มะม่วงหาวมะนาวโห่ สรรพคุณ 2 สมุนไพรเด่น มีฤทธิ์รักษาโรค บำรุงร่างกาย ผู้รักสุขภาพไม่ควรพลาด พร้อมวิธีปลูกมะม่วงหาว มะนาวโห่
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับมะม่วงหาว
ชื่อ : มะม่วงหิมพานต์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale Linn.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ชื่อเรียกอื่น : ยาโงย ยาร่วง มะม่วงไม่รู้หาว มะม่วงกุลา มะม่วงกะสอ มะม่วงลังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงเล็ดล่อ และมะม่วงหยอด
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ออกสลับกันเป็นรูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบมนป้าน กว้าง 7.5-10 เซนติเมตร ยาว 7.5-20 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อหลวม ๆ สีแดงอมม่วงหรือสีครีม กลิ่นหอมเอียน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 8-10 อัน มีหนึ่งอันที่ยาวกว่าอันอื่น
ผลมีลักษณะเด่น คือ เมื่อแก่ฐานรองดอกจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นลักษณะคล้ายผลชมพู่ ยาว 6-7 เซนติเมตร สีเหลืองอมชมพู เมื่อแก่จัดจะมีสีแดงและมีกลิ่นหอม เมล็ดมี 1 เมล็ด ติดอยู่ที่ส่วนปลายรูปไต ยาว 2.5-3 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา มีเปลือกแข็งหุ้ม
การกระจายพันธุ์ : เป็นไม้ที่ปลูกกันมากทางภาคใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปลูกได้ทุกภาค ในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถขึ้นได้ดี
สรรพคุณ มะม่วงหาว :
ผล : ฆ่าเชื้อ ขับปัสสาวะ พอกดับพิษ แก้โรคลักปิดลักเปิด
เมล็ด : แก้กลากเกลื้อน แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้โรคผิวหนัง แก้ตาปลา แก้เนื้องอก บำรุงไขข้อ บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกำลัง บำรุงผิวหนัง
เปลือก : แก้บิด ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้กามโรค ทำยาอมรักษาแผลในปาก แก้ปวดฟัน พอกดับพิษ
ยอดอ่อน : รักษาริดสีดวงทวาร
ยาง : ทำลายตาปลา กัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาหูด รักษาขี้กลาก แผลเนื้องอก โรคเท้าช้าง
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับมะนาวโห่
ชื่อ : หนามแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa carandas L.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่อเรียกอื่น : หนามขี้แฮด มะนาวไม่รู้โห่ และมะนาวโห่
ลักษณะ : ไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 5 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายมนหรือเว้าบุ๋ม ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู โคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 16-21.5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก ผลรูปไข่ กว้าง 12-17 มิลลิเมตร ยาว 15-23 มิลลิเมตร สีแดง ชมพู หรือดำ
การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชปลูกที่คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พบในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา พม่า จีน และไทย
สรรพคุณทางยา มะนาวโห่ :
ราก : แก้คัน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับพยาธิ บำรุงกระเพาะอาหาร ดับพิษร้อน แก้ไข้
แก่น : บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
เนื้อไม้ : บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง
ใบ : แก้ท้องเสีย แก้เจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ปวดหู แก้ไข้
ผล : รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ฝาดสมาน
จากภาพและข้อมูลเหล่านี้ น่าจะทำให้เห็นถึงความแตกต่างของพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดได้มากขึ้น โดยเบื้องต้นคาดว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ ที่หลาย ๆ คนเคยรู้จัก น่าจะหมายถึง ผลมะนาวโห่ เสียมากกว่า ส่วนการปลูกต้นมะนาวโห่นั้น ทำได้ง่าย ๆ เนื่องจากมะนาวโห่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด โดยมีขั้นตอนดังนี้
