สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
อย.ขอประชาชนอย่าตื่น หลังมีข่าวพบผักไฮโดรโปนิกเสี่ยงมะเร็ง ชี้ยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ แนะทานร่วมกับพืชผักที่มีวิตามินซีช่วยป้องกันสารก่อมะเร็งได้
จากกรณีที่สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยผลการวิจัยที่พบว่า ผักไฮโดรโปนิกมีปริมาณไนเตรตสะสมอยู่มากเกินไป เนื่องจากผู้ปลูกใส่ปุ๋ยมากเกินความต้องการของพืช หากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ไนเตรต ไปรวมตัวกับสารเหนี่ยวนำที่ทำให้เกิดมะเร็ง ส่งผลให้ผู้บริโภคผักที่มีปริมาณไนเตรตสะสมอยู่สูง มีแนวโน้มเป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ ได้ จึงนับเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยตรง
เกี่ยวกับประเด็นนี้ นางสาวทิพวรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงว่า ยังไม่เคยมีการศึกษาว่า การบริโภคผักที่มีไนเตรตสะสมอยู่สูงจะก่อให้เกิดมะเร็งได้หรือไม่ แต่หากบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีไนเตรตสูงเกินมาตรฐานจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งสูงกว่าการบริโภคผักที่มีไนเตรตสูงอย่างแน่นอน เพราะโปรตีนในเนื้อสัตว์ที่มีสภาพเป็นกรด และมีความร้อนจะทำปฏิกิริยากับไนเตรตแล้วเปลี่ยนรูปกลับเป็นไนไตรต์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ผู้บริโภคเป็นมะเร็ง ดังนั้น ทุกวันนี้ ประเทศไทยจึงยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานไนเตรตที่สะสมอยู่ในพืชผัก เหมือนประเทศแถบยุโรปที่นิยมบริโภคอาหารเนื้อสัตว์ที่มีสภาพเป็นกรด จึงเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่าคนไทย แต่ถึงอย่างไร ก็คงต้องมีการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผอ.กองควบคุมอาหาร อย. ก็ได้แนะนำให้ผู้บริโภคผักไฮโดรโปนิกไม่ควรตื่นตระหนกต่อกรณีดังกล่าว เพราะมีโอกาสน้อยที่จะเป็นมะเร็ง พร้อมแนะนำว่า ควรรับประทานผักต่าง ๆ ร่วมกับพืชผักที่มีวิตามินซี เพราะจะช่วยยับยั้งการทำปฏิกิริยาเปลี่ยนรูปไนเตรตเป็นสารก่อมะเร็งได้
ด้านนางสาวจิตรา คล้ายมน หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยเกษตรเคมี สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การปลูกผักไฮโดรโปนิกมีสูตรการใส่ปุ๋ยอยู่แล้ว แม้เกษตรกรผู้เพาะปลูกผักจะให้ปุ๋ยมากเกินไป แต่ผักก็จะดูดอาหาร คือไนโตรเจนไปใช้เจริญเติบโตเท่าที่ต้องการ ดังนั้นจึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องควบคุมการใส่ปุ๋ยในผักไฮโดรโปนิก เนื่องจากการตกค้างของปุ๋ยเคมีในผักมักจะเกิดขึ้นในต่างประเทศเมืองหนาว มีปัญหาสภาพแสงแดดน้อย ทำให้ไนเตรตที่สะสมในผักระเหยตัวได้น้อย ส่วนประเทศไทยมีแสงแดดจัดจึงไม่ต้องกังวลเรื่องสารตกค้างในผัก
"ยังไม่เคยรับทราบข้อมูลการศึกษาเรื่องการสะสมไนเตรตในผักไฮโดรโปนิก เราจะควบคุมเฉพาะมาตรฐานสุขอนามัยเท่านั้น ข้อมูลเรื่องนี้มีแต่ในต่างประเทศ ส่วนไทยยังไม่เคยสำรวจมาก่อน ดังนั้นคิดว่า จะต้องประสานกับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส่งข้อมูลวิจัยมาศึกษาเพิ่มเติม" น.ส.จิตรากล่าว
