x close

โรคข้อเสื่อมเป็นแล้วทรมานกาย แต่บรรเทาได้ถ้ารักษาตรงจุด





          โรคข้อเสื่อมมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ แต่ก็ใช่ว่าคนที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์วัยเกษียณจะเป็นโรคนี้ไม่ได้นะคะ เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ซึ่งก็หมายความว่าโรคข้อเสื่อมอยู่ใกล้ตัวเราเกินคาด และหากในตอนนี้ใครรู้สึกปวดเข่า เจ็บข้อบ่อย ๆ จนเริ่มสงสัยว่าโรคข้อเสื่อมมาเยือนเข้าให้แล้วรีบมาเช็กเลยค่ะว่าอาการของโรคนี้เกิดจากอะไร เป็นอย่างไร แล้วรักษาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

โรคข้อเสื่อมเกิดจากอะไร

          โรคข้อเสื่อมเกิดจากการสลายและสึกหรอของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ ทำให้กระดูกอ่อนมีปริมาณลดลงจนเกิดการเสียดสีของกระดูกแข็ง ส่งผลให้เกิดอาการปวดบวมอักเสบและไม่สามารถใช้งานข้อได้ในที่สุด

          โดยปัจจุบันผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมมีจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ ซึ่งก่อให้เกิดความทรมานและส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

ใครกันนะที่มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อม

          1. คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

          2. คนที่มีน้ำหนักตัวมากโดยมีค่า BMI เกิน 25 (ค่า BMI สามารถคำนวณได้โดยนำน้ำหนักตัวหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง)



          3. คนที่มีกิจวัตรประจำวันที่ต้องเดินตลอดเวลา

          4. คนที่รู้สึกว่าเข่าตัวเองยึด ฝืด หรืองอลำบาก

ทำไม…เมื่ออายุมากขึ้นจึงเป็นโรคข้อเสื่อม ?

          โดยปกติแล้วกระบวนการสร้างและกระบวนการสลายของกระดูกอ่อนบริเวณข้อจะเกิดขึ้นอย่างสมดุล แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีการใช้งานข้อต่าง ๆ มากขึ้น กระบวนการสลายกระดูกอ่อนจะเกิดมากกว่ากระบวนการสร้าง บวกกับความเสื่อมถอยของสุขภาพตามอายุที่พรากส่วนประกอบต่าง ๆ ในข้อไปด้วยแล้ว จึงยิ่งส่งผลให้กระดูกอ่อนบริเวณข้อมีปริมาณลดลง ในขณะที่กล้ามเนื้อบริเวณข้อไม่แข็งแรงและการเสียดสีของกระดูกมีอัตราเพิ่มมากขึ้น จนก่อให้เกิดอาการอักเสบของข้อและเป็นโรคข้อเสื่อมในเวลาต่อมา

          อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อมไม่ได้อยู่ที่อายุมากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยที่ทำให้คนอายุยังน้อยมีเอี่ยวกับโรคนี้ได้ด้วย โดยปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงโรคข้อเสื่อมก็ได้แก่

         - เพศหญิงจะมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อมได้มากกว่าเพศชายถึง 2-3 เท่า เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) น้อยลงหรือไม่ผลิตอีกเลย ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่มีตัวจับกับฮอร์โมนเพศหญิงชนิดนี้ทำงานน้อยลง ทำให้การสร้างโปรติโอไกลแคน (Proteoglycan) ที่ใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนลดลงไปด้วย

          - น้ำหนักตัวมาก ทำให้ข้อต้องรับน้ำหนักมาก ความแข็งแรงของข้อจึงเสื่อมลงได้ง่าย

          - ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ซึ่งมาจากการเกิดอุบัติเหตุหรือการออกกำลังกายมากกว่าปกติ เช่น ข้อเข่าแตกหรือเอ็นข้อเข่าฉีก ซึ่งจะมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมได้ง่ายกว่าปกติ

          - กระดูกอ่อน Cartilage เสียหายหรือเสื่อม จึงเกิดอาการเจ็บปวด

          - การใช้งานข้อผิด หนักเกินไป เสียดสีมากเกินไป เช่น นั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ บ่อย ๆ หรือเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการใส่รองเท้าส้นสูง

