x close

เด็กไทย อ้วน-เตี้ย-ปัญญาทึบ กรมอนามัยสำรวจพบกินผักน้อย


เด็กไทย อ้วน - เตี้ย - ปัญญาทึบ กรมอนามัย สำรวจพบกินผักน้อย


เด็กไทย "อ้วน-เตี้ย-ปัญญาทึบ" กรมอนามัยสำรวจพบกินผักน้อย ฟาดแต่ขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน (ไทยโพสต์)

          กรมอนามัย เผยผลการติดตามภาวะการเจริญเติบโตของเด็กไทย 6-12 ปี จำนวน 1.4 ล้านคน พบมีภาวะอ้วน ผอม เตี้ย ปัญญาทึบ เรียนรู้ช้า ชี้เป็นผลจากโภชนาการที่แย่ กินผักน้อยแค่วันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ หนักไปทางขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน เตรียมผนึกกำลัง 7 องค์กรพัฒนาชุดเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ

          วันที่ 6 มกราคม 2557 นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตในเด็กนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน จาก 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่า นักเรียนมีภาวะอ้วน จำนวน 187,000 คน เตี้ย จำนวน 254,620 คน และผอม จำนวน 99,112 คน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เด็กนักเรียนที่เตี้ยและผอมจะมีสติปัญญาด้อย เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย เด็กนักเรียนที่มีภาวะอ้วนเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

          โดยสาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทย พบว่าเด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้ง ๆ ที่ควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ กินขนมกรุบกรอบและดื่มเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึง 67.4% ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน โดยคาดว่าในปี 2558 เด็กปฐมวัย 1 คน ใน 5 คน และเด็กนักเรียน 1 คน ใน 10 คน จะมีภาวะอ้วน

          นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า การพัฒนาสื่อนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของนักเรียน ถือเป็นสิ่งสนับสนุนทางวิชาการที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่ด้านการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการและสุขภาพให้บรรลุผลตามเป้าหมาย โดยเน้นการนำสื่อนวัตกรรมฉบับทดลองใช้ที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการนักเรียนในโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย มาพัฒนาต่อยอดให้มีเนื้อหาครอบคลุมการพัฒนาสุขภาพนักเรียนแบบองค์รวมและง่ายต่อการนำไปใช้ขยายผลในระดับประเทศ


          โดยแนวทางการพัฒนาจะเน้นการบูรณาการชุดความรู้ 5 เรื่องที่ยังเป็นปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ได้แก่

          1. ธงโภชนาการ
         
2. ผัก ผลไม้
         
3. ลดหวาน มัน เค็ม
         
4. โรคอ้วนและการออกกำลังกาย
         
5. สุขอนามัยส่วนบุคคล (สุขภาพช่องปากและสุขภาพทั่วไปของนักเรียน)


          ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2551 และสามารถประยุกต์ใช้กับบริบทของแต่ละโรงเรียนได้ทั้ง 4 สังกัด คือ สพฐ. กทม. เอกชน และเทศบาล


ขอขอบคุณข้อมูลจาก




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เด็กไทย อ้วน-เตี้ย-ปัญญาทึบ กรมอนามัยสำรวจพบกินผักน้อย อัปเดตล่าสุด 7 มกราคม 2557 เวลา 13:21:11 2,215 อ่าน
TOP