Pistanthrophobia โรคกลัวการไว้ใจผู้อื่น เพราะเคยถูกหักหลัง จนฝังเป็นอาการทางจิต !

อาการทางจิต

          อาการทางจิต ที่เกิดจากความผิดหวังอันฝังใจ สุดท้ายอาจพัฒนาเป็น Pistanthrophobia โรคกลัวการไว้ใจผู้อื่น
   
          ความรู้สึกว่าถูกหักหลัง ถูกทำให้ผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจเป็นบาดแผลในใจที่ร้ายแรงเกินกว่าใครจะคาดคิด จนในที่สุดความรู้สึกแย่ ๆ เหล่านั้นก็กลับมาส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจของเราได้ และสำหรับใครที่กำลังที่ปิดกั้นตัวเอง ไม่ยอมไว้ใจคนอื่น หรือมีความระแวงว่าจะถูกทำให้ผิดหวังเกือบตลอดเวลา ลองมาเช็กอาการกันดีกว่าค่ะว่าเราเป็นโรคกลัวการไว้ใจผู้อื่น หรือ Pistanthrophobia ด้วยหรือไม่
Pistanthrophobia คือโรคอะไร ?

          Pistanthrophobia คือ ความกลัวที่จะไว้ใจผู้อื่นหรือแม้กระทั่งคนรอบข้าง ปิดกั้นตัวเองจนไม่ยอมให้ใครเข้ามารู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรา หรือไม่ยอมเดินเข้าไปรู้จักตัวตนของใคร แม้เขาคนนั้นจะทำตัวน่าไว้ใจหรือทำท่าว่าพร้อมจะเปิดรับเราเข้าไปในโลกของเขาก็ตาม

อาการทางจิต

Pistanthrophobia เกิดจากอะไรได้บ้าง ?


          โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่า ผู้ที่เป็นโรค Pistanthrophobia มักจะผ่านเหตุการณ์แย่ ๆ อย่างการถูกหักหลังจากคนใกล้ตัว คนที่ไว้ใจ หรือมีรักแรกที่ถูกทำให้ต้องเจ็บ ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน และสุดท้ายก็จบไม่สวย จนสร้างป้องกลไกป้องกันตัวเองออกมาในรูปแบบคนที่ไม่กล้าจะเชื่อใจและไว้ใจใครอีกครั้ง

อาการทางจิต

Pistanthrophobia อาการนี้ที่เข้าข่ายป่วย

          แม้การไม่ยอมไว้ใจใครจะเป็นกลไกธรรมชาติของคนที่เคยโดนกระทำให้รู้สึกเจ็บมาก่อน ทว่าสำหรับคนที่เป็น Pistanthrophobia ต้องมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

          - ตัดสินผู้อื่นก่อนที่จะได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเขา
          - ยึดติดอยู่กับตัวเองตลอดเวลา ไม่ยอมเปิดใจให้ใคร
          - ไม่สนใจแม้จะมีใครพยายามให้ความช่วยเหลือ หรือเข้ามาพูดคุยกับเรา
          - ติดอยู่กับความคิดที่ว่าคนอื่นพูดโกหกกับเรา ไม่ว่าเขาจะพูดอะไรก็ดูไม่ใช่เรื่องจริงไปซะหมด
          - ไม่เคยคิดจะร้องขอความช่วยเหลือจากใคร ไม่ว่าจะเจออันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจก็ตาม

อาการทางจิต

Pistanthrophobia รักษาให้หายได้ไหม ?

