กรมการแพทย์ เตือนนักดื่ม หยุดดื่มเหล้ากะทันหัน ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต แนะคนใกล้ชิดสังเกต หากพบอาการเสี่ยง รีบพาไปปรึกษาแพทย์
วันที่ 14 เมษายน 2563 นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า สุรา มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อดื่มสุราเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดพิษต่อระบบต่าง ๆ โดยพิษแบบเฉียบพลัน ทำให้ขาดสติ ควบคุมตัวเองไม่ได้ และผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะหมกมุ่นกับการหาสุราดื่มตลอดเวลา ทำให้สุขภาพทรุดโทรม ในรายที่ดื่มจนติด จะเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิต มีความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม
ด้าน นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในผู้ที่มีอาการพิษสุราเรื้อรังและดื่มแบบเสี่ยงรุนแรง ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ดื่มมากกว่าตั้งแต่ 5 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไป และดื่มเทียบได้กับเบียร์ 4 กระป๋องหรือ 2 ขวดใหญ่, เหล้าแดงครึ่งแบน เมื่อหยุดดื่มอย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน มักจะพบอาการมือสั่น เหงื่อออก เป็นไข้ สับสน กระวนกระวาย นอนไม่หลับ เห็นภาพหลอน หวาดระแวงคิดว่าจะมีใครมาทำร้าย อาจทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายผู้อื่น และอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ดื่มและครอบครัวสังเกตอาการของตนเอง และคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดที่หยุดดื่มกะทันหัน หากพบมีอาการเสี่ยงให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือเข้ารับการบำบัดรักษา ซึ่งการบำบัดรักษามี 2 รูปแบบ คือ
1. การบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก เหมาะสำหรับผู้ติดแบบไม่รุนแรงมาก
สามารถดูแลการทานยาเพื่อลดอาการถอนและควบคุมการหยุดดื่มได้
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางกาย
2. การบำบัดแบบผู้ป่วยใน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการดื่มได้ หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางกาย โดยแพทย์จะบำบัดรักษาอาการถอนพิษสุราและภาวะแทรกซ้อน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ
หากประสบปัญหาเกี่ยวกับสุรา หรือยาเสพติด สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 หรือที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง
วันที่ 14 เมษายน 2563 นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า สุรา มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อดื่มสุราเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดพิษต่อระบบต่าง ๆ โดยพิษแบบเฉียบพลัน ทำให้ขาดสติ ควบคุมตัวเองไม่ได้ และผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะหมกมุ่นกับการหาสุราดื่มตลอดเวลา ทำให้สุขภาพทรุดโทรม ในรายที่ดื่มจนติด จะเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิต มีความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม
ด้าน นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในผู้ที่มีอาการพิษสุราเรื้อรังและดื่มแบบเสี่ยงรุนแรง ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ดื่มมากกว่าตั้งแต่ 5 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไป และดื่มเทียบได้กับเบียร์ 4 กระป๋องหรือ 2 ขวดใหญ่, เหล้าแดงครึ่งแบน เมื่อหยุดดื่มอย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน มักจะพบอาการมือสั่น เหงื่อออก เป็นไข้ สับสน กระวนกระวาย นอนไม่หลับ เห็นภาพหลอน หวาดระแวงคิดว่าจะมีใครมาทำร้าย อาจทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายผู้อื่น และอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ดื่มและครอบครัวสังเกตอาการของตนเอง และคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดที่หยุดดื่มกะทันหัน หากพบมีอาการเสี่ยงให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือเข้ารับการบำบัดรักษา ซึ่งการบำบัดรักษามี 2 รูปแบบ คือ
2. การบำบัดแบบผู้ป่วยใน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการดื่มได้ หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางกาย โดยแพทย์จะบำบัดรักษาอาการถอนพิษสุราและภาวะแทรกซ้อน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพ
หากประสบปัญหาเกี่ยวกับสุรา หรือยาเสพติด สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 หรือที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง