x close

นักวิทย์สิงคโปร์พัฒนาชิพตรวจเชื้อไวรัส-แบคทีเรียกว่า 7 หมื่นสายพันธุ์




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก obornews.com

          เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2556 เว็บไซต์อินเทอร์เนชันแนล บิซิเนส ไทม์ส รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์สามารถพัฒนาซูเปอร์ชิพ ที่ใช้ในการตรวจจับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้สำเร็จ โดยสามารถตรวจหาเชื้อได้ถึง 70,000 สายพันธุ์ ในการทดสอบเพียงครั้งเดียว

          โดย ดร.คริสโตเฟอร์ หว่อง นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันจีโนมแห่งสิงคโปร์ ระบุว่า สำหรับซูเปอร์ชิพดังกล่าว เรียกว่า "PathChip" หรือมาจากคำว่า Pathogen Chip ซึ่งได้แนวคิดการพัฒนาชิพมาจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ โรคซาร์ส เมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งในช่วงนั้นยังไม่มีวิธีการที่แพทย์จะตรวจสอบหาเชื้อไวรัสได้ทีละหลายสายพันธุ์ในครั้งเดียว

          ความสำเร็จในครั้งนี้ ทำให้การตรวจสอบเชื้อไวรัสในร่างกายเป็นเรื่องง่ายขึ้นมากกว่าเดิม ยกตัวอย่างการตรวจหาเชื้อไวรัสในร่างกายในปัจจุบัน หากจะตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ซึ่งต้องตรวจหลายครั้ง แต่ชิพดังกล่าว ตรวจสอบเพียงครั้งเดียวก็จะทราบผลได้ทันทีว่าติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดบ้าง และที่สำคัญชิพนี้ยังตรวจจับเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ได้อีกด้วย


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
นักวิทย์สิงคโปร์พัฒนาชิพตรวจเชื้อไวรัส-แบคทีเรียกว่า 7 หมื่นสายพันธุ์ โพสต์เมื่อ 19 เมษายน 2556 เวลา 11:56:40 1,067 อ่าน
TOP