          - พันธุกรรม

อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อม

          1. เข่ามีเสียงดังกร๊อบแกร๊บขณะเคลื่อนไหว

          2. ปวดเข่าหรือขาเวลาเดิน หรือต้องเคลื่อนไหว

          3. รู้สึกปวดบริเวณข้อ โดยจะปวดบริเวณรอบ ๆ ข้อ แบบที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ชัดเจนได้และมักจะปวดเรื้อรัง จุดสังเกตสำคัญอีกอย่างคืออาการปวดข้อจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานหรือลงน้ำหนักบนข้อมาก ๆ 
          
          4. ปวดเข่าเวลานอน 

          5. ปวดข้อเข่าเวลาใส่ถุงเท้า รองเท้า หรือเวลาลุกนั่ง
          
          6. ปวด บวม อักเสบ บริเวณข้อเข่า

          7. ปวดข้อจนไม่สามารถเดินได้อย่างปกติ ต้องเดินโยกตัว

          8. ข้อบวมและผิดรูป จากกระดูกที่งอก

          9. สูญเสียการเคลื่อนไหว เริ่มเดินเหินไม่ค่อยสะดวก นั่งก็ลำบาก เดินก็ไม่ค่อยจะไหวโดยเฉพาะหากต้องอยู่ในลักษณะเดิมนาน ๆ อาการปวดอาจทวีคูณจนลุกไม่ขึ้น หรือแค่ขยับก็เจ็บมากเลยทีเดียว

          หากคุณมีอาการตรงกับข้อเหล่านี้อย่างน้อย 3 ข้อ ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจเข้าข่ายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว และควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป

โรคข้อเสื่อมรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง

          จากสาเหตุของโรคข้อเสื่อมที่เกิดจากกระบวนการสลายกระดูกอ่อนเป็นหลัก ดังนั้นวิธีการป้องกันและบรรเทาความเสี่ยงโรคข้อเสื่อมที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็คือ การเพิ่มกระบวนการสร้างกระดูกอ่อนควบคู่ไปกับการสร้างมวลกระดูกอ่อนนั่นเอง แต่การรักษาและบรรเทาโรคข้อเสื่อมก็ยังสามารถทำได้ตามนี้ด้วย

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

          หากรู้ตัวว่ามีน้ำหนักเกิน ควรรีบลดน้ำหนักโดยด่วน และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าหนัก ๆ เช่น ไม่ควรวิ่งหรือกระโดด แต่ควรเลือกวิธีการออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ หรือการปั่นจักรยานที่จะช่วยถนอมข้อเข่าได้มากกว่า รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเดินขึ้น-ลงบันได 

2. ใช้ยาบรรเทาอาการปวดและการอักเสบของข้อ

          ในกรณีที่อาการปวดและการอักเสบของข้อไม่รุนแรง อาจบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้โดยการใช้ยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล และยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่
สเตียรอยด์ (NSAIDs)

3. ฉีดน้ำไขข้อ

          การฉีดน้ำไขข้อเทียมหรือยาไฮยาลูโรนิก จะมีฤทธิ์ระงับปวดได้ 3 เดือนถึงหนึ่งปี ทว่าวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ยังเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ยังไม่มีการสนับสนุนหรือคัดค้านจากทางการแพทย์อย่างชัดเจน (ค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 - 25,000 บาท)

4. ประคบร้อน หรือประคบเย็น ณ บริเวณที่รู้สึกปวด

          โดยความเย็นจะช่วยลดอาการเกร็งและการอักเสบของกล้ามเนื้อ ส่วนความร้อนจะช่วยลดการติดขัดในข้อ ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ในระดับหนึ่ง

5. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ

          นวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนข้อก็เป็นตัวเลือกหนึ่งในการรักษาและบรรเทาความเจ็บปวด ทว่าวิธีนี้มีข้อจำกัดและความเสี่ยงพอสมควร ที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดก็สูง (ค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000-200,000 บาท) แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรงค่ะ

6. ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อน

          ขั้นตอนการรักษา ขั้นแรก ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดส่องกล้อง เก็บชิ้นเนื้อกระดูกอ่อนที่ไม่ได้ใช้งานส่งเข้าห้องปฏิบัติการแยกเซลล์กระดูกอ่อนและเพาะเลี้ยงจนเพียงพอต่อการปลูกถ่าย ใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ ก่อนนำเซลล์กระดูกอ่อนมาเพาะเลี้ยงในโครงสร้างสามมิติที่มีความหนาเท่ากระดูกอ่อนปกติ เป็นการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนนอกร่างกายมนุษย์ โดยใช้วิศวกรรมเนื้อเยื่อสำหรับปลูกถ่ายทดแทนกระดูกอ่อนที่ได้รับบาดเจ็บ

          ขั้นตอนที่ 2 คือ ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูกอ่อนที่สร้างขึ้นจากเซลล์กระดูกอ่อนของตนเองเพื่อซ่อมกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า 

7. เติมสารอาหารที่ช่วยดูแลสุขภาพข้อ

          ในเมื่อร่างกายเราไม่สามารถสร้างมวลกระดูกอ่อนได้มากเท่าที่ต้องการ เราจึงต้องช่วยเสริมสร้างกระดูกอ่อนของข้อด้วยสารอาหารที่จะช่วยดูแลสุขภาพกระดูกและข้อ เช่น กลูโคซามีน-ซัลเฟต คอนดรอยติน-ซัลเฟต หรือนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดการสลายตัวของกระดูกอ่อนผิวข้อ อย่างคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) เป็นต้น

          จะว่าไปโรคข้อเข่าเสื่อมก็มีแนวทางการรักษาอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่น่าเสียดายตรงที่การรักษาในหลายวิธีเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และบางวิธีก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงพอตัวเลยทีเดียวค่ะ

          อย่างไรก็ตาม นอกจากแนวทางการรักษาในเบื้องต้นแล้ว เรายังสามารถรักษาโรคข้อเข่าจากต้นเหตุได้ด้วยการเติมส่วนประกอบของกระดูกอ่อนเข้าไป ซึ่งโดยปกติแล้วส่วนประกอบของกระดูกอ่อนจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่ 1-2% เป็นเซลล์กระดูกอ่อน Cellular (Chondrocytes), ส่วนที่เป็นของแข็ง 30% คือ คอลลาเจน ชนิดที่ 2 และชนิดอื่น ๆ (Collagen) และ โปรตีโอไกลแคน (Proteoglycans) รวมทั้งมีส่วนที่เป็นของเหลวอีกถึง 70-80% ดังภาพ


 
          โดยสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของโรคข้อเสื่อมก็มักจะเกิดจากส่วนประกอบสำคัญของกระดูกอ่อนอย่างคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) เมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะเสื่อมอัตราการซ่อมสร้างคอลลาเจนชนิดที่ 2 จะทำได้น้อยและช้าลง ในขณะที่อัตราการทำลายหรือเสื่อมสลายมีมากและเร็วขึ้น

          ดังนั้นอีกแนวทางการชะลอความเสื่อมของข้อ ก็สามารถทำได้โดยเสริมคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) เข้าไป เพื่อให้คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งยับยั้งการทำงานของภูมิต้านทานร่างกายที่จะทำลายคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) ไปพร้อมกัน เอาล่ะ ! เรามาดูกันค่ะว่า เจ้าคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) ที่พูดถึงบ่อยเหลือเกินนี่คืออะไรกันแน่ 

          โดยคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) เป็นคอลลาเจนที่พบได้ในกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูกสันหลัง คอยทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและให้ความแข็งแรงแก่ข้อต่อในขณะที่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งโดยปกติแล้วในกระดูกอ่อนจะประกอบด้วยโครงข่ายของเส้นใยคอลลาเจนชนิดที่ 2 รวมตัวกับกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) และโปรตีโอไกลแคน (Proteoglycan) อันได้แก่ แอกกริแคน (Aggrecan) ซึ่งมีไกลโคอะมิโนไกลแคน (Glycoaminoglycans) คือ คอนดรอยอิติน-ซัลเฟต(Chondroitin-Sulfate) และเคอราแทน ซัลเฟต (Keratan Sulfate) เป็นส่วนประกอบ