วิธีการปลูกมะนาวโห่ โดยใช้เมล็ด
1. เตรียมกระถางสำหรับเพาะเมล็ด ใส่ดินผสมแกลบหรือกากมะพร้าวลงไป โดยเว้นช่องดินให้รากชอนไชได้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
2. โรยเมล็ดลงไป จากนั้นโรยดินกลบเมล็ดเพียงบาง ๆ แล้วรดน้ำอีกเล็กน้อย
3. ตั้งกระถางรับแดดบ้าง แต่อย่าเพิ่งให้โดนแดดจัด จากนั้นประมาณ 10 วัน ต้นอ่อนก็จะเริ่มโต
4. เมื่อต้นกล้าแข็งแรงขึ้น ค่อยทำการแยกปลูกเป็นต้นเดี่ยวต่อไป
สำหรับใครที่รักสุขภาพและกำลังมองหาสมุนไพรพันธุ์ดีมาปลูกไว้ในบ้าน เพื่อนำผลมารับประทาน มะนาวโห่ ดูจะตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น เมนูมะม่วงหาวมะนาวโห่ จากรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ที่มีทั้งผัดไทย น้ำพริก เลยทีเดียว ดังนั้น หากมีโอกาสก็อย่าลืมลองหามารับประทานกันดูนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์กรสวนพฤกษาศาสตร์
medplant.mahidol.ac.th
มะม่วงหาว หรือ มะม่วงหิมพานต์
มะม่วงไม่รู้หาว
มะนาวไม่รู้โห่ พันธุ์ไม้ชื่อแปลกนี้
มีที่มาจากการที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ได้เรียกชื่อผลไม้ชนิดดังกล่าว
ให้สอดคล้องกับผลไม้ในวรรณคดีไทย เรื่องนางสิบสอง ตอน พระรถเมรี
ที่ในเรื่องได้กล่าวถึงผลไม้สดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรสชาติเปรี้ยวจัด
จนทำให้ผู้ที่กำลังง่วงนอน เมื่อรับประทานผลไม้ชนิดนี้เข้าไปแล้ว
จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาทันที
ในปัจจุบันมีการเรียกชื่อ มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ เพียงสั้น ๆ ว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ รวมถึงผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ได้เริ่มหันมาสนใจผลไม้ชนิดนี้มากขึ้น เนื่องจากวงการแพทย์ได้ระบุว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีฤทธิ์ทางยา สามารถนำไปใช้รักษาโรค หรือรับประทานควบคู่กับยาแผนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีหลายคนที่ไม่ทราบว่า แท้จริงแล้ว มะม่วงหาว กับ มะหนาวโห่ เป็นพืชคนละชนิดกัน โดย มะม่วงหาว คือ มะม่วงหิมพานต์ ขณะที่ มะนาวโห่ คือ หนามแดง ซึ่งวันนี้เราได้นำรายละเอียดของสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด จากเว็บไซต์ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์กรสวนพฤกษาศาสตร์ มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น
ในปัจจุบันมีการเรียกชื่อ มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ เพียงสั้น ๆ ว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ รวมถึงผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ได้เริ่มหันมาสนใจผลไม้ชนิดนี้มากขึ้น เนื่องจากวงการแพทย์ได้ระบุว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีฤทธิ์ทางยา สามารถนำไปใช้รักษาโรค หรือรับประทานควบคู่กับยาแผนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีหลายคนที่ไม่ทราบว่า แท้จริงแล้ว มะม่วงหาว กับ มะหนาวโห่ เป็นพืชคนละชนิดกัน โดย มะม่วงหาว คือ มะม่วงหิมพานต์ ขณะที่ มะนาวโห่ คือ หนามแดง ซึ่งวันนี้เราได้นำรายละเอียดของสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด จากเว็บไซต์ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์กรสวนพฤกษาศาสตร์ มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale Linn.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ชื่อเรียกอื่น : ยาโงย ยาร่วง มะม่วงไม่รู้หาว มะม่วงกุลา มะม่วงกะสอ มะม่วงลังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงเล็ดล่อ และมะม่วงหยอด
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ออกสลับกันเป็นรูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบมนป้าน กว้าง 7.5-10 เซนติเมตร ยาว 7.5-20 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อหลวม ๆ สีแดงอมม่วงหรือสีครีม กลิ่นหอมเอียน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 8-10 อัน มีหนึ่งอันที่ยาวกว่าอันอื่น
