การอุ่นหรือเก็บอาหารเดี๋ยวนี้ก็สะดวกสบายขึ้นมาก แค่ใช้พลาสติกห่อหุ้มอาหาร (Plastic Wrap) ห่ออาหารให้มิดชิด แล้วนำเข้าเตาไมโครเวฟ หรือนำไปเก็บไว้ในตู้เย็นเท่านี้ก็เสร็จแล้ว แต่ในความสะดวกสบายแบบนี้ รู้ตัวไหมคะว่าภัยร้ายจากพลาสติกนิ่มใส กำลังคืบคลานเข้ามาเรื่อย ๆ จนจวนตัว รู้ตัวอีกทีก็อาจจะนอนป่วย หรือเจ็บไข้ด้วยโรคภัยไปแล้วก็ได้
ในพลาสติกอ่อนทุกชนิด อย่างเช่น พลาสติกห่อหุ้มอาหาร บัตรเครดิต ม่านกั้นห้องน้ำ ฯลฯ จะมีสารเคมีที่ชื่อว่า
พาทาเลต (phthalate) ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยเพิ่มความอ่อนในวัตถุ
ซึ่งหากเราได้รับสารตัวนี้เข้าไปมาก ๆ ก็จะเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยได้รับการยืนยันจากงานวิจัยของสถาบันกุมารเวชศาสตร์
ที่ได้เก็บผลทดสอบจากกลุ่มตัวอย่างในเด็กวัย 6-19 ปี และพบว่า
เด็กที่ได้รับสารเคมีพาทาเลตจะมีภาวะความดันโลหิตสูงกว่าเด็กกลุ่มที่ไม่ได้รับสารเคมีตัวนี้
ฟังดูแล้วอาจจะไม่ได้มีอันตรายมากมายเท่าไร แต่จริง ๆ แล้วเป็นภัยอันตรายในระยะยาวต่างหาก เพราะสารเคมีตัวนี้จะทำให้ร่างกายเกิดสภาวะความเครียดออกซิเดชั่น (oxidative stress) ซึ่งก็คือการที่เซลล์ถูกอนุมูลอิสระทำลาย เป็นสาเหตุของโรคแห่งความเสื่อมเรื้อรังมากกว่า 70 ชนิด ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเกร็งตัว โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง ข้อต่ออักเสบ การแข็งตัวของเนื้อเยื่อซ้ำซ้อน โรคอัลไซเมอร์ และความเสื่อมเฉพาะจุด
นอกจากนี้ เจ้าสารพาทาเลตที่แฝงอยู่ในพลาสติกห่อหุ้มอาหาร ยังทำลายไต กระเพาะปัสสาวะ เป็นสารก่อมะเร็ง และเป็นตัวการรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีปัญหาโมเลกุลในเลือดต่ำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งอาจทำให้ฮอร์โมนมีความผิดปกติ มีความเบี่ยงเบนทางเพศ และเร่งการเจริญเติบโตของเด็กผู้หญิง ทำให้โตเกินวัย และยังมีส่วนให้เกิดโรคเบาหวาน สมาธิสั้น โรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืดอีกด้วย
ดังนั้น หากเลี่ยงไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าสารเคมีตัวนี้ได้ก็จะดีมาก โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุอื่นแทนพลาสติก เช่น จานแก้ว เซรามิก โลหะ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก พยายามเลี่ยงการกินอาหารสำเร็จรูปที่อยู่ในหีบห่อพลาสติก รวมทั้งอย่าใช้ภาชนะพลาสติกใส่อาหารประเภทที่มีไขมันสูง เช่น เนย กะทิ
นอกจากนี้ยังต้องระวังการใช้พลาสติกห่อหุ้มอาหารที่มีความร้อนสูง อาหารที่มีไอน้ำ ไอน้ำมัน เพราะความร้อนอาจทำให้พลาสติกละลาย เกิดสารปนเปื้อนอาหารได้ จึงควรหลีกเลี่ยง และที่สำคัญ ไม่ควรห่ออาหารด้วยพลาสติกห่อหุ้มอาหาร แล้วนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟ หรืออุ่นอาหารที่ห่อด้วยพลาสติกใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติก ฟิล์มห่ออาหาร เพราะสารเคมีอาจมีโอกาสหลุดออกมาปนเปื้อนอาหารได้ อย่างไรก็ตาม หากบนฉลากพลาสติกระบุว่า เป็นพลาสติกที่ใช้กับไมโครเวฟ ก็สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ แตต้องระวังไม่ให้พลาสติกสัมผัสกับอาหารโดยตรง
ใครที่มักใช้ภาชนะพลาสติกในการเก็บอาหาร ควรหันมาเก็บอาหารในภาชนะที่เป็นแก้วจะดีกว่า ยอมสละความสะดวกสบายเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันโรคภัยอันตราย และเพื่อสุขภาพที่ดีของเราทุกคนนะคะ
