ใครไม่เคยเป็น "เล็บขบ" ไม่รู้หรอกว่ามันทรมานขนาดไหน จะย่างกรายไปทางไหนก็แสนจะเจ็บปวด ยิ่งหนองแตกยิ่งปวดหนักเป็นสองเท่า บางคนเป็นหนัก ๆ ถึงกับต้องถอดเล็บ โอ้ย...แค่คิดก็ทรมานแล้ว ใครที่เป็นเล็บขบอยู่ต้องหาวิธีรักษาแล้วล่ะค่ะ ส่วนใครที่ไม่อยากเป็นเล็บขบ ต้องอ่าน !
เล็บขบ อาการร้ายแรงขนาดไหน
ในคนที่เพิ่งเป็น "เล็บขบ" ก็อาจมีอาการแค่บวมแดงบริเวณซอกเล็บ ถ้าไปสัมผัสถูกจะรู้สึกเจ็บ แต่หากติดเชื้อมากขึ้น จะรู้สึกปวดแม้ไม่ได้สัมผัส และมีหนองไหลออกมาจากขอบเล็บ บางคนปวดทรมานจนไข้ขึ้น ใส่รองเท้าเดินไม่ได้ ซึ่งถ้าเป็นถึงขั้นนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาก่อนจะติดเชื้อมากกว่านี้
อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคเอดส์ หรือเส้นเลือดไปเลี้ยงที่เท้าตีบ หากเป็นเล็บขบ แนะนำให้ไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ เลยค่ะ แม้อาการจะยังไม่มาก เพราะโรคที่คุณเป็นอยู่อาจทำให้เล็บขบมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่แผลจะหายช้า บางรายอาจมีอาการติดเชื้อจนลึกไปถึงกระดูกได้เลย
เล็บขบทำอย่างไรดี
แน่นอนว่า "เล็บขบ" จะทำให้คุณรู้สึกปวดเล็บเป็นอย่างมาก แม้จะกินยาแก้ปวดก็บรรเทาได้เพียงชั่วครู่เท่านั้น จึงต้องทำการรักษา ซึ่งก็มีทั้งการรักษาด้วยตัวเองแบบวิธีง่าย ๆ ในรายที่เป็นไม่มาก แต่ในรายที่เป็นมากก็คงต้องไปพบแพทย์
ก่อนอื่นมาดูกันว่า วิธีง่าย ๆ ในการรักษาเล็บขบด้วยตัวเองกันก่อน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังมีอาการไม่มาก เพียงแค่ปวดบวมแดงเล็กน้อย และยังไม่มีหนอง ทำได้โดย
1. แช่เท้าในน้ำอุ่น หรือน้ำเกลืออุ่น ๆ สัก 10 นาที เพื่อบรรเทาอาการปวด
2. ตัดเล็บส่วนเกินที่ไม่เจ็บออก เพื่อไม่ให้มีเศษผง หรืออะไรสกปรกค้างอยู่ เพราะเศษสกปรกนี้จะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อรุนแรงขึ้น
3. ใช้แอลกอฮอล์ 70% เช็ดเล็บให้สะอาด
4. หาวัสดุอะไรสักอย่างที่เล็ก ๆ บาง ๆ แข็ง ๆ พอสมควร เช่น เส้นด้าย ไม้จิ้มฟันก้านบาง ๆ หรือไหมขัดฟัน สอดเข้าไปใต้เล็บ งัดเอาเล็บขึ้นมา ตรงนี้อาจจะรู้สึกปวดบ้าง ให้ทำอย่างเบามือที่สุด
5. เอาสำลีสอดลงไปบริเวณที่เล็บมันจิกขบอยู่ จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ แล้วกินยาปฏิชีวนะ ประเภทเตตร้าซัยคลิน หรือแอมพิซิลลิน และก็กินยาแก้ปวดพวกพาราเซตามอล จะบรรเทาอาการเจ็บปวดและการอักเสบจากการติดเชื้อลงได้มาก
คนไข้ที่ใช้วิธีนี้รักษาเล็บขบยังสามารถอาบน้ำล้างเท้าได้ตามปกติ และควรจะถูสบู่ที่ซอกเท้า ซอกเล็บ วันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดเชื้อโรคออกไปด้วย หลังอาบน้ำเสร็จควรใช้แอลกอฮอล์ 70% เช็ดเล็บให้สะอาด แล้วใช้ผ้าพันไว้ เพื่อจะได้ไม่โดนอะไรสกปรกอีก และที่สำคัญต้องเลิกใส่รองเท้าบีบ และตัดเล็บให้ถูกต้องด้วยค่ะ
