x close

บีพีเอในพลาสติก ทำให้เป็นโรคหัวใจ

พลาสติก


ไบสฟีนอลเอในพลาสติก ทำให้เป็นโรคหัวใจ (Mcot)

          ผลวิจัยใหม่ยืนยันว่า สารไบสฟีนอลเอ (บีพีเอ) ที่พบในพลาสติกบรรจุอาหารและเครื่องดื่มมีส่วนทำให้เป็นโรคหัวใจ

          บีพีเอ เป็นสารที่ใช้อย่างแพร่หลายในบรรจุภัณฑ์พลาสติก ทำให้นักวิจัยหลายประเทศเป็นห่วงเรื่องอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่เจ้าหน้าที่ด้านอาหารและยากำลังตรวจสอบเรื่องความปลอดภัย

          ทั้งนี้นักวิจัยในสหรัฐและอังกฤษวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการสำรวจโภชนาการชาวอเมริกัน 1,493 คน อายุ 18-74 ปีเมื่อปี 2549 พบว่า เจ้าของตัวอย่างปัสสาวะที่มีบีพีเอสูงมักเป็นโรคหัวใจ ยืนยันผลการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ว่า บีพีเอมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังพบผลยืนยันด้วยว่า บีพีเอมีส่วนทำให้เป็นเบาหวานและโรคไตบางชนิด

          บีพีเอจัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบ ที่บางครั้งเรียกว่าสารรบกวนระบบสัญญาณในการผลิตฮอร์โมนของร่างกาย ปีที่แล้วสมาคมต่อมไร้ท่อสหรัฐเสนองานวิจัยชี้ว่า บีพีเอมีผลต่อหัวใจของสตรี และทำลายดีเอ็นเอของหนูอย่างถาวร ขณะที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐสรุปเมื่อปี 2551 ว่า บีพีเอเป็นอันตรายต่อการพัฒนาต่อมลูกหมากและสมอง อีกทั้งยังทำให้ทารกในครรภ์ เด็กเล็กและเด็กโตมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป รัฐบาลแคนาดาจึงเตรียมห้ามขวดนมพลาสติกปนเปื้อนบีพีเอ

          ด้านกลุ่มการกุศลในอังกฤษเรียกร้องให้รัฐบาลทำตาม เพราะมีหลักฐานชัดเจนว่า บีพีเอทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ชาวอเมริกันและชาวยุโรปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 มีบีพีเอในร่างกาย แต่ละปีทั่วโลกผลิตสารเคมีตัวนี้มากกว่า 2.2 ล้านตัน




ขอขอบคุณข้อมูลจาก



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
บีพีเอในพลาสติก ทำให้เป็นโรคหัวใจ อัปเดตล่าสุด 15 มกราคม 2553 เวลา 20:33:45 1,216 อ่าน
TOP