อย.ขอประชาชนอย่าตื่น หลังมีข่าวพบผักไฮโดรโปนิกเสี่ยงมะเร็ง ชี้ยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ แนะทานร่วมกับพืชผักที่มีวิตามินซีช่วยป้องกันสารก่อมะเร็งได้
จากกรณีที่สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยผลการวิจัยที่พบว่า ผักไฮโดรโปนิกมีปริมาณไนเตรตสะสมอยู่มากเกินไป เนื่องจากผู้ปลูกใส่ปุ๋ยมากเกินความต้องการของพืช หากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ไนเตรต ไปรวมตัวกับสารเหนี่ยวนำที่ทำให้เกิดมะเร็ง ส่งผลให้ผู้บริโภคผักที่มีปริมาณไนเตรตสะสมอยู่สูง มีแนวโน้มเป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ ได้ จึงนับเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยตรง
เกี่ยวกับประเด็นนี้ นางสาวทิพวรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงว่า ยังไม่เคยมีการศึกษาว่า การบริโภคผักที่มีไนเตรตสะสมอยู่สูงจะก่อให้เกิดมะเร็งได้หรือไม่ แต่หากบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีไนเตรตสูงเกินมาตรฐานจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งสูงกว่าการบริโภคผักที่มีไนเตรตสูงอย่างแน่นอน เพราะโปรตีนในเนื้อสัตว์ที่มีสภาพเป็นกรด และมีความร้อนจะทำปฏิกิริยากับไนเตรตแล้วเปลี่ยนรูปกลับเป็นไนไตรต์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ผู้บริโภคเป็นมะเร็ง ดังนั้น ทุกวันนี้ ประเทศไทยจึงยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานไนเตรตที่สะสมอยู่ในพืชผัก เหมือนประเทศแถบยุโรปที่นิยมบริโภคอาหารเนื้อสัตว์ที่มีสภาพเป็นกรด จึงเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่าคนไทย แต่ถึงอย่างไร ก็คงต้องมีการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผอ.กองควบคุมอาหาร อย. ก็ได้แนะนำให้ผู้บริโภคผักไฮโดรโปนิกไม่ควรตื่นตระหนกต่อกรณีดังกล่าว เพราะมีโอกาสน้อยที่จะเป็นมะเร็ง พร้อมแนะนำว่า ควรรับประทานผักต่าง ๆ ร่วมกับพืชผักที่มีวิตามินซี เพราะจะช่วยยับยั้งการทำปฏิกิริยาเปลี่ยนรูปไนเตรตเป็นสารก่อมะเร็งได้
ด้านนางสาวจิตรา คล้ายมน หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยเกษตรเคมี สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การปลูกผักไฮโดรโปนิกมีสูตรการใส่ปุ๋ยอยู่แล้ว แม้เกษตรกรผู้เพาะปลูกผักจะให้ปุ๋ยมากเกินไป แต่ผักก็จะดูดอาหาร คือไนโตรเจนไปใช้เจริญเติบโตเท่าที่ต้องการ ดังนั้นจึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องควบคุมการใส่ปุ๋ยในผักไฮโดรโปนิก เนื่องจากการตกค้างของปุ๋ยเคมีในผักมักจะเกิดขึ้นในต่างประเทศเมืองหนาว มีปัญหาสภาพแสงแดดน้อย ทำให้ไนเตรตที่สะสมในผักระเหยตัวได้น้อย ส่วนประเทศไทยมีแสงแดดจัดจึงไม่ต้องกังวลเรื่องสารตกค้างในผัก
"ยังไม่เคยรับทราบข้อมูลการศึกษาเรื่องการสะสมไนเตรตในผักไฮโดรโปนิก เราจะควบคุมเฉพาะมาตรฐานสุขอนามัยเท่านั้น ข้อมูลเรื่องนี้มีแต่ในต่างประเทศ ส่วนไทยยังไม่เคยสำรวจมาก่อน ดังนั้นคิดว่า จะต้องประสานกับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส่งข้อมูลวิจัยมาศึกษาเพิ่มเติม" น.ส.จิตรากล่าว
