
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ แนะรัฐเลิกฟื้นนโยบายเก็บ 30 บาทรักษาทุกโรค ชี้ซ้ำเติมคนจน ไม่ช่วยแก้ปัญหาสถานพยาบาลขาดทุน
วานนี้ (22 กุมภาพันธ์) กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ นำโดย ภญ.อุษาวดี มาลีวงศ์ นักวิจัยอิสระ ได้แถลงข่าวเรื่อง "ทำไมจึงไม่ควรเก็บ 30 บาท" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่า จากการรวบรวมผลงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า การรื้อฟื้นนโยบายจ่าย 30 บาทรักษาทุกโรค มีเหตุผลที่ไม่เชื่อมโยงกันหลายประการ
แ
โดย ภญ.อุษาวดี ระบุว่า การที่รัฐบาลผลักภาระให้ประชาชนจ่าย 30 บาท เมื่อเข้ารับการบริการด้านสาธารณสุข เพื่อต้องการจะช่วยสถานพยาบาลที่ประสบภาวะขาดทุน ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะสาเหตุหลักที่โรงพยาบาลขาดทุน เนื่องมาจากการบริหารจัดการต้นทุนเรื่องค่าตอบแทนแพทย์และบุคลากรมีอัตราเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากจะมาเรียกเก็บเงิน 30 บาทจากผู้ป่วยเท่ากับว่าเป็นการซ้ำเติมประชาชนที่มีรายได้น้อย อีกทั้ง การเก็บเงิน 30 บาทจากผู้ถือบัตรทองจะได้เงินราว 1,900 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนเล็กน้อยมาก ไม่เท่ากับที่โรงพยาบาลขาดทุนเลย
นอกจากนี้ ภญ.อุษาวดี ยังได้เผยผลสำรวจค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยบัตรทองในกรุงเทพมหานคร จากตัวอย่างข้อมูลในปี พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการยกเลิกการจ่าย 30 บาทไปแล้ว พบว่า ผู้ป่วยมีค่าใช้จ่ายเรื่องสุขภาพลดลง และเข้าถึงการรักษามากขึ้น โดยผู้ที่มีรายได้น้อย หรือกลุ่มคนจน ใช้จ่ายเงินด้านสุขภาพเฉลี่ยคนละ 79 บาทต่อเดือน ส่วนกลุ่มคนที่มีฐานะมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเฉลี่ยคนละ 880 บาทต่อเดือน และจ่ายออกไปเป็นเงินสด 511 บาทต่อคนต่อเดือน
ด้าน นางสาวกชนุช แสงแถลง ตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 589 คน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถึงเรื่องที่รัฐบาลเตรียมจะกลับมาใช้นโยบายเก็บเงินประชาชนที่ใช้บัตรทอง 30 บาทอีกครั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.5 ไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย ร้อยละ 24.1 เห็นด้วยกับนโยบาย เพราะเชื่อว่าโรงพยาบาลจะให้บริการดีขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้ ประชาชนในกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว มีรายได้เฉลี่ย 210 บาทต่อวัน ร้อยละ 40.4 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รองลงมาคือค้าขาย และทำสวน ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 91.3 เป็นผู้ป่วยนอก ร้อยละ 55 เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