สมุนไพรแก้เล็บขบ
นอกจากนี้ ยังมีวิธีการบรรเทาอาการเล็บขบด้วยการใช้สมุนไพรไทยด้วย มาดูกันว่า วิธีรักษาเล็บขบด้วยสมุนไพรไทย มีสูตรไหนบ้าง
สูตรที่ 1 ใช้ใบพลู หรือใบฝรั่งประมาณ 3-5 ใบ นำมาตำรวมกับเกลือประมาณ 1 หยิบมือและพอกไว้บริเวณที่เล็บขบ ใช้ผ้าพันเพื่อปิดแผลไว้ ควรพอกอย่างต่อเนื่องประมาณ 5-7 วัน อาการช้ำและเล็บขบจะค่อย ๆ ทุเลาลงจนหายดี และเพื่อความสะอาดควรเปลี่ยนผ้าพันทุกวัน วันละสองเวลาเช้าและเย็น
สูตรที่ 2 โขลกใบฝรั่งสด 2 ใบ เกลือ 1/2 ช้อนชา ข้าวสุก 2 ช้อนโต๊ะ ให้เข้ากัน นำมาพอกตรงหนองบริเวณที่เล็บขบจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
สูตรที่ 3 ตำไพล 1 แง่ง (ยาวประมาณ 2 นิ้ว) เกลือตัวผู้ (เกลือที่เป็นเม็ดยาว ๆ) 7 เม็ด ข้าวสุก 1 กำมือให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็นแผล ภายใน 20 นาที จะทำให้หนองแตกออกมาและหายปวดได้
สูตรที่ 4 ฝานมะนาวตรงส่วนหัวออกให้พอสอดนิ้วเข้าไปได้ ใช้มีดคว้านเอาเนื้อในออกเล็กน้อย ทาปูนแดงบาง ๆ บริเวณที่เล็บขบ แล้วสอดนิ้วที่เป็นเล็บขบเข้าไปด้านในของมะนาว ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ทำวันละ 2-3 ครั้ง เช้า-เย็น อาการจะทุเลาขึ้น
วิธีรักษาเล็บขบ เป็นหนอง แบบนี้ต้องหาหมอแล้วล่ะ
การรักษาเล็บขบด้วยตัวเองที่กล่าวมาข้างต้นสามารถบรรเทาอาการได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่หากต้องการให้เล็บขบหายขาด หรือในรายที่เป็นมาก ๆ เช่น นิ้วบวมมาก มีหนองไหล เกิดการติดเชื้อ ก็ต้องไปพบแพทย์แล้วล่ะค่ะ ซึ่งแพทย์ก็จะให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียแบบทา หรือแบบรับประทานมาให้ แต่ถ้าใครเป็นหนัก คือ นิ้วโป้งบวมแดงมาก ปวดมาก หนองไหลมาก หรือมีก้อนเนื้อบริเวณข้างเล็บหนาตัวขึ้น แพทย์ก็จะช่วยถอดเล็บให้
"ถอดเล็บ" ฟังดูแล้วน่ากลัวใช่ไหมคะ แต่จริง ๆ แพทย์จะถอดเล็บเฉพาะส่วนด้านข้างที่ขบเท่านั้น โดยจะฉีดยาชาให้ก่อน เพื่อที่คนไข้จะได้ไม่รู้สึกเจ็บ จากนั้นก็ใช้กรรไกรตัดเล็บเข้าไปในแนวยาว แต่ไม่ถึงโคนเล็บ และคีมคีบเล็บส่วนที่ขบออกมา หรือหากมีหนอง แพทย์ก็จะเอาหนองออกมาด้วย แล้วทำความสะอาดให้ พร้อมกับจ่ายยาปฏิชีวนะให้ทาน เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว แต่พอหมดฤทธิ์ยาชาแล้วอาจจะรู้สึกปวดนิดหน่อย แต่รับรองว่าไม่เจ็บปวดเท่าตอนที่ถูกเล็บขบกดลงไปในเนื้อแน่ ๆ ค่ะ
