x close

ยังไม่ชัด ไวรัสโคโรนา มาจากค้างคาว หมอแนะ คนเสี่ยงป่วย ควรสวมมาสก์ไม่ให้แพร่เชื้อ


          หมอเผย ไวรัสโคโรนา ความรุนแรงมีโอกาสตาย น้อยกว่าโรคซาร์ส และเมอร์ส หรือเพียงร้อยละ 2-3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ย้ำคนป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อลดการแพร่เชื้อ

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

          เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 รายการทุบโต๊ะข่าว รายงานบทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก เปิดเผยเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา หรือ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ว่า หากเปรียบเทียบไวรัสโคโรนา กับโรคซาร์ส หรือโรคเมอร์ส พบว่าไวรัสโคโรนา มีโอกาสที่จะทำให้เสียชีวิตน้อยที่สุด เพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ โรคเมอร์ส จะมีความรุนแรงที่สุด มีโอกาสทำให้เสียชีวิต 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนโรคซาร์ส มีโอกาสทำให้เสียชีวิต 10 เปอร์เซ็นต์ และทั้งซาร์สและเมอร์ส มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนที่มีอายุมากขึ้น

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

          สำหรับ ไวรัสโคโรนา เมื่อเปรียบเทียบพันธุกรรม จะมีความใกล้เคียงกับค้างคาว แต่ยังไม่มีการยืนยันชัดเจนว่าเชื้อโรคมาจากค้างคาว ส่วนเมอร์ส เชื้อไวรัสมาจากอูฐ และซาร์ส เชื้อไวรัสมาจากสัตว์ในกลุ่มชะมด หรืออีเห็น

          ทั้งนี้ ไวรัสโคโรนา มีความรุนแรงน้อย แต่การแพร่กระจายมาก เพราะผู้ป่วยบางคนแทบจะไม่มีอาการ เป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างได้ง่าย แต่แค่เดินสวนกันไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งจะติดต่อกันได้ก็ต่อเมื่อมีการสัมผัสละอองไอของผู้ป่วย หรือบริเวณที่มีเยื่อบุ หรือจับวัตถุเปื้อนน้ำลาย

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
          ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง เผยต่อว่า บุคคลธรรมดา การสวมหน้ากากอนามัยจะช่วยป้องกันได้ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถ้าจะให้ดีที่สุด ผู้ป่วยเองควรเป็นคนสวมหน้ากากอนามัย เพราะจะสามารถป้องกัน หรือลดการแพร่เชื้อได้สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งวิธีป้องกันเชื้อโรค ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพราะไวรัสจะตายเมื่อโดนความร้อน



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


 



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ยังไม่ชัด ไวรัสโคโรนา มาจากค้างคาว หมอแนะ คนเสี่ยงป่วย ควรสวมมาสก์ไม่ให้แพร่เชื้อ อัปเดตล่าสุด 28 มกราคม 2563 เวลา 10:43:28 65,833 อ่าน
TOP