x close

หมูป่วยระบาด! หนองคายตายแล้ว 50 ตัว

หมู

 



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

             ปศุสัตว์หนองคายประกาศให้ 3 อำเภอ เป็นเขตโรคระบาดหมูป่วย หลังพบหมูตายแล้ว 50 ตัว

             เกิดโรคระบาดหมูป่วยที่ อ.โพธิ์ตาก อ.ท่าบ่อ และ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ล่าสุดมีหมูป่วยจำนวนมากถึง 700 ตัว และตายไปแล้วประมาณ 50 ตัว

             อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายศักดิ์สิทธิ์ ทิพยธร ปศุสัตว์ อ.ศรีเชียงใหม่ กล่าวว่า จากผลการตรวจพบว่า  หมูติดเชื้อ Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome หรือ PRRS เป็นโรคที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์ และทางเดินหายใจ สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสหมูที่ป่วย และติดต่อกันได้ทางการ หายใจในระยะใกล้ หรือน้ำเชื้อที่ใช้ผสมเทียม ซึ่งหมูที่ติดเชื้อนี้จะเซื่องซึม ตัวแดง มีไข้ เบื่ออาหาร ปัสสาวะเป็นเลือดและถ่ายเหลวจนล้มตายในที่สุด

             ทั้งนี้ทางปศุสัตว์ได้มีการประกาศให้พื้นที่ อ.โพธิ์ตาก, อ.ท่าบ่อ และ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เป็นเขตโรคระบาดชั่วคราวแล้ว พร้อมลงพื้นที่ฉีดยาให้กับหมูที่ป่วย และแนะนำเกษตรกรหมั่นทำความ สะอาดคอกสัตว์ ล้างน้ำสะอาด ยาฆ่าเชื้อโรค หากจะสัมผัสหมูควรใส่ถุงมือ สวมรองเท้าบูท ล้างมือทุกครั้ง

       ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรค PRRS (โรค พี อาร์ อาร์ เอส)

             (อ้างอิงข้อมูลจาก สัตวแพทย์หญิง ดร.สุดารัตน์ ดำรงค์วัฒนโภคิน กลุ่มไวรัสวิทยา ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง)

       ความเป็นมาเกี่ยวกับ โรค PRRS

             โรค Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome : PRRS (โรค พี อาร์ อาร์ เอส) เป็นโรคที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์ และทางเดินหายใจ โดยมีรายงานการระบาดเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐ อเมริกา ในปี พ.ศ.2530 ประเทศเยอรมนีในปี พ.ศ.2533 แล้วแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วทวีป ยุโรป ในขณะที่มีการแพร่กระจายของโรค ความรุนแรงและสูญเสียในกลุ่มสุกรพันธุ์ ค่อย ๆ ลดลง แต่ไปมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจในกลุ่มสุกรอนุบาล และสุกรขุนมากขึ้น

             ในระยะแรกยังไม่ทราบสาเหตุของโรค จึงมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น Mystery Swine Disease, Swine Infertility and Respiratory Syndrome (SIRS), New Pig Disease, Blue Ear, Porcine Epidemic Abortion and Respiratory Syndrome (PEARS) ต่อมาในปี พ.ศ.2534 นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์สามารถแยกเชื้อซึ่งทำให้สุกรทดลองแสดง อาการเช่น เดียวกับสุกรป่วยได้เป็นผลสำเร็จจึงตั้งชื่อเชื้อไวรัสนี้ว่า "Lelystad virus" ขณะเดียวกันทางอเมริกาก็แยกเชื้อได้เช่นกันโดยตั้ง ชื่อว่า "VR-2332" 

             หลังจากนั้นจึงมีการศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัสนี้อย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาการตรวจโรคทั้งด้านซีรั่มวิทยา และวิธีการแยกเชื้อให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จากการศึกษาด้านซีรั่มวิทยาควบคู่ไปกับการแยกและพิสูจน์เชื้อบ่ง ชี้ว่า โรค PRRS มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตที่มีการเลี้ยงสุกรอย่างหนาแน่น ประเทศเดียวที่ยังปลอดจากโรคนี้คือ ออสเตรเลีย