อย่างไรก็ตาม หลังจากถอดเล็บแล้ว คนไข้ต้องพันแผลเอาไว้ และทายาฆ่าเชื้อจนแผลหายสนิท ทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง และพยายามอย่าให้แผลเปียก ซึ่งปกติแผลจะหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์
ป้องกันเล็บขบ ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
ใครที่รักษาเล็บขบหายแล้วก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีกครั้ง ส่วนใครที่ไม่เคยเป็นเล็บขบ ถ้าไม่อยากสัมผัสประสบการณ์ปวดเล็บอันแสนทรมาน มาดูวิธีป้องกันเล็บขบกันเลย
1. ตัดเล็บให้เป็นแนวตรง อย่าตัดติดเนื้อ หรือขอบข้างของเล็บออกจนสั้นกว่าตรงกลาง แล้วใช้ตะไบถูขอบเล็บให้หายคม โดยก่อนตัดเล็บอาจแช่เท้าในน้ำสักครู่ เพื่อให้เล็บอ่อนตัว จะช่วยให้ตัดเล็บง่ายขึ้น
2. เลือกใส่ถุงเท้ารองเท้าที่พอดีกับเท้า ไม่คับเกินไป หัวรองเท้าไม่บีบนิ้วเท้าจนเกินไป และหากต้องใส่รองเท้าส้นสูงก็ไม่ควรเลือกรองเท้าที่สูงเกินไป
3. รักษาความสะอาดของเท้าอยู่เสมอ ถูสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันเชื้อโรค แล้วเช็ดนิ้วเท้าให้แห้ง จะช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคในซอกเล็บได้
4. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้เล็บไปชนกระแทก หรือเกิดการเสียดสีจนเล็บฉีกขาดได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ
เล็บขบเกิดจากอะไร
ใคร ๆ ก็รู้ใช่ไหมว่า "เล็บ" มีหน้าที่ป้องกันอันตรายให้นิ้ว และส่วนนี้จะไม่มีเส้นประสาทอยู่ ทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเกิดโรคขึ้นกับเล็บ แต่ถ้าเกิดโรคนั้นกินเข้าไปถึงผิวหนังแล้วล่ะก็ "เล็บ" ก็สร้างความปวดร้าวให้เจ้าของเล็บสุด ๆ เลยล่ะ โดยเฉพาะ "เล็บขบ" (Unguis Incarnatus) โรคเล็บที่เกิดขึ้นได้บ่อยมาก ๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด "เล็บขบ" ได้ก็คือ
1. การใส่รองเท้าที่บีบมากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อที่อยู่ด้านข้างของเล็บถูกบีบเข้ามา เล็บก็เลยไปกดเนื้อด้านข้าง เมื่อเล็บงอกมันก็จะงอกลึกลงไปในเนื้อ ทำให้รู้สึกเจ็บปวด นอกจากนี้ การใส่รองเท้าส้นสูงเกินไป ปลายเท้าแหลมเกินไป ก็ทำให้เท้าถูกบีบจนเล็บงอกตามปกติไม่ได้ ต้องกินเข้าไปในเนื้อ
2. การตัดเล็บไม่ถูกวิธี หลายคนตัดเล็บด้านข้างเป็นมุมแหลมชิดเนื้อ หรือลึกเกินไปนั่นเอง ทำให้เล็บงอกใหม่ไปทิ่มที่ซอกเล็บ จนเกิดแผลและมีอาการปวดตามมา หรือบางคนชอบแต่งเล็บให้โค้งเข้าในซอกเล็บมากเกินไป และชอบแคะ ขูด งัดซอกเล็บบ่อย ๆ
3. การติดเชื้อราที่เล็บ
4. อุบัติเหตุ เช่น ปลายนิ้วเท้าชอบไปชนอะไรบ่อย ๆ ทำให้เล็บฉีกขาดแทงเข้าไปในซอกเล็บได้ หรือการเล่นกีฬา เช่น เทนนิส แบดมินตัน ฟุตบอล บาสเกตบอล ซึ่งทำให้กระดูกนิ้วทำงานหนัก
