x close

ชีวจิตชวนออกกำลังกาย Health Cuisine & Beauty Festival ครั้งที่ 8


Health  Cuisine & Beauty Festival

Health  Cuisine & Beauty Festival

Health  Cuisine & Beauty Festival

Health  Cuisine & Beauty Festival

Health  Cuisine & Beauty Festival

Health  Cuisine & Beauty Festival

Health  Cuisine & Beauty Festival

Health  Cuisine & Beauty Festival

Health  Cuisine & Beauty Festival


            ถึงเดือนกรกฏาคมทีไร ทีมงานชีวจิตใจเต้นตึกตักทุกที เพราะตื่นเต้นที่จะได้เจอคุณผู้อ่านในงาน Health Cuisine & Beauty Festival

Health  Cuisine & Beauty Festival

            ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ในวันที่ 4-8 กรกฎาคม 2555 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เรายังคงคอนเซปต์ชวนคนไทยมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายดังเช่นปีที่แล้ว แต่เพิ่มความพิเศษให้กับแฟนพันธุ์แท้ชีวจิต ด้วยการนำเสนอการออกกำลังกายที่ช่วยให้ฉลาด หุ่นดี อ่อนเยาว์ และอายุยืน ตามเจตนารมณ์ของนิตยสารที่ปรากฏบนปก

            ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย  ชีวจิตจึงไม่อยากให้ผู้อ่านพลาดโอกาสดีดีอย่างนี้ไป (ปีที่แล้ว ทีมงานแอบได้ยินผู้อ่านหลายคนบ่นเสียดาย เพราะไม่ได้เช็ควันและเวลาล่วงหน้า) จึงยกคอลัมน์ชีวจิต ให้เป็นช่องทางนำเสนอกิจกรรมในงานปีนี้ โดยเริ่มจากฉบับนี้เป็นฉบับแรก และนำเสนออย่างต่อเนื่องไปจนถึงฉบับที่ 329 (16 พฤษภาคม 2555) เพื่อให้ผู้อ่านมีเวลาเตรียมตัวและเคลียร์คิวให้ว่าง

            ฉบับแรกนี้ขอประเดิมด้วยการออกกำลังกายที่ช่วยให้ฉลาดและหุ่นดีค่ะ


สมองไบร์ทด้วยบัลเลต์

            บัลเลต์ได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสตร์การเต้นชั้นสูงที่แสดงถึงความงดงาม และความอ่อนช้อยของร่างกายมนุษย์ได้ดีที่สุดศาสตร์หนึ่ง แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าการเต้นชนิดนี้ยังเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยพัฒนาร่างกายและสมองไปในคราวเดียวกัน

            อาจารย์ดาริณี ชำนาญหมอ อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกล่าวถึงประโยชน์ของบัลเลต์ว่า

            "บัลเลต์เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีแบบแผนและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ผู้ฝึกต้องจัดระเบียบร่างกายและกล้ามเนื้อให้ถูกต้องตามหลัก เมื่อฝึกเป็นเวลานานร่างกายจะสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมา นักบัลเลต์จึงมีกล้ามเนื้อที่สวยงาม และมีความยืดหยุ่นสูง"

            นอกจากเสริมสร้างสุขภาพกายแล้ว การเต้นบัลเลต์ยังพัฒนาความสามารถของสมองด้วย

            "บัลเลต์ถือเป็นการเต้นที่ช่วยพัฒนาสมองของผู้ฝึกมาก ทั้งทางด้านความจำและสมาธิ เนื่องจากเป็นการเต้นที่มีท่าทางตายตัว ผู้ฝึกจึงจำเป็นต้องจดจำท่าทางให้ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมีสมาธิ และมีสติรับรู้ว่าจัดระเบียบร่างกายถูกต้องหรือไม่ ส่งผลให้มีสมาธิดี เมื่อสมาธิดีก็ย่อมทำให้เรียนรู้ได้ไว และจดจำสิ่งรอบตัวได้มากขึ้น"

            "นอกจากนี้ ขณะฝึกบัลเลต์ยังได้ฟังเพลงคลาสสิค ซึ่งมีผลงานวิจัยออกมาว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและเพิ่มไอคิวได้"

            อาจารย์ดาริณียังกล่าวทิ้งท้ายว่า บัลเลต์เป็นการเต้นที่สามารถฝึกได้ทุกช่วงวัย ไม่จำกัดเฉพาะเด็กเท่านั้น เพียงแต่อาจใช้เวลาในการพัฒนาที่ต่างกัน

            ไม่ว่ารุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ก็สามารถฝึกบัลเลต์ได้ หากอยากมีสุขภาพกายที่แข็งแรงและสมองที่ฉับไวค่ะ

Tips ฝึกบัลเลต์อย่างไรให้ได้ผลในวัยผู้ใหญ่

มีความเชื่อว่าตนเองสามารถทำได้
ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ
หมั่นฝึกฝนเป็นประจำ
มีความอดทน


หุ่นดีทันใจด้วยไทยปราณ

            ในยุคที่ผู้หญิงต่างวิ่งหาตัวช่วยในการลดน้ำหนัก ใครจะเชื่อว่าการออกกำลังกายแบบไทยจะทำให้หุ่นเพรียวสมใจได้ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน

            ไทยปราณคือ การออกกำลังกายที่คิดค้นขึ้นโดย คุณมานพ ประภาษานนท์ นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยนำภูมิปัญญาการออกกำลังกายตะวันออกผสมผสานกับแนวคิดหลักของแพทย์แผนไทย ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์มีพลังร่างกายอยู่ภายในหรือที่เรียกว่าพลังปราณ ถ้ามีมากร่างกายก็สมบูรณ์ หากมีน้อยร่างกายจะเจ็บป่วยได้ง่าย

            คุณขนิษฐา ปานรักษา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมุทรสาครเห็นว่าการออกกำลังกายประเภทนี้มีประโยชน์ จึงศึกษาและนำมาเผยแพร่ให้แก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล

            "ไทยปราณเป็นการออกกำลังกายประเภทยืดเหยียดกล้ามเนื้อ มีท่าทางทั้งหมดสามสิบสองท่าแต่ละท่าคล้ายการบริหารร่างกาย แต่แตกต่างตรงที่ผสมผสานท่าทางของโยคะ ฤาษีดัดตน และชี่กง สามารถฝึกได้ทุกที่ ทุกเวลา"

            "ทางโรงพยาบาลจึงนำไปสอนผู้ป่วย พบว่าได้ผลดีในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพราะการเคลื่อนไหวแบบไทยปราณเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้าอย่างต่อเนื่อง จึงใช้พลังงานมาก ทำให้เกืดการเผาผลาญไขมันและช่วยให้เลือดลมสูบฉีดดี หลังออกกำลังกายจะรู้สึกได้ทันทีว่าร่างกายเบา สบาย กล้ามเนื้อกระชับ เมื่อทำต่อเนื่องน้ำหนักจะลดลงและรูปร่างดีขึ้น"

            อยากหุ่นดีด้วยวิถีไทย มาฝึกไทยปราณด้วยกันให้ได้นะคะ

Tips ฝึกไทยปราณอย่างง่าย

เคลื่อนไหวช้า ๆ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อบาดเจ็บ
มีสมาธิอยู่กับลมหายใจและการเคลื่อนไหวตลอดการฝึก
ไม่ฝืนร่างกายจนเกินไป ควรทำเท่าที่ทำได้ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ


เต้นโขนป้องกันมะเร็ง

            ใครเลยจะคิดว่าศิลปะชั้นสูง ที่มีท่วงท่าลีลาอ่อนช้อยอย่างโขน จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพไม่ต่างจากจากการออกกำลังกายประเภทแอโรบิก

            อาจารย์วีระศิลป์ ช้างขนุน หัวหน้าหมวดวิชานาฏศิลป์โขน ภาควิชานาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ อธิบายว่า

            "ผู้เล่นโขนจำเป็นต้องมีร่างกายแข็งแรง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแสดงจริงซึ่งต้องใส่หัวโขน และสวมชุดโขนที่หนักสี่ถึงห้ากิโลกรัมหลายชั่วโมง ด้วยเหตุนี้จึงต้องฝึกฝนอย่างหนัก ซึ่งการฝึกโขนนั้น ไม่ต่างจากการออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เพราะได้ออกแรงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน"

            "ทุกครั้งที่ฝึกโขน นักเรียนทุกคนจะเหงื่อไหลโซมกาย เพราะต้องใช้พละกำลังและความอดทน ไม่ต่างจากการเล่นกีฬาในวิชาพละศึกษาเลยทีเดียว"

            ทว่า โขนมีความพิเศษกว่าการออกกำลังกายทั่วไป ตรงที่ผสมผสานศิลปะและวัฒนธรรมเข้าด้วย กัน จนเกิดเป็นสุนทรียภาพ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างไม่น่าเชื่อ

            "โขนเปรียบได้ดั่งการออกกำลังกาย ที่มีสุนทรียภาพไม่เหมือนใคร เพราะมีดนตรี จังหวะ และความสวยงามเข้ามาประกอบ ส่งผลให้จิตใจผ่อนคลาย นอกจากนี้การเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลงช้า-เร็ว ยังช่วยลดความเจ็บปวดจากการฝึกท่ายาก เช่น การถีบเหลี่ยม"

            จิตใจที่ผ่อนคลายจากการเต้นโขนไม่เพียงลดความตึงเครียดและความเจ็บปวดได้เท่านั้น ทว่า ยังลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งด้วย เพราะมีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันว่า ความเครียดจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และยังทำให้โรคร้ายลุกลามมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ผลการศึกษาเรื่องหนึ่งพบว่า หนูที่มีสารก่อมะเร็ง เมื่อถูกกดดันจนเกิดความเครียดจะมีอัตราการลุกลามของมะเร็งเร็วกว่าหนูที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นให้เกิดความเครียด

            นอกจากนี้ นักวิจัยชาวอเมริกันจากศูนย์มะเร็งพิตต์สเบิร์ก สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รู้สึกเครียดและท้อแท้ เนื่องจากไม่ได้รับกำลังใจจากครอบครัว เซลล์มะเร็งจะลุกลามมากกว่าผู้ป่วยโรคเดียวกัน

            ดังนั้น หากมีความเครียดเมื่อไหร่ การเต้นโขนเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยสร้างความผ่อนคลาย สลายเครียด เพื่อป้องกันโรคมะเร็ง

            สามารถไปร่วมออกกำลังกาย ร่วมชม และภาคภูมิใจในศิลปะไทยมากประโยชน์กันได้ที่บูธชีวจิตค่ะ

กิจกรรมในงาน Health Cuisine & Beauty Festival ครั้งที่ 8 ยังไม่หมดเท่านี้ อยากรู้ว่ามีทีเด็ดอะไรอีก อดใจรออีก 16 วันค่ะ
   

Tips เสริมสร้างกล้ามเนื้อขาแบบคนโขน

            เคล็ดลับกายบริหารแบบฉบับคนโขน ที่ทำให้สามารถทำการแสดงได้นานนับชั่วโมง คือการเต้นเสา ซึ่งอาจารย์วีระศิลป์กล่าวว่าคนทั่วไปสามารถนำมาประยุกต์เป็นการออกกำลังกาย เพื่อฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และช่วยให้ระบบการหายใจทำงานดีขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย

การเต้นเสาทำได้ดังนี้

1. ยืนหันหน้าเข้าหาเสา ทิ้งระยะห่างประมาณหนึ่งช่วงแขน

2. แยกเท้าออกจากกันเล็กน้อยโดยหันปลายเท้าทั้งสองข้างออกนอกตัว ย่อเข่าลงเล็กน้อย

3. ทาบฝ่ามือทั้งสองกับเสา โดยให้แขนเหยียดตรงขนานพื้น

4. กระทืบเท้าซ้าย-ขวาสลับกัน เป็นจังหวะสม่ำเสมอ หรือเต้นตามจังหวะเพลงที่ชอบก็ได้
เต้นต่อเนื่องครั้งละ 3 นาที นับเป็น 1 เซต ทำ 2-3 เซต


Stretching ป้องกันโรค ลดเบาหวาน

            ใครเลยจะเชื่อว่า เพียงยืดเหยียดร่างกายด้วยจังหวะที่ต่อเนื่อง โดยมีลมหายใจเป็นตัวกำกับ จะสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด และสลายโรคเรื้อรังได้

            คุณชลาลัย โชคดีศรีจันทร์ แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวถึงหลักการยืดเหยียดร่างกายว่า

            "การออกกำลังกายประเภทนี้คิดค้นขึ้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยนำหลักการ การยืดเหยียดร่างกายที่ทุกคนคุ้นเคยคือ การยืด เหยียด และเคลื่อนไหวอวัยวะ เช่น แขน ขา ลำตัว อย่างช้า ๆ แต่ต่อเนื่อง พร้อมทั้งประสานลมหายใจเข้ากับการฝึก"

            "เมื่อฝึกเป็นประจำจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และยืดหยุ่น อีกทั้งระบบหายใจดีขึ้น เพราะปอดได้รับออกซิเจนเต็มที่จากการสูดลมหายใจลึก และสม่ำเสมอ"

            นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยตรง เพราะช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญให้แก่ร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ดังผลการวิจัยในผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลองครักษ์ ปี พ.ศ.2549 โดยวัดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนกินข้าว หลังกินข้าว และหลังบริหารร่างกายโดยการยืดเหยียดเป็นเวลาสี่สิบห้านาที พบว่า ระดับค่าน้ำตาลในเลือดหลังยืดเหยียดร่างกายลดลงเทียบเท่ากับก่อนกินข้าว ในบางคนระดับน้ำตาลลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

            การยืดเหยียดร่างกายด้วยวิธีนี้ส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ติดเชื้อเอชไอวี เมื่อประกอบกับการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น เพียงยืดเหยียดก็สลายโรค ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ประโยชน์มากขนาดนี้ เห็นทีต้องจูงมือคนรักมาออกกำลังกายพร้อม ๆ กันซะแล้ว

Tips Stretching ลดเบาหวาน

            ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือผู้ที่มีไขมันหน้าท้องมาก สามารถฝึกยืดเหยียดด้วยท่าต่อไปนี้

ท่าเตรียม นั่งบนพื้นราบ หลังตรง เหยียดขาตรง เท้าชิด คว่ำฝ่ามือบนต้นขาทั้งสองข้าง

            1. เริ่มจากท่าเตรียม หลับตา สูดลมหายใจพร้อมนับ 1-5  เมื่อหายใจเข้าจนสุด กลั้นหายใจนับ 1-3 เป่าลมหายใจออกทางปาก นับ 1-5 นับเป็นหนึ่งเซ็ท ทำซ้ำ 3 เซ็ท

            2. กลับสู่ท่าเตรียม หายใจเข้าลึก ๆ ช้า กลั้นลมหายใจไว้พร้อมกับโน้มตัวลง ยื่นฝ่ามือทั้งสองข้างไปด้านหน้าให้มากที่สุด หายใจออกช้า ๆ แล้วค่อย ๆ ยกลำตัวขึ้น ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แล้วเอนตัวไปด้านหลังให้มากที่สุด  ค้างไว้สักครู่ นับเป็น 1 เซ็ท ทำซ้ำ 30 เซ็ท




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก







เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ชีวจิตชวนออกกำลังกาย Health Cuisine & Beauty Festival ครั้งที่ 8 อัปเดตล่าสุด 27 มิถุนายน 2555 เวลา 13:52:09 1,313 อ่าน
TOP