนื้อแดงปริมาณมาก หมูอาจมีอาการสั่นตลอดเวลา

          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 2. เนื้อสัตว์จะมีสีแดงคล้ำกว่าปกติ

          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 3. เนื้อที่หั่นทิ้งไว้จะมีลักษณะแห้ง ไม่เหมือนเนื้อที่ไร้สารเร่งเนื้อแดงที่หั่นทิ้งไว้ก็ยังมีน้ำซึมออกมาที่บริเวณผิว

          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 4. หมูที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อสูงถึง 3 ส่วนต่อมัน 1 ส่วน หรือสังเกตง่าย ๆ คือมีเนื้อแดงมากกว่ามันนั่นเอง

          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 5. เมื่อกดเนื้อจะรู้สึกถึงความนุ่ม ไม่กระด้าง

          //img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif 6. เนื้อหมูที่ปลอดสารเร่งเนื้อแดงต้องมีมันแทรกระหว่างกล้ามเนื้ออย่างเห็นได้ชัด
        
          ก่อนเลือกซื้อเนื้อหมูและเนื้อวัวมาบริโภค ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ หรือซื้อจากร้านค้าที่มีป้ายรับรองจากหน่วยงานราชการ เช่น ป้ายทอง Food Safety หรือตรารับรองของกรมปศุสัตว์ รวมทั้งอย่าลืมสังเกตเนื้อสัตว์ตามที่แนะนำไปข้างต้นด้วยนะคะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก






เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สารเร่งเนื้อแดง อันตรายใกล้ตัวที่ควรรู้ก่อนเผลอกิน อัปเดตล่าสุด 21 ตุลาคม 2560 เวลา 09:54:09 60,255 อ่าน
TOP