
บริจาคอวัยวะ...ต่อชีวิตผู้อื่น (ไทยโพสต์)
จัดต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 5 สำหรับโครงการ "Let Them See Love ปีที่ 5" โครงการบริจาคอวัยวะและดวงตา ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย และศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย เพื่อต้องการรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ผ่านการให้โดยการบริจาคอวัยวะและดวงตา ทั้งนี้เพื่อขยายการบริจาคเป็นวงกว้าง และส่งต่อไปยังผู้รับบริจาคที่ยากไร้ต่อไป
ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ป่วยที่รอการปลูกถ่ายอวัยวะอยู่จำนวนถึง 9,395 ราย โดยแบ่งเป็นอวัยวะ 2,717 ราย และดวงตา 6,678 ราย ประกอบกับในปี 2553 ที่ผ่านมา ศูนย์รับบริจาคอวัยวะได้รับการบริจาคอวัยวะเพียง 87 รายเท่านั้น และสามารถนำอวัยวะไปปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ทั้งสิ้น 442 ราย และสำหรับศูนย์บริจาคดวงตามีผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา 471 ราย
จากที่กล่าวมาจึงเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่า ในประเทศไทยนั้นยังประสบกับปัญหาการขาดแคลนอวัยวะ สำหรับการปลูกถ่ายอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวในแต่ละปีนั้น ก็มีผู้ป่วยที่รอผู้มาบริจาคอวัยะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี จึงได้มีการจัดโครงการ "Let Them See Love" นี้ขึ้นอย่างต่อมาเป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการให้ ผ่านการทำบุญอันยิ่งใหญ่ นั่นคือ การให้ชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยการบริจาคอวัยวะและดวงตา
สำหรับอวัยวะที่สามารถนำไปปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่นได้นั้น ประกอบด้วย 5 อวัยวะ คือ หัวใจ ตับ ปอด ไต และดวงตา (อวัยวะเหล่านี้จะสามารถมอบได้ต่อเมื่อ ผู้มอบเสียชีวิตด้วยภาวะแกนสมองตายเท่านั้น)
สำหรับขั้นตอนของการรับบริจาคอวัยวะนั้น ผู้ที่สนใจสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ ร่วมกันบริจาคอวัยวะและดวงตาโดยการ


หรือร่วมบริจาคทุนทรัพย์เพื่อสมทบทุนค่าใช้จ่าย ในกระบวนการบริจาคอวัยวะ/ดวงตา โดย



น.ส.อังศุพร จูเลิศหทัย อายุ 34 ปี ผู้ที่ได้รับการบริจาคไต เล่าว่า ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไต ตั้งแต่ศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ชั้นปีที่ 3 และได้รับการบริจาคไตเมื่อปี 2543 ซึ่งในตอนนั้นตนเองรู้สึกดีใจมาก และทราบซึ้งใจต่อผู้ที่บริจาคไตให้กับตน เพราะหลังที่จากการผ่าตัดไตแล้ว ทำให้ตนเองนั้นสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเช่นคนปกติ เช่น สามารถรับประทานอาหาร หายใจได้สะดวก ขับถ่ายปัสสาวะได้เป็นปกติ ตลอดจนมีครอบครัวที่อบอุ่นเช่นทุกวันนี้ ดังนั้นจึงอยากขอบคุณผู้บริจาคอวัยวะทุกท่าน และอยากบอกว่าการบริจาคอวัยวะนั้นถือเป็นมหาบุญที่ยิ่งใหญ่ เพราะถ้าเราเสียชีวิตไปแล้วและไม่ได้ใช้ก็อยากให้ช่วยกันบริจาค เพราะอวัยวะเหล่านี้ สามารถช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้มีชีวิตยืนยาวต่อไปได้
ด้านนางธันยพรรษ เกตุคง ตัวแทนครอบครัวที่ร่วมบริจาคอวัยวะ เล่าว่า น้องกริช ลูกชายวัย 23 ปี เสียชีวิตโดยประสบอุบัติทางรถจักรยานยนต์เมื่อปี 2551 และสาเหตุที่ตนตัดสินใจบริจาคอวัยวะทุกส่วนของลูกชาย ให้กับสภากาชาดไทยนั้น เนื่องจากเชื่อมั่นในคำตัดสินของแพทย์ ที่ระบุว่า ลูกชายนั้นเสียชีวิตแล้ว จากภาวะที่เรียกว่าแกนสมองตายแล้วนั่นเอง และส่วนหนึ่งก็อยากขอบคุณผู้ที่แนะนำให้ตนบริจาคอวัยวะของลูกชาย ไม่ว่าจะเป็นคนรอบข้าง หรือคนในครอบครัว พร้อมกันนี้ ยังฝากบอกผู้ที่อยากร่วมบริจาคอวัยวะทุกท่านโดยให้คิดเสมอว่า หากเราเสียชีวิตไปแล้วอวัยวะทุกส่วนของเราก็ไม่สามารถเอาไปได้ ดังนั้น หากเราสละชิ้นส่วนที่มีค่าของเรา เพื่อต่อชีวิตให้ผู้อื่นก็จะถือเป็นบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ และที่สำคัญไม่ต้องกลัวว่า หากเกิดมาชาติหน้าจะมีอวัยวะไม่ครบ
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
