x close

ล้างพิษตับ ถึงจะเป็นเทรนด์ฮิต แต่ก็มีลิมิตข้อห้ามเหมือนกัน !


ล้างพิษตับ


9 ข้อห้ามสำคัญของการล้างพิษตับ (Mix Magazine)
โดย Dr.Kanin Tripipitsiriwat
 
          หนึ่งในวิธีที่ฮอตฮิตอย่างมาก ๆ ก็คือ การล้างพิษตับครับ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถล้างพิษตับได้ ดังนั้น ใครคิดจะล้างพิษตับต้องมารับรู้ข้อห้ามของการล้างพิษตับกันเสียก่อน เพื่อที่ว่าใครที่ได้อ่านบทความนี้ จะไม่ใจเร็วด่วนได้นำไปปฏิบัติ เพราะได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน

          โดยแม้วิธีการล้างพิษตับถือเป็นกระบวนการทางธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกาย สามารถทำเองได้ที่บ้าน และมีความปลอดภัยสูงก็ตาม (ต้องทำถูกวิธี) แต่ข้อห้ามเหล่านี้ที่หมอกำลังจะเล่าก็ถือเป็นสิ่งที่ทำให้กระบวนการล้างพิษตับมีความปลอดภัยอย่างสูงสุด และหากใครที่ตกอยู่ในเงื่อนไขของข้อห้ามแล้ว อยากจะล้างพิษตับขึ้นมาจริง ๆ ก็ควรจะปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ของท่านก่อนเพื่อความปลอดภัยไร้กังวล โดยสิ่งที่ควรระวังก็คือ

1. ผู้ป่วยภาวะลำไส้อุดตัน

          ถ้ามีอาการอุดตันของลำไส้เล็ก การล้างพิษตับเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่งการอุดตันของลำไส้เล็กนั้นมีสาเหตุมาจากขบวนการทางพยาธิวิทยาหลายอย่าง เช่น อาจจะเกิดจากพังผืดหลังการผ่าตัด หรืออาจจะมาจากการมีก้อนเนื้อร้าย (มะเร็ง) ในช่องท้อง โรคลำไส้ Crohn’s disease และโรคไส้เลื่อน ก็อาจจะเป็นสาเหตุของภาวะลำไส้อุดตันได้ทั้งสิ้น รวมทั้งการผ่าตัดที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะลำไส้อุดตัน คือ การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ การผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ภาวะทางสูตินรีเวช และการทำหัตถการทางระบบทางเดินอาหารส่วนบน

2. ผู้ที่มีภาวะอ่อนเพลีย

          หลายคนอาจสงสัยว่า แค่ไหนถึงเรียกว่าอ่อนเพลีย เกณฑ์หลัก ๆ ก็คือ อ่อนแรง ไม่มีแรง สำหรับผู้ที่ผอมแห้งจะสังเกตง่าย คือ น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมาก ๆ บุคคลที่มีภาวะแบบนี้ไม่เหมาะกับการทำล้างพิษตับ ถ้าผู้ที่มีภาวะอ่อนเพลียและผอมแห้งต้องการทำการล้างพิษตับจริง ๆ สิ่งที่ต้องทำก่อนเป็นอันดับแรก ก็คือ การเพิ่มความแข็งแรงและความสมบูรณ์ของร่างกายของท่านเองก่อน เป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง เมื่อร่างกายของท่านมีน้ำหนักที่ใกล้เคียงคนมีสุขภาพดีมากขึ้น และรู้สึกแข็งแรงขึ้นเมื่อใด ท่านจึงจะสามารถลองทำการล้างพิษตับครั้งที่ 1 ได้


ปวดท้อง

3. ผู้เป็นโรคลำไส้

          หลายคนอาจจะงงว่า ล้างพิษตับ แล้วลำไส้เกี่ยวข้องได้อย่างไร หมอเน้นย้ำไว้เลยว่าเกี่ยวข้องกันมาก เพราะอาจมีการติดเชื้อได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการล้างพิษตับหากมีการอักเสบของลำไส้ใหญ่ที่เป็นแผลเรื้อรังและรุนแรงชนิด Ulcerative Colitis โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิด Crohn’s disease โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิด diverticulitis โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิด diverticulosis ตรวจพบภาวะติ่งเนื้อชนิด Polyps ในลำไส้ จำนวนหลาย ๆ ก้อน มีริดสีดวงทวารขนาดใหญ่ ในกรณีที่เป็นโรคเหล่านี้ต้องทำการรักษาโรคเหล่านี้ให้หายขาดก่อนจึงจะสามารถทำการล้างพิษตับได้อย่างปลอดภัย

4. มีภาวะติดเชื้อเฉียบพลัน

          ห้ามทำการล้างพิษตับเมื่อท่านป่วยด้วยภาวะติดเชื้อเฉียบพลัน กินยาตามที่แพทย์สั่งอยู่ (ยกเว้นการกินยาไทรอยด์ชนิดไม่รุนแรง) การมีรอยแผลแตกที่ทวารหนัก (fissure) หรือ ริดสีดวงทวารขนาดใหญ่ (Large heamorrhoids) เคยมีประสบการณ์ปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน และมีภาวะขาดน้ำ (Dehydrated) หรือมีภาวะ ท้องเสียบ่อย ๆ หรือมีถ่ายเป็นเลือด

5. ภาวะริดสีดวงทวาร

          และภาวะท้องผูกริดสีดวงทวารนั้น จะมีการบวมคั่งของเส้นเลือดขอดในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากภาวะท้องผูกเรื้อรัง หากมีอาการท้องผูกและยังคงพยายามทำการล้างพิษตับอยู่ ส่วนผสมของน้ำมันจะถูกกักและค้างอยู่ที่กระเพาะอาหารเป็นเวลานานขึ้น ในที่สุดลิ้นหูรูดที่หลอดอาหารจะเปิด และทำให้รู้สึกคลื่นไส้คล้ายจะเป็นลม และอาเจียนในที่สุด

          ถ้ายังคงมีการขับนิ่ว สารองค์ประกอบของนิ่ว หรือสารพิษจากตับ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสาเหตุทำให้ริดสีดวงทวารที่ปรากฏอยู่ภายนอกแตกและมีเลือดออก แม้การที่มีเลือดออกบ้างจะดูน่ากลัวแต่ในความเป็นจริงมันช่วยขับสารพิษที่เหล่าเส้นเลือดขอดในลำไส้ (ริดสีดวงทวาร) เหล่านี้เก็บกักไว้และสิ่งนี้จะช่วยปรับปรุงสุขภาพของลำไส้ได้เป็นอย่างดี

          อย่างไรก็ตาม จะเป็นการดีที่สุดที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะท้องผูกเพื่อไม่ให้ริดสีดวงทวารเกิดขึ้น ดังนั้นควรสวนล้างลำไส้อย่างถูกต้องเหมาะสมก่อนการล้างพิษตับ และด้วยวิธีนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงภาวะคลื่นไส้ที่ไม่พึงประสงค์และช่วยลดโอกาสในการอาเจียนหลังจากดื่มส่วนผสมที่มีน้ำมันลงได้ แถมยังจะช่วยให้ภาวะท้องผูกดีขึ้นอีกด้วย

          นอกจากนั้นแล้ว การเข้านอนแต่หัวค่ำ ดื่มน้ำอย่างพอเพียง และกินอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณมากและออกไปเดิน หรือฟังเพลงหลังรับประทานอาหาร ก็เป็นส่วนช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น รวมไปถึงการออกไปรับแสงแดดช่วงเช้า ก็จะได้รับวิตามินดีซึ่งมีส่วนสำคัญในการรักษาหน้าที่ของระบบย่อยอาหารให้เหมาะสม


หญิงตั้งครรภ์

6. ภาวะตั้งครรภ์ และให้นมบุตร

          หากอยู่ในภาวะนี้ห้ามล้างพิษตับครับ

7. ภาวะมีประจำเดือน

          การล้างพิษตับในขณะที่มีประจำเดือน ส่งผลให้การขับเลือดเสียตามธรรมชาติ (ประจำเดือน) นั้น ขับได้น้อยลง (ไม่เป็นผลดี แนะนำให้ทำก่อนหรือหลังการมีประจำเดือนจะดี และปลอดภัยกว่า)

