ส้มตำถาดสี ไม่ปลอดภัย ผลตรวจพบปนเปื้อนสารแคดเมียม


ส้มตำถาดสี ไม่ปลอดภัย ผลตรวจพบปนเปื้อนสารแคดเมียม
ส้มตำถาดสี ไม่ปลอดภัย ผลตรวจพบปนเปื้อนสารแคดเมียม

 
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  ข่าวสด

          ส้มตำถาด ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ผลตรวจพบปนเปื้อนสารแคดเมียมเกินมาตรฐาน 10 เท่า ชี้หากสะสมนาน ๆ เสี่ยงโรคอิไตอิไต แนะเปลี่ยนไม่ใช้ถาดสี

          ตามที่ก่อนหน้านี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เก็บส้มตำถาด 10 ตัวอย่างเพื่อนำมา เพื่อหาสารปนเปื้อน ล่าสุด (4 กันยายน 2557) นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยผลตรวจสอบว่า  กรมวิทย์ฯ ได้ทำการทดสอบส้มตำถาดด้วยการหยดสารแอซีติก และแช่ไว้ตามมาตรฐาน 24 ชั่วโมง ในอุณหภูมิ 12 องศา ผลปรากฏว่า สารละลายที่ออกมานั้นมีสารแคดเมียม 2.6 มิลลิกรัมต่อลิตร จากที่มาตรฐานกำหนดไว้ว่าต้องไม่ให้เกิน 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร และจากการทดสอบทั้ง 10 ตัวอย่าง พบว่ามีสารแคดเมียมเกินมาตรฐานทั้ง 10 ตัวอย่าง เป็น 10 เท่า ส่วนสารตะกั่วที่ตรวจพบใน 3 ถาดนั้นไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด

          นพ.อภิชัย กล่าวต่อว่า การทดสอบอีกส่วนที่สำคัญ คือ การหาปริมาณสารที่ละลายออกมาปนเปื้อนในส้มตำที่ใส่อยู่ในถาดโดยตรง เพื่อหาคำตอบว่า การรับประทานส้มตำถาดจะได้รับการปนเปื้อนด้วยหรือไม่  โดยการทดสอบตัวอย่างส้มตำ 10 ตัวอย่าง ที่ถูกวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง 3 ชั่วโมง ก่อนนำมาหาการปนเปื้อนนั้น ได้มีการแบ่งการทดสอบเป็น 4 กลุ่ม คือ

          1. ส้มตำที่ใส่กับถาดโดยตรงไม่มีอะไรรอง พบว่า จากการทดสอบพบสารแคดเมียมปนเปื้อนในส้มตำ 0.875 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

          2. ส้มตำถาดแบบที่มีใบตองรองที่ก้นถาดแบบมิดชิด ไม่พบการปนเปื้อนของแคดเมียม

          3. ส้มตำถาดแบบที่มีใบตองรองแต่ไม่มิดชิด พบการปนเปื้อนของสารแคดเมียม 0.127 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

          4. นำส้มตำใส่ถุงพลาสติกวางบนถาด เพื่อนำมาเปรียบเทียบการปนเปื้อนจากอาหารโดยตรงเท่านั้น

          จากผลการตรวจสอบที่ได้นั้น พบว่าการทานส้มตำในถาดสีโดยตรง ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายเกินปริมาณที่แนะนำถึง 1.4 เท่า และหากยังมีการส้มตำในถาดสีอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดพิษต่อไตและกระดูกได้ และในระยะยาวก็ยังมีความเสี่ยงไตวาย และเกิดโรคปวดกระดูก หรือโรคอิไตอิไตได้อีกด้วย

          อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าส้มตำถาด อาจปรับเปลี่ยนมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้ โดยดูที่มาตรฐาน มอก. ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานของสีที่ใช้กับภาชนะสำหรับครัวเรือน ซึ่งสารแคดเมียมและตะกั่วเป็นส่วนประกอบสำคัญของสี หากเลือกใช้ภาชนะที่ได้มาตรฐานก็จะปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย
 
 

 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
 

 

 
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ส้มตำถาดสี ไม่ปลอดภัย ผลตรวจพบปนเปื้อนสารแคดเมียม อัปเดตล่าสุด 4 กันยายน 2557 เวลา 20:37:06 3,474 อ่าน
TOP
x close