(ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล)
นักวิจัยไทยคิดค้นวิธีการทำหมันยุงลายสำเร็จ ครั้งแรกของโลก ช่วยควบคุมปริมาณยุง ป้องกันโรคไข้เลือดออก-ไข้ชิคุนกุนยา เตรียมนำเสนอในเวทีประชุมระดับโลก เป็นต้นแบบให้นานาชาติ
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 รศ.ปัทมาภรณ์ กฤตยพงษ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศพาหะ และโรคที่นำโดยพาหะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงความสำเร็จในการศึกษาวิจัยเรื่องการใช้เทคโนโลยีชีวภาพกำจัดยุงลาย โดยการนำแบคทีเรียของยุงลายสวนและยุงรำคาญ มาพัฒนาและใส่ลงไปในยุงลายบ้าน ซึ่งเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวจะมีความต้านทานต่อโรคไข้เลือดออก ก่อนนำมาฉายรังสีเพื่อทำให้ยุงตัวผู้เป็นหมัน ป้องกันการเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายเหล่านี้
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเพาะเพิ่มจำนวนให้มากพอ และจากนี้ภายใน 2-3 เดือน จะนำยุงที่พัฒนาแล้วซึ่งมีชื่อว่า "TH AB" ไปปล่อยในพื้นที่นำร่อง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อให้ยุง TH AB ไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียที่เป็นยุงลายบ้านทั่วไป เพื่อควบคุมปริมาณยุงลาย ทั้งยังเป็นวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือกระทบต่อระบบนิเวศจนเกิดยุงลายสายพันธุ์ใม่ เนื่องจากไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม เพียงแค่ใช้เทคนิคทางชีวภาพเท่านั้น
และยิ่งไปกว่านั้น ความสำเร็จใตครั้งนี้จะได้รับการนำเสนอในเวทีการประชุมระดับนานาชาติ ในงานประชุมควบคุมโรคที่ประเทศบราซิล ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกและทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ในวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งได้มีการเชิญทีมวิจัยไปด้วยในฐานะผู้เชี่ยวชาญ และนำเสนอผลการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่น ๆ นำไปควบคุมปริมาณยุงต่อไป ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่เราพัฒนาสายพันธุ์ยุงให้ป้องกันไข้เลือดออก รวมถึงไข้ชิคุนกุนยาได้ ส่วนซิกาในหลักการน่าจะควบคุมได้ แต่จะศึกษาอย่างละเอียดอีกครั้ง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก