เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
อย. ยกระดับไซลาซีน จะซื้อได้ต้องมีใบอนุญาตจากสัตวแพทย์เท่านั้น ป้องกันมิจฉาชีพใช้มอมเพื่อปลดทรัพย์ คา เริ่มใช้ได้หลังปลายเดือนตุลาคมนี้
จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า มิจฉาชีพมีการใช้สารไซลาซีนชนิดน้ำ หยอดน้ำมอมเมายาเหยื่อตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ก่อนที่จะปลดทรัพย์ ล่าสุด วันนี้ (15 ตุลาคม 2556) นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวภายหลังที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ ครั้งที่ 2/2556 ว่า ที่ประชุมได้มีมติควบคุมยาสำหรับสัตว์ที่นำไปใช้ในทางที่ผิดทั้งหมด 4 กลุ่ม โดยให้เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องมีใบสั่งจากสัตวแพทย์เท่านั้นจึงจะสามารถซื้อได้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. กลุ่มแอลฟา ทู แอดดริเนอจิก อโกนิสต์ (Alpha-2-adrenergic agonist) ซึ่งมีสารไซลาซีน
2. กลุ่มเบนโซไดอาซีพีน เดริเวทีฟ (Benzodiazepine derivative)
3. กลุ่มบิวไทโรฟีโนน เดริเวทีฟ (Butyrophenone)
4. กลุ่มฟีโนไทอาซีน เดริเวทีฟ (Phenothiazine derivative)
พร้อมกันนี้ ในที่ประชุม ยังได้เสนอให้กำหนดข้อความในฉลากและเอกสารยาด้วย ว่าต้องขายยาตามใบสั่งของผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งเท่านั้น พร้อมกับให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย ทำบัญชีและเก็บรายงานไว้ที่สถานประกอบการผลิต นำเข้า และจำหน่าย ไม่น้อยกว่าวันหมดอายุของยาชนิดนั้น เพื่อให้ อย. สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ อย่างไรก็ตาม มติดังกล่าวจะให้คณะกรรมการยาพิจารณาภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ หากมีการเห็นชอบก็จะบังคับใช้ต่อไป
ส่วนในช่วงเวลานี้ อย. จะเข้าไปตรวจสอบว่ามีการใช้ผิดปกติหรือไม่ แต่ถึงอย่างไรก็คงไม่มีอำนาจเข้าไประงับการจำหน่ายของผู้ประกอบการได้ เพราะไม่มีอำนาจในทางกฎหมาย ทำได้แต่เพียงส่งหนังสือเวียนเพื่อขอความร่วมมือเท่านั้น
นพ.ปฐม กล่าวอีกว่า สำหรับบทลงโทษของการฝ่าฝืน จะมี 2 กรณี ดังนี้
1. ผู้รับอนุญาต ได้แก่ เจ้าของร้านขายยา หรือสถานพยาบาลสัตว์ จะถูกปรับ 2,000-10,000 บาท
2. ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการหรือเภสัชกร และสัตวแพทย์ หากจำหน่ายยาที่ไม่มีใบสั่ง มีโทษปรับ 1,000-5,000 บาท
ขณะที่ น.สพ.สุวิชัย โรจนเสถียริ นายกสัตวแพทยสภา เปิดเผยว่า สาเหตุที่ต้องควบคุมยาทั้ง 4 กลุ่มนี้ เป็นเพราะยาดังกล่าวเป็นยาสำหรับสัตว์ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง หากนำมาใช้ในทางที่ผิดต่อคน จะทำให้เสียชีวิตได้ อีกทั้งยาดังกล่าวเป็นยาสำหรับสัตว์ ยิ่งต้องเข้มงวดมากขึ้น ส่วนความผิดรายแรงที่สุดของสัตวแพทย์ หากใช้ในทางที่ผิด นั่นคือ การเพิกถอนใบอนุญาตสัตวแพทย์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก