4 กลยุทธ์เชิงรุก พาคนรุ่นใหม่ห่างไกลโรคมะเร็ง

4 กลยุทธ์เชิงรุก พาคนรุ่นใหม่ห่างไกลโรคมะเร็ง
4 กลยุทธ์เชิงรุก พาคนรุ่นใหม่ห่างไกลโรคมะเร็ง


          โรคมะเร็ง เป็นโรคใกล้ตัวที่รักษาได้และไม่อันตรายอย่างที่คิด แค่เพียงเข้าใจและรู้จักวิธีการป้องกันโรคมะเร็ง และขจัดความเชื้อผิด ๆ เกี่ยวกับมะเร็งให้หมดไป

          ปัจจุบันนี้โรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก เนื่องจากคนเรายังคงมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับโรคมะเร็ง รวมทั้งยังคงคิดว่าโรคมะเร็งเป็นเรื่องไกลตั­ว มีความชะล่าใจในการใช้ชีวิตจนเข้าใกล้ความเสี่ยงโรคมะเร็งกัน­อยู่มาก จึงทำให้องค์การอนามัยโลก และสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล จึงกำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันมะเร็งโลก เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความอันตรายของโรคมะเร็งและเผยแพร่ความ­­­รู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคมะเร็งให้คนทั่วโลกได้รับทราบและเข้าใจ

          นอกจากนี้สมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากลก็ยังได้กำหนดกลยุทธ์เชิง­­­รุกเพื่อต้านโรคมะเร็งอีกด้วย โดยชูประเด็นที่ว่า "มะเร็งไม่ได้เหนือกว่าเรา" (Cancer Not Beyond Us) แต่กลยุทธ์ดังกล่าวจะเน้นที่เริ่มใดบ้าง วันนี้ สสส. จะพาเราไปทำความเข้าใจกันให้มาขึ้น

4 กลยุทธ์เชิงรุก พาคนรุ่นใหม่ห่างไกลโรคมะเร็ง

สถานการณ์ "มะเร็ง"ไทย

          นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ถึงอุบัติการณ์ของของโรคมะเร็งในประเท­­­ศไทยว่า อัตราการเกิดโรคมะเร็งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยมีผู้ป่วยรายใหม่ราว 120,000 คน/ ปี และโรคมะเร็งยังคงเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน

          "การบริหารจัดการในปัจจุบันของประเทศไทย มีแนวโน้มที่ดีที่สามารถช่วยลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลงได้ โดยมีการวางแผนทำงานกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำตามแผนการป้องกั­­­นและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Control Program) ทั้งแผนการป้องกันโรคมะเร็ง การตรวจคัดกรองโรค การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค สารสนเทศมะเร็ง การวิจัยโรคมะเร็ง และการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการมากแล้ว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"

4 กลยุทธ์เชิงรุก พาคนรุ่นใหม่ห่างไกลโรคมะเร็ง


ทั้งนี้ แต่ละเพศมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งแตกต่างกัน โดย 5 อันดับมะเร็งของชายไทย ได้แก่

          มะเร็งตับและท่อน้ำดี
          มะเร็งปอด
          มะเร็งลำไส้ใหญ่
          มะเร็งต่อมลูกหมาก
          มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

5 อันดับมะเร็งของหญิงไทย ได้แก่

          มะเร็งเต้านม
          มะเร็งปากมดลูก
          มะเร็งตับและท่อน้ำดี
          มะเร็งปอด และ
          มะเร็งลำไส้ใหญ่

          นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของทั้งเพศชายและหญิงในประเทศไทยกำล­­­ังเพิ่มสูงขึ้นด้วย จากพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่เปลี่ยนไปตามกระแสทางตะวันตก กินไขมันสูง ไม่กินผักและผลไม้ และขาดการออกกำลังกาย

          "ส่วนหญิงรุ่นใหม่ที่ไม่ได้แต่งงาน หรือมีบุตรแล้วไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ ก็นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งเต้านมมากข­­­ึ้นด้วย" คุณหมอกล่าว