8. มีการใส่ท่อ stent เพื่อขยายท่อน้ำดี

          ปัญหาของการที่มีท่อเหล็กหรือท่อพลาสติกสอดไว้ในท่อน้ำดีนั้น มันทำให้เกิดภาวะที่ท่อน้ำดีจะไม่สามารถขยาย (dilate) ขนาดของท่อน้ำดีเหมือนกับลักษณะของท่อน้ำดีปกติที่สามารถขยายในการล้างพิษตับปกติได้ (ซึ่งเป็นปฏิกิริยาจากการดื่มดีเกลือ) ดังนั้นเมื่อนิ่วถูกขับออก มันอาจจะไม่สามารถผ่านท่อ stent นี้ได้ ในกรณีการอุดตันของท่อน้ำดีจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนิ่วนั้นมีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ stent ซึ่งในกรณีนี้คนส่วนใหญ่ก็ต้องผ่าตัดไปเปลี่ยนท่อ stent อีกครั้ง


เบาหวาน

9. อาการเบาหวาน

          หมอทราบดีว่าผู้ป่วยเบาหวานหลาย ๆ คนนั้นประสบความสำเร็จในการล้างพิษตับหลายต่อหลายครั้ง แต่ถ้าท่านมีปัญหาเบาหวานอยู่จริง ๆ ท่านอาจจะจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการล้างพิษตับที่ได้แนะนำกันเป็นปกติ การรักษาสภาวะสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่ต้องห่วงใยอย่างแท้จริง การอดอาหารนั้นเป็นที่แน่นอนว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดปั่นป่วนได้ ในขณะเดียวกัน การไม่กินอาหารใด ๆ ในวันที่ต้องดื่มน้ำมันมะกอกเป็นสิ่งสำคัญในการหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายและช่วยเพิ่มโอกาสการขับนิ่วในขณะที่ทำการล้างพิษตับสูงสุด

          สิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยเบาหวานในกรณีที่ถึงแม้จะทำการล้างพิษตับไม่ได้นั้น หมอแนะนำว่าอย่างแรกที่คุณจะต้องทำให้สำเร็จก่อนก็คือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการรับประทานอาหารที่จำเป็น และในภายหลังจากที่ภาวะน้ำตาลในเลือดของคุณอยู่ในระดับปกติอย่างเป็นธรรมชาติด้วยตัวมันเองแล้ว คุณจึงค่อยเริ่มทำการล้างพิษตับ

          Andreas Moritz แนะนำเพิ่มเติมไว้ในหนังสือ The Amazing Liver and Gallbladder Flush หน้า 285-286 ว่า

          "ในกรณีที่ท่านรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอยู่ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ทางด้านธรรมชาติบำบัด เพื่อปรับอาหารและพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของโรคก่อน และเพื่อให้ค่อย ๆ ลดการใช้ยาลงก่อน ในขณะที่การล้างพิษตับช่วยให้ร่างกายล้างพิษและรักษาตนเองได้ ยาไม่ว่าจะเป็นยาต้านภาวะซึมเศร้า ยาต้านการอักเสบ ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ล้วนแล้วแต่ทำงานตรงข้าม มันจึงถือเป็นความเสี่ยงต่อร่างกายที่จะทำให้มีสภาวะสองอย่างที่ไม่เข้ากัน และเป็นกระบวนการตรงกันข้ามกันอยู่ในร่างกายในขณะเดียวกัน"

          "ข้อเท็จจริงก็คือ การกินยาแผนปัจจุบันในขณะที่ทำการล้างพิษตับนั้นจะเปลี่ยนความเข้มข้นของยาให้อยู่ระดับที่ไม่น่าปรารถนา เพราะฉะนั้น สิ่งนี้ถือเป็นคำเตือนที่ต้องระวัง เมื่อใดก็ตามที่สามารถหยุดยาแผนปัจจุบันใด ๆ ได้แล้ว คุณสามารถที่จะทำการล้างพิษตับได้อย่างปลอดภัย"


   เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 

คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 

 


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ล้างพิษตับ ถึงจะเป็นเทรนด์ฮิต แต่ก็มีลิมิตข้อห้ามเหมือนกัน ! อัปเดตล่าสุด 18 ตุลาคม 2560 เวลา 16:49:32 2,959 อ่าน
TOP