
9 ความเชื่อปราบเซียนสุขภาพ (Men’s Health)
เรื่อง Shannon Davis แปลและเรียบเรียง Dragon Booster
"9 ข้อเท็จจริง" เรื่องสุขภาพที่ใคร ๆ ก็รู้ แต่กลับเป็นแค่ความเชื่อผิด ๆ
ความเชื่อบางเรื่องก็จับไต๋ได้ง่าย ๆ อย่างความเชื่อเกี่ยวกับเทพอาตุของชาวอียิปต์ ผู้ให้กำเนิดชีวิตด้วยอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ แต่ความเชื่ออื่น ๆ โดยเฉพาะความเชื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่พลังของเทพอียิปต์ อาจจับไต๋ได้ยากกว่านิดหน่อย และอาจเป็นอันตราย หากความเชื่อนั้นคือวิธีรักษาสุขภาพที่เรายึดถือมาโดยตลอด
อย่างเรื่องของการยึดกล้ามเนื้อก่อนการแข่งขัน ซึ่งไม่อาจช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังได้ดีไปกว่าการหวังพึ่งแต่กระจับ แต่เมื่อตอนก่อนหน้านี้ แค่เพียงไม่กี่ปี หนุ่ม ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวก็ยังชอบยืดกล้ามเนื้ อและต้องเจ็บตัวเพราะหลงเชื่อถือวิธีผิด ๆ นี้
เอาล่ะ ผมจะชี้ทางสว่างให้คุณเอง ผมนี่แหละจะทำให้คุณต้องเปลี่ยนความเชื่อใหม่ และมีมุมมองที่แตกต่างออกไป เราจะลบล้าง 9 ความเชื่อปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ แล้วพิสูจน์ให้เห็นว่า ความเป็นจริงจะช่วยให้ชีวิตคุณดีขึ้นอย่างไรบ้าง เริ่มเลยนะครับ

ไม่ใช่ครับ ถึงคุณจะกินกระทั่งต้นสน ลูกสนและทุกส่วนที่เหลือ ก็ยังป้องกันไม่ได้ การวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of the National Cancer Institute พิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่ว่าผู้รับการทดสอบจะบริโภคกากใย 10-27 กรัมต่อวัน หรือเยอะแค่ไหนก็ไม่ได้ช่วยลดโอกาสเสี่ยง ที่จะเกิดติ่งเนื้อในระยะก่อนเป็นมะเร็งได้ "สมมติฐานเรื่องกากใยนี่ ได้มาจากการศึกษาด้านระบาดวิทยาสมัยก่อนน่ะครับ" นพ.เจมส์ อี. แอลลิสัน ศาสตราจารย์ด้านเวชกรรมที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก กล่าว "เขาสันนิษฐานกันว่า อาหารที่มีกากใยสูงจะเดินทางผ่านลำไส้โดยใช้เวลาที่น้อยกว่า ซึ่งช่วยลดโอกาสที่ร่างกายจะได้รับสารก่อมะเร็ง"


ปัญหาของความเชื่อนี้คือ ถั่วเหลืองทุกรูปแบบมีไฟโตเอสโตรเจน หรือเอสโตรเจนที่ได้จากพืช และถึงการมีฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ในร่างกายของเราบ้างจะปลอดภัย และถือว่าปกติดีด้วยซ้ำ แต่การมีฮอร์โมนเพศหญิงในรูปแบบที่ได้จากพืชในปริมาณสูง กลับไม่ได้เป็นแบบนั้น ที่จริงแล้วทีมวิจัยออสเตรเลียพบว่า ผู้ชายที่เน้นการบริโภคถั่วเหลือง มีระดับเทสทอสเทอโรนต่ำกว่าผู้ชายที่ชอบกินเนื้ออย่างมีนัยสำคัญ และสำหรับความเชื่อที่ว่า เนื้อแดงจะทำให้หลอดเลือดแดงอุดตันนั้น การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Joumal of the American College of Nutrition ชี้ให้เห็นว่า การกินเนื้อไม่ติดมันช่วยลดระดับ LDL (คอเลสเตอรอลไม่ดี) ได้ แถมยังช่วยเพิ่มระดับ HDL (คอเลสเตอรอลดี) ด้วย


ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพร ซึ่งเป็นที่นิยมชนิดนี้มีกิตติศัพท์ว่าทำให้ฉลาด หลังจากที่การวิจัยทางการแพทย์บางชิ้นแนะนำว่า จะช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น และก็ช่วยได้จริง ๆ ครับ แต่เฉพาะในกรณีของผู้ป่วยอัลไซเมอร์เท่านั้น สำหรับคนที่ไม่ได้เป็น "เราไม่พบหลักฐานเลยนะครับ ว่าแปะก๊วยจะมีผลใด ๆ ต่อความจำ หรือบทบาทในด้านของความคิดและสติปัญญา" ดร.พอล อาร์ โซโลมอน ผู้อำนวยการคลินิกความจำ ที่ศูนย์การแพทย์เซาท์เวสเทิร์นเวอร์มอนต์ กล่าว การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of the American Medical Association ทีมวิจัยของโซโลมอนพบว่า เมื่อให้ผู้ที่กินแปะก๊วยในรูปของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และผู้ที่กินยาหลอก ทำแบบทดสอบ 14 ชุดที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความจำ ความสนใจและสมาธิ ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทั้งสองแต่อย่างใด "การวิจัยของเราไม่มีอะไรที่พิสูจน์ได้เลยว่า การกินแปะก๊วยจะช่วยได้" โซโลมอนกล่าว


ก็เหมือนกับอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง กับรังสีที่มีอำนาจทำลายล้างสูงนั่นล่ะ สบู่ยาหรือสบู่ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ก็แค่ดูจะฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่าสบู่ธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง เพราะเชื้อโรคมันไม่เห็นความแตกต่างหรอก ในการศึกษาที่สนับสนุนเงินทุนโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ทีมวิจัยได้ขอให้แม่บ้านในนิวยอร์กซิตี้จำนวน 222 คน ล้างมือด้วยสบู่ยาและสบู่ธรรมดา จากนั้นได้ทำการสำรวจปริมาณแบคทีเรียที่มือของผู้หญิงกลุ่มนี้ ทั้งก่อนและหลังล้าง ซึ่งผลที่ได้ก็ไม่แตกต่างกันเลย "เราพบว่าสบู่ยาไม่ได้มีภาษีเหนือกว่าเลยค่ะ" ดร.อีเลน ลาร์สัน ผู้เขียนหลักของงานวิจัยนี้ อธิบาย ที่ยิ่งน่าวิตกคือการล้างมือด้วยสบู่ยาอย่างเดียว อาจทำให้แบคทีเรียดื้อต่อสารฆ่าเชื้อโรค ซึ่งเป็นส่วนผสมของสบู่ก็เป็นได้


แค่ระดับหนึ่งเท่านั้นครับ "อัตราผลตอบแทนที่ได้จะลดลงน่ะครับ" นพ.ดร.มาร์ติน เวนสตอก ผู้อำนวยการกลุ่มที่ปรึกษาด้านมะเร็งผิวหนังของสมาคมโรคมะเร็งอเมริกัน กล่าว ตัวเลขที่ได้คือ ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ช่วยป้องกันการแผดเผาของรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดได้ 93.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ป้องกันได้ถึง 96.7 เปอร์เซ็นต์ แต่พอค่า SPF เพิ่มเป็น 45 กลับป้องกันได้มากขึ้นแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ (97.8 เปอร์เซ็นต์) และพอเพิ่มเป็น SPF 60 ก็ป้องกันได้มากขึ้นแค่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ (98.3)