5. การมีเล็บเท้าที่กว้างกว่าปกติ หรือเกิดจากการที่นิ้วเท้ามาซ้อนเกย หรือเบียดกัน
ใคร ๆ ก็รู้ใช่ไหมว่า "เล็บ" มีหน้าที่ป้องกันอันตรายให้นิ้ว และส่วนนี้จะไม่มีเส้นประสาทอยู่ ทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเกิดโรคขึ้นกับเล็บ แต่ถ้าเกิดโรคนั้นกินเข้าไปถึงผิวหนังแล้วล่ะก็ "เล็บ" ก็สร้างความปวดร้าวให้เจ้าของเล็บสุด ๆ เลยล่ะ โดยเฉพาะ "เล็บขบ" (Unguis Incarnatus) โรคเล็บที่เกิดขึ้นได้บ่อยมาก ๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด "เล็บขบ" ได้ก็คือ
1. การใส่รองเท้าที่บีบมากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อที่อยู่ด้านข้างของเล็บถูกบีบเข้ามา เล็บก็เลยไปกดเนื้อด้านข้าง เมื่อเล็บงอกมันก็จะงอกลึกลงไปในเนื้อ ทำให้รู้สึกเจ็บปวด นอกจากนี้ การใส่รองเท้าส้นสูงเกินไป ปลายเท้าแหลมเกินไป ก็ทำให้เท้าถูกบีบจนเล็บงอกตามปกติไม่ได้ ต้องกินเข้าไปในเนื้อ
2. การตัดเล็บไม่ถูกวิธี หลายคนตัดเล็บด้านข้างเป็นมุมแหลมชิดเนื้อ หรือลึกเกินไปนั่นเอง ทำให้เล็บงอกใหม่ไปทิ่มที่ซอกเล็บ จนเกิดแผลและมีอาการปวดตามมา หรือบางคนชอบแต่งเล็บให้โค้งเข้าในซอกเล็บมากเกินไป และชอบแคะ ขูด งัดซอกเล็บบ่อย ๆ
3. การติดเชื้อราที่เล็บ
4. อุบัติเหตุ เช่น ปลายนิ้วเท้าชอบไปชนอะไรบ่อย ๆ ทำให้เล็บฉีกขาดแทงเข้าไปในซอกเล็บได้ หรือการเล่นกีฬา เช่น เทนนิส แบดมินตัน ฟุตบอล บาสเกตบอล ซึ่งทำให้กระดูกนิ้วทำงานหนัก
5. การมีเล็บเท้าที่กว้างกว่าปกติ หรือเกิดจากการที่นิ้วเท้ามาซ้อนเกย หรือเบียดกัน
เล็บขบ อาการร้ายแรงขนาดไหน
ในคนที่เพิ่งเป็น "เล็บขบ" ก็อาจมีอาการแค่บวมแดงบริเวณซอกเล็บ ถ้าไปสัมผัสถูกจะรู้สึกเจ็บ แต่หากติดเชื้อมากขึ้น จะรู้สึกปวดแม้ไม่ได้สัมผัส และมีหนองไหลออกมาจากขอบเล็บ บางคนปวดทรมานจนไข้ขึ้น ใส่รองเท้าเดินไม่ได้ ซึ่งถ้าเป็นถึงขั้นนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาก่อนจะติดเชื้อมากกว่านี้
อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคเอดส์ หรือเส้นเลือดไปเลี้ยงที่เท้าตีบ หากเป็นเล็บขบ แนะนำให้ไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ เลยค่ะ แม้อาการจะยังไม่มาก เพราะโรคที่คุณเป็นอยู่อาจทำให้เล็บขบมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่แผลจะหายช้า บางรายอาจมีอาการติดเชื้อจนลึกไปถึงกระดูกได้เลย
เล็บขบทำอย่างไรดี
แน่นอนว่า "เล็บขบ" จะทำให้คุณรู้สึกปวดเล็บเป็นอย่างมาก แม้จะกินยาแก้ปวดก็บรรเทาได้เพียงชั่วครู่เท่านั้น จึงต้องทำการรักษา ซึ่งก็มีทั้งการรักษาด้วยตัวเองแบบวิธีง่าย ๆ ในรายที่เป็นไม่มาก แต่ในรายที่เป็นมากก็คงต้องไปพบแพทย์
