x close

สพฉ. เผย คนไทยเครียด ป่วยโรคจิตกว่า 1 ล้านคน !

เผยสถิติพบคนไทยเครียดจนป่วยเป็นโรคจิตนับล้านคน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน เผยสถิติพบคนไทยเครียดจนป่วยเป็นโรคจิตนับล้านคน ขณะที่ปีนี้มีผู้ป่วยก่อเหตุคลุ้มคลั่งแล้ว 7,588 ครั้ง

          เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2556 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้เปิดเผยสถิติของกรมสุขภาพจิตและสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่า ปัจจุบันมียอดผู้ป่วยโรคจิตในประเทศไทย เข้ามารับการรักษากว่า 1,076,155 คน โดยในปี 2555 มีการออกปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน สำหรับช่วยเหลือผู้ที่มีอาการคลุ้มคลั่ง 11,652 ครั้ง และในปี 2556 (นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 - มิถุนายน 2556) มีจำนวนการออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ที่มีอาการคลุ้มคลั่ง 7,588 ครั้ง
 
         ทั้งนี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวถึงสาเหตุปัจจัยที่ทำให้มีผู้ป่วยเป็นโรคจิตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความเครียดจากสภาวะสังคมปัจจุบัน  เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาครอบครัว เมื่อไม่สามารถยอมรับปัญหาดังกล่าวได้ จึงทำให้มีสภาวะป่วยทางจิต โดยประเภทของการป่วยทางจิตที่อาจจะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง ที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยฉุกเฉินมากที่สุด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

         โรคจิตชนิดซึมเศร้า ลักษณะของผู้ป่วย จะมีอาการเฉื่อยชา ไม่ดูแลตนเอง เบื่ออาหาร คิดมาก วิตกกังวล บางคนก็ร้องไห้ตลอดเวลา และบางคนอาจตัดสินใจถึงขั้นฆ่าตัวตาย

        โรคจิตที่เกิดจากสารเสพติด ผู้ป่วยนะมีอาการประสาทหลอน เพ้อ คลุ้มคลั่ง ก้าวร้าว ควบคุมตนเองไม่ได้ ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ยกตัวอย่าง กรณีผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดคลุ้มคลั่งที่จังหวัดขอนแก่น นำใช้มีดจี้คอโดนหลอดลมของตนเอง ส่งผลให้หายใจลำบาก ซึ่งหน่วยกู้ชีพต้องเข้าให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

           สำหรับวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง เมื่อพบเห็นผู้ป่วยโรคจิตจากอาการข้างต้น มีดังนี้

     1. โทรแจ้ง "สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินสายด่วน" 1669 เพื่อเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินทันที

     2. ผู้พบเหตุจะต้องประเมินสถานการณ์ รักษาความปลอดภัยให้ตนเองและผู้ป่วย ขณะรอเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือ

     3. ควรแนะนำให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ด้วยการสนทนา  พร้อมทั้งแสดงความเข้าใจในปัญหาของผู้ป่วย และห้ามซ้ำเติม หรือทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการตื่นตระหนกมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของผู้ป่วย หากเป็นเรื่องที่สามารถทำได้เลย ก็ควรทำตามคำร้องขอในทันที

     4. หากพบว่าสถานการณ์ดังกล่าวไม่ปลอดภัย ควรรอผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือโดยตรง


          อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตผู้ใกล้ชิดมีว่าความเสี่ยงต่ออาการโรคจิตโดยมีลักษณะซึมเศร้า เก็บตัว จากอุปนิสัยเดิมที่เรียบร้อยกลับกลายเป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง และน่ากลัว ไม่ชอบอาบน้ำ สะสมขยะ พูดจาหรือหัวเราะอยู่คนเดียว เมื่อพบว่าผู้ใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาไปพบจิตแพทย์ เพื่อบำบัดรักษาต่อไปหรือหากพบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ สามารถโทรแจ้งได้ที่เบอร์โทรสถานบันการแพทย์ฉุกเฉิน สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก






เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สพฉ. เผย คนไทยเครียด ป่วยโรคจิตกว่า 1 ล้านคน ! อัปเดตล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2556 เวลา 14:18:46 3,513 อ่าน
TOP