       สาเหตุการเกิด โรค PRRS

             โรค PRRS เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Arteriviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัส ชนิดสายเดี่ยว ขนาดเล็ก (45-65 nm) มีเปลือกหุ้ม เชื้อถูกทำลายได้ง่ายในสภาพอากาศร้อน (37oC ภาย ใน 48 ชั่วโมง) และมีความคงทนต่ำในสภาพกรด ด่าง (คงทนที่ pH 5.5-6.5) มีเซลล์เพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถใช้เพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสนี้ได้ เซลล์ที่ใช้ได้ดีที่สุดคือเซลล์แม็คโครฟาจที่เตรียมจากปอดลูกสุกร อายุ 4-8 สัปดาห์ เชื้อไวรัสนี้สามารถคงอยู่ในกระแสโลหิตได้เป็นเวลานาน แม้แต่ในระยะเดียวกับที่ตรวจพบแอนติบอดีก็ยังสามารถตรวจะพบเชื้อได้

             นอกจากนั้นเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ยังมีความหลากหลายทางด้านแอนติเจน เชื้อที่แยกได้จากอเมริกาเป็นคนละชนิดกันกับทางยุโรป โดยมีคุณสมบัติของแอนติเจนบางส่วนร่วมกันบ้าง แต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด และเชื้อที่แยกได้จากทางอเมริกาเอง จะมีความหลากหลายมากกว่าเชื้อที่แยกได้จากทางยุโรป

       การแพร่กระจายของเชื้อ โรค PRRS

              โดยการนำสุกรป่วย หรือสุกรที่เป็นตัวอมโรคเข้าสู่ฝูง

              โดยการแพร่กระจายของเชื้อทางอากาศภายในรัศมี 3 กิโลเมตร (โดยทั่วไปประมาณ 2 กิโลเมตร)

              โดยการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วย เชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส จำนวนมากจะถูกขับออกมาทางลมหายใจและอุจจาระเชื้อจึงแพร่จากสุกร ป่วยไปยัง สุกรอื่น ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะจากการดมและเลียกัน

       อาการโรค PRRS

             อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของ เชื้อ การจัดการฟาร์ม การสุขาภิบาล ระบบการหมุนเวียนอากาศ และสถานภาพสุขภาพของสุกรในฝูง

              สุกรพันธุ์ พบว่ามีการคลอดก่อนกำหนด แท้งในระยะท้ายของการตั้งท้อง (มากกว่า 100 วัน)  ลูกที่คลอดอ่อนแอ อัตราการเกิดมัมมี่และลูกตายแรกคลอดสูง

              สุกรดูดนม สุกรอนุบาล สุกรขุน มักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แคระแกร็น โตช้า และมักพบโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วยความรุนแรงของโรคจะลดลงเมื่อสุกรอายุมากขึ้น สุกรที่อายุมากกว่า 1 เดือน จะแสดงอาการไม่เด่นชัดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน

             หลักจากมีการระบาดของโรคนี้ไประยะหนึ่ง ความรุนแรงของโรคจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งอาจเนื่องมาจากมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น ทำให้สุกรป่วยแสดงอาการไม่รุนแรง หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัส ทำให้ความรุนแรงลดลง เพื่อให้เชื้อสามารถคงอยู่ในฝูงได้เป็นเวลานานในระยะหลัง ๆ มีรายงานการตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส PRRS แต่มักไม่พบว่ามี ความสูญเสียเกิดขึ้นอย่างเด่นชัด

       แนวทางในการป้องกันและควบคุม โรค PRRS

              ในกรณีที่ฝูงสุกรยังไม่มีการติดเชื้อ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจเช็คสุกรสาวทดแทนและสุกรพ่อ พันธุ์ที่เข้า ใหม่ทุกตัวว่าปลอดจากโรค

              ในกรณีที่ฝูงมีการสัมผัสเชื้อมาแล้ว ให้ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมโรคแบคทีเรียแทรกซ้อน และการใช้วัคซีนเพื่อควบคุมโรคไวรัสระบบทางเดินหายใจ

             ทั้งนี้ เชื้อไวรัส PRRS ถูกทำลายได้ง่ายในสภาพอากาศ ร้อน และมีความคงทนต่ำต่อสภาพกรดด่าง 




  เคล็ด ลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
หมูป่วยระบาด! หนองคายตายแล้ว 50 ตัว อัปเดตล่าสุด 1 กรกฎาคม 2553 เวลา 17:26:15 8,211 อ่าน
TOP