ก่อนอื่นมาดูกันว่า วิธีง่าย ๆ ในการรักษาเล็บขบด้วยตัวเองกันก่อน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังมีอาการไม่มาก เพียงแค่ปวดบวมแดงเล็กน้อย และยังไม่มีหนอง ทำได้โดย
1. แช่เท้าในน้ำอุ่น หรือน้ำเกลืออุ่น ๆ สัก 10 นาที เพื่อบรรเทาอาการปวด
2. ตัดเล็บส่วนเกินที่ไม่เจ็บออก เพื่อไม่ให้มีเศษผง หรืออะไรสกปรกค้างอยู่ เพราะเศษสกปรกนี้จะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อรุนแรงขึ้น
3. ใช้แอลกอฮอล์ 70% เช็ดเล็บให้สะอาด
4. หาวัสดุอะไรสักอย่างที่เล็ก ๆ บาง ๆ แข็ง ๆ พอสมควร เช่น เส้นด้าย ไม้จิ้มฟันก้านบาง ๆ หรือไหมขัดฟัน สอดเข้าไปใต้เล็บ งัดเอาเล็บขึ้นมา ตรงนี้อาจจะรู้สึกปวดบ้าง ให้ทำอย่างเบามือที่สุด
5. เอาสำลีสอดลงไปบริเวณที่เล็บมันจิกขบอยู่ จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ แล้วกินยาปฏิชีวนะ ประเภทเตตร้าซัยคลิน หรือแอมพิซิลลิน และก็กินยาแก้ปวดพวกพาราเซตามอล จะบรรเทาอาการเจ็บปวดและการอักเสบจากการติดเชื้อลงได้มาก
คนไข้ที่ใช้วิธีนี้รักษาเล็บขบยังสามารถอาบน้ำล้างเท้าได้ตามปกติ และควรจะถูสบู่ที่ซอกเท้า ซอกเล็บ วันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดเชื้อโรคออกไปด้วย หลังอาบน้ำเสร็จควรใช้แอลกอฮอล์ 70% เช็ดเล็บให้สะอาด แล้วใช้ผ้าพันไว้ เพื่อจะได้ไม่โดนอะไรสกปรกอีก และที่สำคัญต้องเลิกใส่รองเท้าบีบ และตัดเล็บให้ถูกต้องด้วยค่ะ
สมุนไพรแก้เล็บขบ
นอกจากนี้ ยังมีวิธีการบรรเทาอาการเล็บขบด้วยการใช้สมุนไพรไทยด้วย มาดูกันว่า วิธีรักษาเล็บขบด้วยสมุนไพรไทย มีสูตรไหนบ้าง
สูตรที่ 1 ใช้ใบพลู หรือใบฝรั่งประมาณ 3-5 ใบ นำมาตำรวมกับเกลือประมาณ 1 หยิบมือและพอกไว้บริเวณที่เล็บขบ ใช้ผ้าพันเพื่อปิดแผลไว้ ควรพอกอย่างต่อเนื่องประมาณ 5-7 วัน อาการช้ำและเล็บขบจะค่อย ๆ ทุเลาลงจนหายดี และเพื่อความสะอาดควรเปลี่ยนผ้าพันทุกวัน วันละสองเวลาเช้าและเย็น
สูตรที่ 2 โขลกใบฝรั่งสด 2 ใบ เกลือ 1/2 ช้อนชา ข้าวสุก 2 ช้อนโต๊ะ ให้เข้ากัน นำมาพอกตรงหนองบริเวณที่เล็บขบจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
สูตรที่ 3 ตำไพล 1 แง่ง (ยาวประมาณ 2 นิ้ว) เกลือตัวผู้ (เกลือที่เป็นเม็ดยาว ๆ) 7 เม็ด ข้าวสุก 1 กำมือให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็นแผล ภายใน 20 นาที จะทำให้หนองแตกออกมาและหายปวดได้
สูตรที่ 4 ฝานมะนาวตรงส่วนหัวออกให้พอสอดนิ้วเข้าไปได้ ใช้มีดคว้านเอาเนื้อในออกเล็กน้อย ทาปูนแดงบาง ๆ บริเวณที่เล็บขบ แล้วสอดนิ้วที่เป็นเล็บขบเข้าไปด้านในของมะนาว ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ทำวันละ 2-3 ครั้ง เช้า-เย็น อาการจะทุเลาขึ้น