ผู้ชายไม่มีเต้านมนี่นา ดังนั้นผู้ชายจึงไม่น่าจะเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่เราก็เป็นกัน โดยมีจำนวนผู้ป่วยใหม่ปีละ 1,500 ราย (และมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคนี้ถึงปีละ 400 คน) "ปัญหาสำคัญที่สุดคือ ผู้ชายส่วนใหญ่ และแม้กระทั่งหมอหลาย ๆ คนก็ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้" นพ.ชารอน เอช. จิออร์ดาโน ศาสตราจารย์ด้านมะเร็งเต้านมวิทยาที่ศูนย์มะเร็งเอ็ม.ดี.แอนเดอร์สันในเทกซัส กล่าว "พวกผู้ชายไม่สนใจก้อนเนื้อ ขณะที่ผู้หญิงรู้ดีว่ามันคืออะไร" และพวกผู้ชายก็ยังไม่เข้าใจด้วยว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 3 ประการ คืออายุ (60 ปีขึ้นไป) ประวัติครอบครัวว่าเคยมีคนเป็นโรคนี้ (ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้องเพศชายหรือเพศหญิง) และโรคอ้วน (น้ำหนักที่มากเกินไปจะเป็นผลร้ายต่อระดับฮอร์โมนของผู้ชาย)


ไม่ว่าใครจะชักจูงให้คุณคิดอย่างไร การยกเวตก็อาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้เช่นกัน ในการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชายจำนวน 44,000 คน ทีมวิจัยของฮาร์วาร์ดพบว่า คนที่ยกเวตสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 30 นาที มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ยกเวตเลยถึง 23 เปอร์เซ็นต์ "การยกเวตจะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และอัตราเมทาบอลิซึมขณะหลับ ซึ่งทั้งคู่มีส่วนช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ" นพ.มิเฮลา ทานาเซสคูหนึ่งในผู้เขียนผลการศึกษา กล่าว "มันยังทำให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น และดื้ออินซูลินน้อยลง ซึ่งจะทำให้โอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจลดลงไปอีก"


นั่นคือสิ่งที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะบางคน ทำให้เราเชื่อ "ผู้ชายส่วนใหญ่คิดว่า ระดับ PSA ที่สูงขึ้นหมายถึงมะเร็งต่อมลูกหมากเท่านั้น" ดร.วิลเลียม คาทาโลนา ศาสตราจารย์ด้านระบบทางเดินปัสสาวะที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันในเซนต์หลุยส์ กล่าว "แต่การบาดเจ็บหรือการอักเสบอาจทำให้ PSA ซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบ ๆ (ของต่อมลูกหมาก) ซึ่งเป็นจุดที่ตรวจพบได้ในกระแสเลือด" จริง ๆ แล้วทุกสาเหตุ ตั้งแต่การติดเชื้อแบคทีเรียไปจนถึงการขี่จักรยานนาน ๆ อาจทำให้ระดับ PSA เพิ่มขึ้นเล็กน้อยได้ทั้งนั้น


ลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่คุณคิดว่าตัวเองรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์สไปได้เลย ในแต่ละปีร้อยละ 5 ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส จำนวนสี่ล้านคนคือคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ซึ่งเป็นโรคอัลไซเมอร์สชนิดที่พบในคนอายุน้อย และมันก็จู่โจมกระทั่งคนวัย 30 และ 40 ปี "อาการของโรคนั้นไม่ได้แตกต่างจากอัลไซเมอร์สชนิดที่พบในคนสูงอายุเลยครับ" ดร.บิล ทายส์ รองประธานฝ่ายกิจการทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ของสมาคมอัลไซเมอร์ส กล่าว "ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ คนที่ต้องทนทุกข์กับโรคอัลไซเมอร์สชนิดที่พบในคนอายุน้อย ยังคงต้องทำงานและพยายามหาเลี้ยงครอบครัวอยู่"

เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
