1 มกราคม 2568 ดีเดย์บัตรทองรักษามะเร็งที่ไหนก็ได้ ด้านรามาธิบดี - ศิริราช ปรับเกณฑ์ใหม่ ถ้าอยากรักษาต้องมีเอกสารส่งตัว
มะเร็งรักษาทุกที่ Cancer Anywhere คืออะไร
โรคมะเร็งรักษาทุกที่ หรือ Cancer Anywhere คือการให้บริการรักษาโรคมะเร็งทั่วประเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง 30 บาท) โดยประชาชนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง สามารถยื่นบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด เพื่อทำการรักษาโรคมะเร็งในระบบประกันสุขภาพแห่งใดก็ได้
อย่างไรก็ตาม การรักษานั้นต้องเป็นโรงพยาบาลที่ขึ้นกับสปสช.เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จะได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยที่ท่านสามารถเช็กสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการได้ ที่นี่
ขั้นตอนในการเข้าโครงการ มีอะไรบ้าง
1. ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าเป็นโรคมะเร็ง
2. แพทย์ได้ทำการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยว่า จะให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ใด
3. พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกในการประสานส่งต่อผู้ป่วยไปรับการบริการที่หน่วยบริการที่พร้อมให้บริการรักษาโรคมะเร็ง โดยไม่ต้องใช้หนังสือส่งตัว
4. ผู้ป่วยรักษามะเร็งเข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการเฉพาะด้านโรคมะเร็ง
การรักษาโรคมะเร็งจากโครงการ ใช้ได้กับทุกคน ครอบคลุมมะเร็งทุกระยะ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องแจ้งเรื่องที่โรงพยาบาลต้นสังกัดก่อน จึงจะสามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี ที่โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ
1 . เคมีบำบัด : หน่วยบริการรับการส่งต่อทั่วไปที่มีศักยภาพในการให้เคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ การสั่งการรักษา การผสมยา และการบริหารยาเคมีบำบัดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือการให้ฮอร์โมน Tamoxifen สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
2. รังสีรักษา : หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านรังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามที่ สปสช. กำหนด
3. หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 ที่ให้การรักษาและบริการโรคมะเร็งดังนี้
3.1 การตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็งโดยครอบคลุมการประเมินระยะของมะเร็ง (Staging) ตามมาตรฐานของโรคมะเร็งแต่ละชนิด ทั้งนี้ไม่รวมการคัดกรองเบื้องต้น (Screening) หรือการศึกษาวิจัย
การรักษามะเร็ง ครอบคลุมอะไรบ้าง
การรักษาโรคมะเร็งจากโครงการ ใช้ได้กับทุกคน ครอบคลุมมะเร็งทุกระยะ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องแจ้งเรื่องที่โรงพยาบาลต้นสังกัดก่อน จึงจะสามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี ที่โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ
1 . เคมีบำบัด : หน่วยบริการรับการส่งต่อทั่วไปที่มีศักยภาพในการให้เคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ การสั่งการรักษา การผสมยา และการบริหารยาเคมีบำบัดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือการให้ฮอร์โมน Tamoxifen สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
2. รังสีรักษา : หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านรังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามที่ สปสช. กำหนด
3. หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 ที่ให้การรักษาและบริการโรคมะเร็งดังนี้
3.1 การตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็งโดยครอบคลุมการประเมินระยะของมะเร็ง (Staging) ตามมาตรฐานของโรคมะเร็งแต่ละชนิด ทั้งนี้ไม่รวมการคัดกรองเบื้องต้น (Screening) หรือการศึกษาวิจัย
3.2 การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคมะเร็ง ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา รวมถึงโรคร่วมที่พบในการรักษาโรคมะเร็งในครั้งนั้น
3.3 การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา (Follow up) ภายหลังการรักษาโรคมะเร็งและโรคร่วมที่พบในการมารับการรักษาโรคมะเร็งในครั้งนั้น
Cancer Anywhere ให้ผู้ป่วยมะเร็งสามา
Cancer Anywhere ให้ผู้ป่วยมะเร็งสามา
ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็งที่ใช้สิทธิบัตรทอง ต้องมีหนังสือส่งตัวรับรองค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยบริการต้นสังกัดตามสิทธิทุกครั้ง
ศิริราช ก็ปรับนโยบายเช่นกัน
ขณะที่โรงพยาบาลศิริราช มีการประกาศว่า ตามที่ สปสช. ประกาศเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการผู้ป่วยโรคมะเร็ง สามารถไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
ดังนั้น การมารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้สิทธิบัตรทอง ต้องมีเอกสารส่งตัวจากหน่วยบริการปฐมภูมิที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น