x close

จุฬาฯ เปิดตัวหุ่นยนต์ผ่าตัดสุดเจ๋ง มูลค่ากว่า 100 ล้าน






เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก chulalongkornhospital.go.th

          จุฬาฯ เปิดตัวหุ่นยนต์ผ่าตัด งบกว่า 100 ล้านบาท ชี้ แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว และสามารถช่วยผ่าตัดในที่ซับซ้อนได้ดีกว่า เตรียมใช้ผ่าตัดฟรี 84 ราย เฉลิมพระเกียรติ

           วานนี้ (28 กรกฎาคม) อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวหุ่นยนต์ผ่าตัด  (robotic surgery) เครื่องแรกในประเทศไทย จัดซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยงบประมาณ 108 ล้านบาท และเริ่มใช้ไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

          โดย ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์นี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ ทีใช้แขนหุ่นยนต์ส่องเข้าไปผ่าตัดในตัวผู้ป่วย ซึ่งสามารถลดและแก้ปัญหาแทรกซ้อนในตัวผู้ป่วยได้ดี ทั้งนี้ทางจุฬาฯ ตั้งเป้าไว้ว่า จะใช้ประโยชน์จากหุ่นยนต์ให้มากที่สุด และรวมไปถึงใช้ในการศึกษาด้วย สำหรับหุ่นยนต์ผ่าตัดดังกล่าว เป็นหุ่นยนต์ชนิดฟลูออฟชั่น มีเครื่องควบคุมการผ่าตัด 2 ชุด และสามารถใช้ศัลยแพทย์ได้ 2 คน

        คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ยังกล่าวอีกว่า ในวันที่ 17 สิงหาคม จะมีการประชุมวิชาการให้ความรู้แก่แพทย์ทั่วประเทศ เกี่ยวกับการใช้หุ่นยนต์ดังกล่าว และในเดือนกันยายน จะเปิดโครงการผ่าตัด เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 7 รอบ  โดยจะจัดผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ฟรีจำนวน 84 ราย
 
       ทางด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ ประสพสันติ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เรามีกล้องส่องผ่าตัดมาหลายปีแล้ว ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ต่อมาเมื่อมีหุ่นยนต์ผ่าตัด ก็จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรายละเอียดการผ่าตัดเป็นสามมิติ ซึ่งมีกำลังขยาย 10 เท่า และสามารถเคลื่อนไหวในช่องเล็ก ๆ ได้มากขึ้น โดยหุ่นยนต์ผ่าตัดรุ่นใหม่ล่าสุด มีแขนกลทำหน้าที่แทนตา และแขน สามารถขยับได้ใกล้เคียงกับมือของศัลยแพทย์เลยทีเดียว

     ขณะที่ รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา กล่าวว่า การใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดด้านนรีเวช มีประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะในการผ่ามะเร็งบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ลึก และมีความซับซ้อนมาก อีกทั้งยังช่วยในเรื่องมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูด มะเร็งปากมดลูก และการรักษาอื่น ๆ ในงานนรีเวชที่ต้องอาศัยความแม่นยำ ละเอียดถี่ถ้วน เช่น การแก้หมันหญิง เพราะหุ่นยนต์นี้จะช่วยให้ผู้ป่วยเสยเลือดน้อย และฟื้นตัวไวขึ้น
 
    ส่วนทางด้าน ผศ.นพ.อภิรักษ์ สันติงามกุล ศัลยแพทย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ กล่าวว่า ในด้านศัลยกรรมระบบปัสสาวะ หุ่นยนต์ดังกล่าวก็จะช่วยได้เยอะ ทั้งการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะบริเวณดังกล่าว เป็นบริเวณที่ละเอียดอ่อนมาก อีกทั้งหุ่นยนต์ผ่าตัดจะช่วยรักษาเส้นประสาทได้ดี แก้ปัญหาการแข็งตัวขององคชาติ และการอาการปัสสาวะเล็ดภายหลังการผ่าตัดได้ นอกจากกนี้ ยังสามารถใช้ผ่าตัดมะเร็งไตได้เป็นอย่างดี  ซึ่งมะเร็งชนิดนี้จะไม่ตอบสนองต่อการทำคีโม ต้องผ่าตัดอย่างเดียว ซึ่งการรักษามะเร็งไตนั้น ต้องเอาไตออกอย่างเดียว ถ้าหากใช้หุ่นจะช่วยการเสียเลือดได้ดี เพราะไตมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจถึงร้อยละ 25 และที่ผ่านมาในช่วง 2 เดือนที่ใช้หุ่นยนต์ผ่าตัด สามารถผ่ามะเร็งต่อมลูกหมากได้ 2 ราย ผ่าตัดกรวยไตได้ 1 ราย ผ่าตัดไตเสื่อมได้ 1 ราย

 
     ท้ายนี้ นพ.สุเทพ อุดมแสวงพันธ์ ศัลยแพทย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดมีความเที่ยงตรงสูงมาก ซึ่งการผ่าตัดจะใช้เวลานานกว่าการใช้ระบบกล้อง หรือผ่าตัดด้วยมือ แต่แผลเล็กกว่า และใช้เวลาพักฟื้นสั้นกว่า ความเจ็บปวดน้อยกว่า แต่ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายก็ยังสูงอยู่ อย่างไรก็ตาม หุ่นผ่าตัดนั้นมีประโยชน์ในการผ่าตัดหลาย ๆ อย่างทั้งทางศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ศัลยศาสตร์ทรวงอก สูตินรีเวช และศัลยศาสตร์ทั่วไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก



 

      
      

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
จุฬาฯ เปิดตัวหุ่นยนต์ผ่าตัดสุดเจ๋ง มูลค่ากว่า 100 ล้าน อัปเดตล่าสุด 16 ธันวาคม 2556 เวลา 17:32:17 1,720 อ่าน
TOP