ดังนั้น ก่อนจะต้องล้มหมอนนอนเสื่อ วันนี้กระปุกดอทคอมก็นำข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้พลาสติกห่อหุ้มอาหาร (Plastic Wrap) มาฝากกัน ว่าแต่...เจ้าพลาสติกใสที่เราใช้กันทุกวันจะมีอันตรายอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
ฟังดูแล้วอาจจะไม่ได้มีอันตรายมากมายเท่าไร แต่จริง ๆ แล้วเป็นภัยอันตรายในระยะยาวต่างหาก เพราะสารเคมีตัวนี้จะทำให้ร่างกายเกิดสภาวะความเครียดออกซิเดชั่น (oxidative stress) ซึ่งก็คือการที่เซลล์ถูกอนุมูลอิสระทำลาย เป็นสาเหตุของโรคแห่งความเสื่อมเรื้อรังมากกว่า 70 ชนิด ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเกร็งตัว โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง ข้อต่ออักเสบ การแข็งตัวของเนื้อเยื่อซ้ำซ้อน โรคอัลไซเมอร์ และความเสื่อมเฉพาะจุด
นอกจากนี้ เจ้าสารพาทาเลตที่แฝงอยู่ในพลาสติกห่อหุ้มอาหาร ยังทำลายไต กระเพาะปัสสาวะ เป็นสารก่อมะเร็ง และเป็นตัวการรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีปัญหาโมเลกุลในเลือดต่ำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งอาจทำให้ฮอร์โมนมีความผิดปกติ มีความเบี่ยงเบนทางเพศ และเร่งการเจริญเติบโตของเด็กผู้หญิง ทำให้โตเกินวัย และยังมีส่วนให้เกิดโรคเบาหวาน สมาธิสั้น โรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืดอีกด้วย
ดังนั้น หากเลี่ยงไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าสารเคมีตัวนี้ได้ก็จะดีมาก โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุอื่นแทนพลาสติก เช่น จานแก้ว เซรามิก โลหะ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก พยายามเลี่ยงการกินอาหารสำเร็จรูปที่อยู่ในหีบห่อพลาสติก รวมทั้งอย่าใช้ภาชนะพลาสติกใส่อาหารประเภทที่มีไขมันสูง เช่น เนย กะทิ
สำหรับพลาสติกห่อหุ้มอาหาร สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ระบุว่า หากนำไปห่อหุ้มอาหารที่มีสภาพความเป็นกรดสูง
หรือมีไขมันเป็นส่วนประกอบมาก
จะทำให้สารพิษจากพลาสติกออกมาปนเปื้อนอาหารได้ เพราะพาทาเลตไม่ได้ยึดติดกับโพลิเมอร์ของพลาสติก
แต่แทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลพลาสติก จึงอาจหลุดออกมาได้ ดังนั้น ไม่ควรนำไปห่อหุ้มอาหารที่ไขมันสูง เช่น เนย เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด
รวมทั้งเค้กที่มีหน้าครีมหรือช็อกโกแลต แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้จริง ๆ
ควรบรรจุอาหารให้ต่ำกว่าปากภาชนะประมาณ 1 นิ้ว
เพื่อไม่ให้พลาสติกสัมผัสอาหารโดยตรง หรือเลือกใช้พลาสติกที่ระบุว่าไม่มีสารพาทาเลต
นอกจากนี้ยังต้องระวังการใช้พลาสติกห่อหุ้มอาหารที่มีความร้อนสูง อาหารที่มีไอน้ำ ไอน้ำมัน เพราะความร้อนอาจทำให้พลาสติกละลาย เกิดสารปนเปื้อนอาหารได้ จึงควรหลีกเลี่ยง และที่สำคัญ ไม่ควรห่ออาหารด้วยพลาสติกห่อหุ้มอาหาร แล้วนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟ หรืออุ่นอาหารที่ห่อด้วยพลาสติกใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติก ฟิล์มห่ออาหาร เพราะสารเคมีอาจมีโอกาสหลุดออกมาปนเปื้อนอาหารได้ อย่างไรก็ตาม หากบนฉลากพลาสติกระบุว่า เป็นพลาสติกที่ใช้กับไมโครเวฟ ก็สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ แตต้องระวังไม่ให้พลาสติกสัมผัสกับอาหารโดยตรง
ใครที่มักใช้ภาชนะพลาสติกในการเก็บอาหาร ควรหันมาเก็บอาหารในภาชนะที่เป็นแก้วจะดีกว่า ยอมสละความสะดวกสบายเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันโรคภัยอันตราย และเพื่อสุขภาพที่ดีของเราทุกคนนะคะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กรมวิทยาศาสตร์บริการ