
ไวรัสเมอร์ส คืออะไร อาการเป็นอย่างไร เพราะขณะนี้ยังไม่มียารักษา เพียงแค่ 5 นาทีก็ติดต่อได้ ทำให้อัตราการตายสูง ! คำถาม-คำตอบต่อไปนี้จะทำให้เรารู้จักอิทธิฤทธิ์ของเชื้อไวรัสลึกลับนี้มากขึ้น
ไวรัสเมอร์ส ที่มีข่าวแพร่ระบาดและคร่าชีวิตชาวเกาหลีใต้ไปบ้างแล้วนั้น ทำให้คนไทยหวาดวิตกพอสมควร เพราะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจตระกูลเดียวกับซาร์ส ซึ่งเคยคร่าชีวิตคนไปเป็นจำนวนมาก ที่น่ากลัวคือจนถึงวันนี้ยังไม่มียารักษา ถึงเวลาต้องทำความรู้จักกับเชื้อร้ายมรณะตัวนี้ให้มากขึ้น รู้ให้ครบทุกด้านก่อนตื่นตระหนกจนเกินควร

ไวรัสเมอร์ส ก็คือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันในประเทศตะวันออกกลาง (Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV)) หรือบางครั้งก็เรียกว่า "ไวรัสโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012" คือ โรคระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (MERS-CoV) ซึ่งตรวจพบเป็นครั้งแรกที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยเชื้อตัวนี้มาจากค้างคาวแล้วมาติดอูฐ ก่อนจะแพร่ไปยังชายชาวซาอุฯ ที่เป็นผู้ป่วยรายแรก
โคโรน่าไวรัส จัดเป็นวงศ์ (family) ใหญ่ของไวรัสวงศ์หนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคได้หลายโรค ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาไปจนถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส

เนื่องจากโรคนี้เป็นไวรัสตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ดังนั้นอาการที่พบคืออาการทางระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยจะเป็นไข้ ไอ หอบ หายใจลำบาก และเมื่อตรวจร่างกายจะพบ "ปอดบวม" ปอดอักเสบ หรือนิวโมเนีย บางรายอาจมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย
ทั้งนี้เมื่อผู้ป่วยมีอาการปอดบวมหรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ซึ่งจําเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประกอบกับการดูแลด้านอื่น ๆ ผู้ป่วยบางรายมีภาวะอวัยวะล้มเหลวโดยเฉพาะไตวาย หรือมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ สําหรับผู้ที่มีโรคประจําตัว ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน มะเร็งและโรคปอดเรื้อรัง อาการป่วยจะรุนแรง


ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของยุโรป (ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control) รายงานพบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2558 โดยพบผู้ป่วยแล้วใน 26 ประเทศ คือ




























ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า โรคนี้การติดต่อเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพียง 5 นาทีก็สามารถติดต่อกันได้ผ่านทาง





อย่างที่ทราบไปแล้วว่า ไวรัสเมอร์สจะติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงก็คือ





ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า ไวรัสเมอร์สเป็นเชื้อโรคที่มีอัตราการแพร่กระจายไม่ได้สูงมากนัก คือ ผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ 0.60-0.69 คน ในขณะที่อัตราการแพร่กระจายของโรคอื่น ๆ มีมากกว่า เช่น




ดังนั้น โอกาสที่โคโรน่าไวรัสจะแพร่กระจายเป็นกลุ่มก้อนในชุมชนจึงมีน้อย ยกเว้นคนนั้นจะมีความเสี่ยงจริง ๆ เช่น เป็นผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย หรือมีร่างกายไม่แข็งแรง


น่ากลัวทีเดียวเพราะปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคไวรัสเมอร์ส จึงทำได้เพียงรักษาตามอาการเท่านั้น และเนื่องจากยังไม่มียารักษา จึงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตถึงร้อยละ 40 ต่างจากโรคซาร์สที่แม้จะแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าไวรัสเมอร์ส แต่อัตราการเสียชีวิตมีเพียงร้อยละ 9.6 เท่านั้น เรื่องนี้จึงทำให้วงการแพทย์เป็นกังวลกันมากกับการลุกลามของไวรัสเมอร์สครั้งนี้

ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า แม้ไวรัสเมอร์สจะเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับซาร์ส แต่โอกาสการแพร่ระบาดจากคนสู่คนน้อยกว่าโรคซาร์ส 5 เท่า ทำให้การแพร่ระบาดส่วนใหญ่จึงยังจำกัดอยู่ในพื้นที่ตะวันออกกลาง โอกาสแพร่ระบาดไปทั่วโลกน้อย ต่างจากโรคซาร์สที่มีโอกาสสามารถแพร่ไปทั่วโลกได้มากกว่า
ทั้งนี้ปัจจุบันยังไม่พบว่าเชื้อไวรัสตัวนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือกลายพันธุ์แต่อย่างใด และแม้ว่าโรคนี้จะมีอัตราการแพร่ระบาดจากคนสู่คนต่ำ แต่สำหรับการระบาดที่เกาหลีใต้ ถือเป็นการแพร่กระจายแบบสุดยอด หรือ ซูเปอร์ สเพรด (Super spread) คือ แพร่ระบาดเร็วและจำนวนมาก จากคนเกาหลีที่ติดเชื้อจากพื้นที่ตะวันออกกลางเข้ามาในประเทศ และมีผู้ติดเชื้อต่อไปอีกถึง 30 คนในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ สาเหตุของการแพร่ระบาดเร็วคาดว่ามาจากความไม่รู้ ทำให้ไม่มีการระมัดระวังตัว โอกาสแพร่กระจายเป็นจำนวนมากจึงสูง
อย่างไรก็ตามอย่างที่ทราบว่า โรคซาร์สมียารักษาได้ ดังนั้นอัตราการเสียชีวิตจึงต่ำกว่าไวรัสเมอร์สที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษา

แม้จะยังไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทย แต่ประเทศไทยก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน เพราะมีชาวไทยจำนวนไม่น้อยเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งแรงงานที่เดินทางไปทำงานในแถบตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ อีกทั้งยังมีนักท่องเที่ยวจากชาติที่มีการแพร่ระบาดของโรคเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม ศ. นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านวิจัยและฝึกอบรมโรคติดเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คน ก็มองว่า แม้ประเทศไทยจะมีความเสี่ยงในเรื่องนี้ แต่ก็ต้องพิจารณาปัจจัย 3 ข้อ ประกอบด้วย คือ



ทั้งนี้จากมาตรการรับมือของกระทรวงสาธารณสุขถือว่าทำได้ดีทีเดียว ส่วนเชื้อไวรัสเมอร์สที่กลัวว่าจะมีในค้างคาวไทยก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะจากการสำรวจค้างคาวไทยมาหลายสิบปี กว่า 1,000 ตัวอย่าง ไม่พบเชื้อไวรัสเมอร์ส แต่พบแค่สายพันธุ์หรือรหัสพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกันมาก แต่หลังจากตรวจคนที่สัมผัสใกล้ชิดค้างคาวก็ไม่พบว่ามีใครติดเชื้อไวรัสจากค้างคาวไทย


หากใครมีประวัติเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด แล้วมีอาการไอ เป็นหวัด ให้ใส่หน้ากากอนามัย และพักผ่อนอยู่ที่บ้าน หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศด้วย แต่ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไตวาย โรคปอดเรื้อรัง และภูมิต้านทานโรคต่ำ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกว่า
นอกจากนี้ยังสามารถโทร. 1422 ปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค beid.ddc.moph.go.th








อย่างไรก็ตาม ขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่มีคำสั่งห้ามเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด ดังนั้นต้องคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด


วิธีป้องกันไวรัสเมอร์สก็ทำเหมือนกับโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั่วไป คือต้องรักษาร่างกายตัวเองให้แข็งแรง อีกทั้งต้องมีสุขอนามัยที่ดี เช่น






รับทราบข้อมูลแล้วก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกมากเกินไป เพราะทางกระทรวงสาธารณสุขของไทยเตรียมพร้อมรับมือกับโรคนี้อย่างเต็มที่ ส่วนตัวเราเองนั้น การได้รู้ข้อมูลของโรคนี้ไว้บ้าง ก็ช่วยให้เรารู้จักสังเกตตัวเองหรือคนใกล้ชิด เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังโรคนี้ได้เช่นกัน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