          การศึกษาพบว่า ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากและผู้สูงอายุ กระดูกอ่อนชนิด Articular Cartilages ซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทกจะเริ่มเสื่อมลง โดยเฉพาะที่ข้อต่อที่รับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่าและสะโพก จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะการเกิดข้อเสื่อม ข้ออักเสบ (Osteoarthritis) และคอลลาเจนชนิดที่ 2 เป็นคอลลาเจนชนิดเดียวกับที่พบในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ แตกต่างจากคอลลาเจนที่พบในเซลล์ผิวหนัง ซึ่งจะเป็นคอลลาเจนชนิดที่ 1, 3 และ 4 (Collagen Type 1, 3 และ 4)

          คอลลาเจนชนิดที่ 2 จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของส่วนประกอบที่อยู่ในข้อ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการสร้างมากเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มระดับของกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อ และยังยับยั้งการหลั่งเอนไซม์ที่ย่อยทำลายกระดูกอ่อนบริเวณข้อ  จึงช่วยลดอาการปวดข้อและข้อยึดได้ ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น


ภาพลักษณะโครงสร้างคอลลาเจนชนิดที่ 2 ที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติของกระดูกอ่อนบริเวณข้อในร่างกาย จะเป็นแบบ Triple Helix Structure

          มาถึงตรงนี้หลายคนเริ่มมีคำถามแล้วว่า เราจะไปหาคอลลาเจนชนิดนี้มาเสริมความแข็งแรงของข้อได้จากไหน ถ้าอย่างนั้นเอาเป็นว่ามาทำความรู้จักคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) ที่มีจำหน่ายในขณะนี้กันก่อน ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภทได้แก่

1. Undenatured Collagen Type II (UC-II) 

          เรียกสั้นๆ ว่า “ยูซีทู” คือคอลลาเจนชนิดที่ 2 ที่ผลิตด้วยอุณหภูมิต่ำและไม่ใช้เอนไซม์ในการผลิต จึงทำให้ได้โครงสร้างแบบ Undenatured ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ใกล้เคียงกับ Collagen Type II ที่ร่างกายสร้างขึ้น (เป็นแบบ Triple Helix Structure)  มีความจำเพาะที่สามารถออกฤทธิ์ได้บริเวณข้อ หรือกระดูกอ่อนที่ข้อ โดยลดอัตราการทำลายหรือเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ ส่งผลให้ร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุลของการซ่อมสร้างตามธรรมชาติ

2. Denatured Collagen Type II

          คือคอลลาเจนชนิดที่ 2 ที่ผลิตด้วยอุณหภูมิสูง และใช้เอนไซม์ในการผลิต จึงทำให้ได้โครงสร้างแบบ Denature ตัวอย่างเช่น ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนไทพ์ทู (Hydrolyzed Collagen Type II)  ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ถูกเปลี่ยนแปลงไม่ใกล้เคียงกับ Collagen Type II ที่ร่างกายสร้างขึ้น (ไม่เป็น Triple Helix Structure) ซึ่งอาจทำให้ถูกย่อยและดูดซึมไปเสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ในร่างกายแทน

          ซึ่งพบว่ามีข้อแตกต่างหลายอย่างระหว่าง Undenatured กับ Denatured Collagen Type II  ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิต โครงสร้าง กลไกการทำงาน และปริมาณในการรับประทาน


      Undenatured Collagen Type II (UC-II)                Denatured Collagen Type II




          ภาพกราฟการทดลอง 90 วัน เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง กราฟสีเขียวคือ UC-II กับกราฟสีเทาคือกลูโคซามีนและคอนดรอยติน (G+C, Glucosamine + Chondroitin)

          จากกราฟจะเห็นว่า ประสิทธิภาพของ UC-II สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดีกว่าการใช้กลูโคซามีนและคอนดรอยติน ซึ่งภายหลัง 60 วันกราฟของ G+C จะมีแนวโน้มลดต่ำลง ในขณะที่ UC-II มีแนวโม้มสูงขึ้น และจากผลการทดลองของผู้ป่วยที่บรรเทาอาการข้ออักเสบด้วย UC-II เพียงวันละ 40 มิลลิกรัมอย่างสม่ำเสมอ 
จะพบว่าผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมมีแนวโน้มใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น เนื่องจาก UC-II จะเข้าไปเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อต่อและกระดูก ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นและช่วยให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหากใครมีข้อสงสัยสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Interhealth เลยค่ะ

สรุป คุณสมบัติเด่น7ประการของUC-II®


ลิขสิทธิ์เฉพาะของ Inter Health, USA



สารอาหารเป็นวัตถุดิบธรรมชาติปลอดภัย 



 
เป็นสารอาหารที่เหมาะกับทั้งชายและหญิง
ที่บาดเจ็บบริเวณกระดูกอ่อน



เป็นสารอาหารสำหรับการดูแลสุขภาพข้อต่อ 
รับประทานวันละ 40 มิลลิกรัม/วัน 

      มีกลไกการทำงานที่จำเพาะ     



มีผลงานวิจัยรับรองตั้งแต่ปี 2009 และล่าสุด
ปี 2013 



UCII®  มีประสิทธิภาพกว่า
การทานกลูโคซามีน และคอนดรอยติน ถึง 2 เท่า 

 

          สำหรับโรคข้อเสื่อมใครไม่เจอกับตัวเองก็คงไม่รู้ซึ้งถึงความทรมานในการใช้ชีวิตประจำวันจริง ๆ นะคะ ดังนั้นหากมีแนวทางในการป้องกันและบรรเทาโรคข้อเสื่อมเพิ่มมาอีกหนึ่งช่องทางก็น่าสนใจไม่เบา ลองหาอาหารเสริมที่มีคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II)  มารับประทานดูนะคะ จะได้ใช้ชีวิตแบบไม่มีข้อจำกัด 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก บริษัท หาญไทยฟาร์มา(2508) จำกัด
Call Center: 0888-515-666
Line ID: @harnthai













เอกสารอ้างอิง 
 
          1. Crowley D.C., et al. Safety and efficacy of undenatured type II collagen in the treatment of osteoarthritis of the knee: a clinical trial. Int J Med Sci. 2009; 6: 312-321.
 
          2. Schauss A.G., et al. Effect of the Novel Low Molecular Weight Hydrolyzed Chicken Sternal Cartilage Extract, BioCell Collagen, on Improving Osteoarthritis-Related Symptoms: A Randomized, Double-Blind,Placebo-Controlled Trial. J. Agric. Food Chem. 2012, 60, 4096-4101.
 
          3. James P Lugo, et al. Undenatured type II collagen (UC-II®) for joint support: a randomized, double-blind,placebo-controlled study in healthy volunteers. Journal of the International Society of Sports Nutrition.2013, 10; 48:1-12.
 
          4. Matthew D. Shoulders and Ronald T. Raines. Collagen structure and stability. Annu Rev Biochem. 2009; 78: 929–958.
 
          5. Ronca F, et al. Anti-inflammatory activity of chondroitin sulfate. Osteoarthritis Cartilage suppl.1998. 6(A): 14-2.
 
          6. Sheldon, E. A Randomized double blind clinical pilot trial evaluating the safety and efficacy of hydrolyzed collagen type II (Biocell Collagen) in adults with osteoarthritis. Maiami Research Associates. April 25, 2003.
 
          7. Bagchi D,et al. Effects of orally administered undenatured type II collagen against arthritic inflammatory diseases: a mechanistic exploration. Int J Clin Pharmacol Res. 2002; 22(3-4):101-10.
 



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
โรคข้อเสื่อมเป็นแล้วทรมานกาย แต่บรรเทาได้ถ้ารักษาตรงจุด อัปเดตล่าสุด 1 กันยายน 2558 เวลา 15:19:42 37,455 อ่าน
TOP