ผลมีลักษณะเด่น คือ เมื่อแก่ฐานรองดอกจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นลักษณะคล้ายผลชมพู่ ยาว 6-7 เซนติเมตร สีเหลืองอมชมพู เมื่อแก่จัดจะมีสีแดงและมีกลิ่นหอม เมล็ดมี 1 เมล็ด ติดอยู่ที่ส่วนปลายรูปไต ยาว 2.5-3 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา มีเปลือกแข็งหุ้ม
การกระจายพันธุ์ : เป็นไม้ที่ปลูกกันมากทางภาคใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปลูกได้ทุกภาค ในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถขึ้นได้ดี
ผล : ฆ่าเชื้อ ขับปัสสาวะ พอกดับพิษ แก้โรคลักปิดลักเปิด
เมล็ด : แก้กลากเกลื้อน แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้โรคผิวหนัง แก้ตาปลา แก้เนื้องอก บำรุงไขข้อ บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกำลัง บำรุงผิวหนัง
เปลือก : แก้บิด ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้กามโรค ทำยาอมรักษาแผลในปาก แก้ปวดฟัน พอกดับพิษ
ยอดอ่อน : รักษาริดสีดวงทวาร
ยาง : ทำลายตาปลา กัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาหูด รักษาขี้กลาก แผลเนื้องอก โรคเท้าช้าง
น้ำมัน : ฆ่าเชื้อ ทาถูนวดให้ร้อนแดง ยาชา รักษาโรคเรื้อน กัดหูด แก้ตาปลา แก้บาดแผลเน่าเปื่อย
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับมะนาวโห่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa carandas L.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่อเรียกอื่น : หนามขี้แฮด มะนาวไม่รู้โห่ และมะนาวโห่
ลักษณะ : ไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 5 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายมนหรือเว้าบุ๋ม ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู โคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 16-21.5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก ผลรูปไข่ กว้าง 12-17 มิลลิเมตร ยาว 15-23 มิลลิเมตร สีแดง ชมพู หรือดำ
การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชปลูกที่คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พบในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา พม่า จีน และไทย
สรรพคุณทางยา มะนาวโห่ :
ราก : แก้คัน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับพยาธิ บำรุงกระเพาะอาหาร ดับพิษร้อน แก้ไข้
แก่น : บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
เนื้อไม้ : บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง
ใบ : แก้ท้องเสีย แก้เจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ปวดหู แก้ไข้
ผล : รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ฝาดสมาน
จากภาพและข้อมูลเหล่านี้ น่าจะทำให้เห็นถึงความแตกต่างของพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดได้มากขึ้น โดยเบื้องต้นคาดว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ ที่หลาย ๆ คนเคยรู้จัก น่าจะหมายถึง ผลมะนาวโห่ เสียมากกว่า ส่วนการปลูกต้นมะนาวโห่นั้น ทำได้ง่าย ๆ เนื่องจากมะนาวโห่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด โดยมีขั้นตอนดังนี้
วิธีการปลูกมะนาวโห่ โดยใช้เมล็ด
1. เตรียมกระถางสำหรับเพาะเมล็ด ใส่ดินผสมแกลบหรือกากมะพร้าวลงไป โดยเว้นช่องดินให้รากชอนไชได้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
2. โรยเมล็ดลงไป จากนั้นโรยดินกลบเมล็ดเพียงบาง ๆ แล้วรดน้ำอีกเล็กน้อย
3. ตั้งกระถางรับแดดบ้าง แต่อย่าเพิ่งให้โดนแดดจัด จากนั้นประมาณ 10 วัน ต้นอ่อนก็จะเริ่มโต
4. เมื่อต้นกล้าแข็งแรงขึ้น ค่อยทำการแยกปลูกเป็นต้นเดี่ยวต่อไป
สำหรับใครที่รักสุขภาพและกำลังมองหาสมุนไพรพันธุ์ดีมาปลูกไว้ในบ้าน เพื่อนำผลมารับประทาน มะนาวโห่ ดูจะตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น เมนูมะม่วงหาวมะนาวโห่ จากรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ที่มีทั้งผัดไทย น้ำพริก เลยทีเดียว ดังนั้น หากมีโอกาสก็อย่าลืมลองหามารับประทานกันดูนะคะ
ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์กรสวนพฤกษาศาสตร์
medplant.mahidol.ac.th