          จะว่าไป Pistanthrophobia ก็คืออาการกลัวโดนทำให้ผิดหวังและเป็นความกลัวชนิดฝังลึกในจิตใจ ทำให้มีมุมมองต่อโลกนี้ในแบบที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการดำเนินชีวิตของเราได้ ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการของ Pistanthrophobia อยู่บ้างไม่มากก็น้อย ลองเปิดใจแล้วปรับมุมมองซะใหม่เพื่อให้หายจากโรค Pistanthrophobia กันตามนี้

1. อย่าคิดว่าอนาคตจะจบเหมือนอดีต

          คนไม่กี่คนที่ทำให้เราเจ็บฝังใจ ไม่ได้แปลว่าใคร ๆ ในโลกก็จะทำให้เราเจ็บอย่างนั้นเสมอไปสักหน่อย ดังนั้นอย่าคาดเดาไปเองว่าคนอื่นจะหักหลังเราแน่ ๆ ในอนาคต ลองเปิดใจให้กว้างขึ้นอีกนิด

2. เก็บอดีตไว้เป็นบทเรียน

          แทนที่จะเก็บอดีตไว้เป็นจุดด่างในดวงใจ ลองหยิบความผิดพลาดในครั้งนั้นขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่ไว้เป็นบทเรียนจะดีกว่า เช่น พฤติกรรมแบบไหนที่ส่อเค้าว่าไม่จริงใจ ปฏิกิริยาแบบไหนที่ฟันธงได้ว่าเราจะถูกหักหลังแน่ ๆ ทว่าลองทบทวนด้วยใจที่เป็นกลางนะคะ ไม่ใช่ตีความการกระทำของคนรอบข้างว่าเขาเสแสร้งไปซะหมด

อาการทางจิต
 
3. ให้เวลาตัวเองได้พักใจ

          แผลสดยังไงก็ต้องใช้เวลารักษาที่น่าจะนานหน่อย ดังนั้นหากความรู้สึกของคุณถูกพังมาจนยับ ก็ให้เวลาตัวเองได้อยู่เงียบ ๆ รักษาแผลใจกันไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องเร่งรัด ไม่บังคับให้ตัวเองรีบลืมความเจ็บปวดนั้น แต่ก็อย่างที่บอกนั่นแหละคะว่า เก็บเอาอดีตมาเรียนรู้และเป็นบทเรียนให้ชีวิตได้ก้าวเดินต่อไปใหม่แบบสง่างามจะดีกว่า

4. ปล่อยวาง

          ที่เราเจ็บอยู่ตอนนี้เป็นเพราะความผิดของคนที่หักหลังเราอยู่ หรือจริง ๆ แล้วเป็นเราเองที่ไม่ยอมปล่อยให้ชีวิตได้หลุดพ้นจากความเศร้าสักทีกันแน่ ลองสำรวจใจตัวเองอีกทีแล้วพยายามปล่อยวางเรื่องในอดีตให้เป็นสิ่งที่แค่ผ่านเราไปแล้วก็พอ

5. เปิดใจให้กว้าง

          การที่เราจะเชื่อใจใครได้ เราต้องเปิดใจเสียก่อน ต้องเป็นคนที่น่าเชื่อถือและน่าไว้ใจเสียก่อน หรืออย่างน้อย ๆ ต้องเป็นคนที่อบอุ่น ไม่เย็นชา เป็นคนที่น่าคบหา หรือเป็นคนอย่างที่เราอยากคบค้าสมาคมด้วย ซึ่งก็จะช่วยให้เราคัดคนที่จะเข้ามาในชีวิตได้อย่างง่าย ๆ อีกวิธีหนึ่ง

          ความไว้ใจซื้อหาไม่ได้ด้วยเงินตราก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลยในโลกใบนี้นะคะ ดังนั้นหากคุณเป็นอีกคนที่กำลังป่วยด้วยโรค Pistanthrophobia อยู่ ลองปรับทัศนคติของตัวเองดูตามนี้ หรือจะลองเข้าไปพูดคุยกับจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยกันหาทางออกที่ดีให้ชีวิตก็ได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
twohands1heart.weebly.com
Huffington Post UK
Good Men Project


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
Pistanthrophobia โรคกลัวการไว้ใจผู้อื่น เพราะเคยถูกหักหลัง จนฝังเป็นอาการทางจิต ! อัปเดตล่าสุด 4 เมษายน 2559 เวลา 17:53:49 50,175 อ่าน
TOP
x close