4 กลยุทธ์เชิงรุก พาคนรุ่นใหม่ห่างไกลโรคมะเร็ง

4 แนวทางปฏิบัติตน ห่างไกลมะเร็ง

          นพ.วีรวุฒิ ให้คำแนะนำพร้อมอธิบายถึง 4 กลยุทธ์ต้านมะเร็ง ของสมาพันธ์ควบคุมโรคมะเร็งสากล ให้ฟังดังนี้

           สุขภาพดีเราเลือกได้ (Choosing healthy lives) ควรเลือกการมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพโดยยึดหลัก 5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง “ 5 ทำ ได้แก่ ออกกำลังกายเป็นนิจ ทำจิตแจ่มใส กินผักผลไม้ กินอาหารหลากหลาย ตรวจร่างกายเป็นประจำ และ 5 ไม่ ได้แก่ ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีเซ็กส์มั่ว ไม่มัวเมาสุรา ไม่ตากแดดจ้า ไม่กินปลาน้ำจืดสุกๆ ดิบๆ”

           มะเร็ง ค้นหาได้ (Delivering early detection) ซึ่งเป็นประเด็นที่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พยายามจะบอกกับผู้ที่ยังไม่เริ่มป่วยว่า การตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นเรื่องสำคัญมาก ปัจจุบันคนป่วยที่มีอาการแล้วมาพบแพทย์ จะพบว่าเป็นมะเร็งในระยะที่ 3 หรือ 4 แล้วประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้รักษาไม่ทัน ขณะที่พบอัตราการตรวจพบผู้ป่วยในระยะที่ 1 หรือ 2 มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ “ตรงนี้ขอย้ำว่า ยิ่งตรวจพบเร็ว โอกาสในการรักษาให้หายจากโรคก็มีมาก การรณรงค์ให้คนไทยห่วงสุขภาพของตนเอง หมั่นตรวจสุขภาพ หากพบเร็วก็มีผลดีกับการรักษามากขึ้นเท่านั้น”

           มะเร็งรักษาได้ เข้าถึงได้ (Achieving treatment for all) ตรงนี้หมายถึงการรักษาตามมาตรฐานทั่วไป ทั้งการทำคีโม การฉายแสง และการผ่าตัด นอกจากนั้นเป็นการรักษาที่ยังอยู่ในงานวิจัย เช่น การใช้ความร้อนความเย็น คลื่นวิทยุ เป็นต้น "คนไทยทุกคนมีสิทธิในการรักษาตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ­­­ สิทธิประกันสังคม และสิทธิของราชการ กล่าวคือทุกคนไม่ต้องไปรักษานอกสิทธิ ก็สามารถเข้าถึงการรักษาโรคได้"

           เป็นมะเร็ง ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ (Maximizing quality of life) คนที่เป็นแล้วในระยะลุกลาม เราจะให้ความสำคัญมากขึ้นทั้งกายใจ เพื่อส่งเสริมให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

          "ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีปัญหาเรื่องอาการปวด ตรงนี้จะมีระบบในการให้ยาที่ดีขึ้น เพื่อลดอาการปวดของผู้ป่วย (pain clinic) ส่งทีมเยี่ยมบ้าน พร้อมให้ความรู้แก่ญาติในการดูแลผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบและเป็นสุขในช่วงเวลาสุดท้าย" คุณหมอให้­ข้อมูลทิ้งท้าย

          โรคมะเร็งไม่ใช่โรคอันตรายอย่างที่คิด เพียงแต่เราต้องเริ่มรักสุขภาพของเรากันตั้งแต่วันนี้ คงจะไม่มีใครสามารถช่วยให้เรารอดปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บได้นอก­­­จากตัวเราเอง ยิ่งเริ่มเร็ว สุขภาพก็ยิ่งดี แต่เพียงคุณตั้งใจทำอย่างจริงจัง นอกจากจะไม่มีโรคภัยเบียดเบียนแล้วก็จะยิ่งทำให้คุณสุขภาพดีมาก­­­ขึ้นอย่างที่คุณคาดไม่ถึงเลยล่ะค่ะ





ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เรื่องโดย : ชัชวรรณ ปัญญาพยัตจาติ Team Content www.thaihealth.or.th





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
4 กลยุทธ์เชิงรุก พาคนรุ่นใหม่ห่างไกลโรคมะเร็ง อัปเดตล่าสุด 5 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 17:08:20 1,923 อ่าน
TOP
x close