วิธีรักษาเล็บขบ เป็นหนอง แบบนี้ต้องหาหมอแล้วล่ะ
การรักษาเล็บขบด้วยตัวเองที่กล่าวมาข้างต้นสามารถบรรเทาอาการได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่หากต้องการให้เล็บขบหายขาด หรือในรายที่เป็นมาก ๆ เช่น นิ้วบวมมาก มีหนองไหล เกิดการติดเชื้อ ก็ต้องไปพบแพทย์แล้วล่ะค่ะ ซึ่งแพทย์ก็จะให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียแบบทา หรือแบบรับประทานมาให้ แต่ถ้าใครเป็นหนัก คือ นิ้วโป้งบวมแดงมาก ปวดมาก หนองไหลมาก หรือมีก้อนเนื้อบริเวณข้างเล็บหนาตัวขึ้น แพทย์ก็จะช่วยถอดเล็บให้
"ถอดเล็บ" ฟังดูแล้วน่ากลัวใช่ไหมคะ แต่จริง ๆ แพทย์จะถอดเล็บเฉพาะส่วนด้านข้างที่ขบเท่านั้น โดยจะฉีดยาชาให้ก่อน เพื่อที่คนไข้จะได้ไม่รู้สึกเจ็บ จากนั้นก็ใช้กรรไกรตัดเล็บเข้าไปในแนวยาว แต่ไม่ถึงโคนเล็บ และคีมคีบเล็บส่วนที่ขบออกมา หรือหากมีหนอง แพทย์ก็จะเอาหนองออกมาด้วย แล้วทำความสะอาดให้ พร้อมกับจ่ายยาปฏิชีวนะให้ทาน เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว แต่พอหมดฤทธิ์ยาชาแล้วอาจจะรู้สึกปวดนิดหน่อย แต่รับรองว่าไม่เจ็บปวดเท่าตอนที่ถูกเล็บขบกดลงไปในเนื้อแน่ ๆ ค่ะ
อย่างไรก็ตาม หลังจากถอดเล็บแล้ว คนไข้ต้องพันแผลเอาไว้ และทายาฆ่าเชื้อจนแผลหายสนิท ทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง และพยายามอย่าให้แผลเปียก ซึ่งปกติแผลจะหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์
ป้องกันเล็บขบ ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
ใครที่รักษาเล็บขบหายแล้วก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีกครั้ง ส่วนใครที่ไม่เคยเป็นเล็บขบ ถ้าไม่อยากสัมผัสประสบการณ์ปวดเล็บอันแสนทรมาน มาดูวิธีป้องกันเล็บขบกันเลย
1. ตัดเล็บให้เป็นแนวตรง อย่าตัดติดเนื้อ หรือขอบข้างของเล็บออกจนสั้นกว่าตรงกลาง แล้วใช้ตะไบถูขอบเล็บให้หายคม โดยก่อนตัดเล็บอาจแช่เท้าในน้ำสักครู่ เพื่อให้เล็บอ่อนตัว จะช่วยให้ตัดเล็บง่ายขึ้น
2. เลือกใส่ถุงเท้ารองเท้าที่พอดีกับเท้า ไม่คับเกินไป หัวรองเท้าไม่บีบนิ้วเท้าจนเกินไป และหากต้องใส่รองเท้าส้นสูงก็ไม่ควรเลือกรองเท้าที่สูงเกินไป
3. รักษาความสะอาดของเท้าอยู่เสมอ ถูสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันเชื้อโรค แล้วเช็ดนิ้วเท้าให้แห้ง จะช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคในซอกเล็บได้
4. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้เล็บไปชนกระแทก หรือเกิดการเสียดสีจนเล็บฉีกขาดได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