ทั้งนี้ สำหรับผลวิจัยว่า พบสารไนเตรตในผักไฮโดรโปนิกจะส่งผลให้เกิดมะเร็งได้นั้น ได้รับการเปิดเผยจาก นางสาวพัชราภรณ์ ภู่ไพบูลย์ นักวิจัยจากฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมคณะนักวิจัยคือ นางสาววาสนา บัวงาม และนางศิริวัลย์ สร้อยกล่อม ร่วมกันศึกษาการสะสมไนเตรตในพืชผักที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากมีน้อยคนที่จะทราบว่า ในพืชผักยังมีธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต คือ ไนโตรเจน ซึ่งพืชจะนำไนโตรเจนไปใช้ในรูปของไนเตรต และหากมีไนโตรเจนมากเกินความต้องการของพืช อาจทำให้เกิดการสะสมไนเตรตในดินและพืชมากขึ้น เมื่อรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ไนเตรต ไปรวมตัวกับสารเหนี่ยวนำที่ทำให้เกิดมะเร็ง ดังนั้นผู้บริโภคผักที่มีปริมาณไนเตรตสะสมอยู่สูง จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ นับเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยตรง
นางสาวพัชราภรณ์ระบุว่า ผลการศึกษาการสะสมไนเตรตในผักคะน้า ผักกาดหอม และผักบุ้ง ที่จำหน่ายทั้งในตลาดสดและศูนย์การค้า โดยแบ่งผักออกเป็นประเภทผักไฮโดรโปนิก ผักอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ และผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี นำมาวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า ผักที่ปลูกในน้ำยาไฮโดรโปนิกมีแนวโน้มการสะสมไนเตรตสูงสุด เพราะวิธีปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกมีการเติมน้ำยาให้พืชเจริญเติบโตมากเกินความจำเป็น หรือมากเกินความต้องการตามธรรมชาติของผัก โดยผักคะน้าไฮโดรโปนิกมีค่าเฉลี่ยของไนเตรตสูงที่สุด 4,529 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมน้ำหนักสด
รองลงมาคือ ผักบุ้ง มีปริมาณไนเตรต 3,978 มิลลิกรัม และผักกาดหอมมีปริมาณไนเตรต 1,729 มิลลิกรัม โดยค่ามาตรฐานที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ในผักรับประทานใบให้มีค่าไนเตรตไม่เกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม จะเห็นว่าผักคะน้าและผักบุ้งไฮโดรโปนิกมีปริมาณไนเตรตเกินมาตรฐาน ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานค่าไนเตรตในพืชผัก ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกร และผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกควรลดปริมาณการใส่น้ำยา หรือเติมน้ำเปล่าให้มากขึ้น ส่วนการปลูกผักแบบอื่น ๆ ก็ไม่ควรใส่ปุ๋ยมากเกินไป
"ผลการศึกษาดังกล่าว เราได้นำเสนอบนเวทีการวิชาการประจำปีของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และยังได้ศึกษาเพิ่มเติม เพื่อหาแนวทางในการลดไนเตรตในพืชผักก่อนการบริโภค โดยนำผักคะน้าและผักบุ้งไปต้มน้ำเดือดหรือทำการนึ่งเป็นเวลา 10 นาที ซึ่งสามารถช่วยลดค่าไนเตรตในผักบุ้งและผักคะน้าลดลง 47%" นางสาวพัชราภรณ์เผย
นอกจากนี้การแช่ผักคะน้าและผักบุ้งในน้ำ 1 วัน การแช่ในด่างทับทิมและการแช่ในน้ำเกลือ ก็มีแนวโน้มที่จะช่วยทำให้ค่าไนเตรต-ไนโตรเจนลดลงด้วยเช่นกัน จึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคควรทำความสะอาดพืชผัก ผลไม้ทุกชนิด ทั้งประเภทพืชที่ปลูกแบบปลอดสารเคมี ปลูกแบบชีวอินทรีย์ ปลูกแบบไม่ใช้ดิน ก่อนนำมารับประทาน ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของภัยเงียบจากพิษสะสมที่เกิดจากไนเตรตในพืชได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก