x close

บำบัดโรคพาร์กินสันด้วยการฝังเข็ม


ฝังเข็ม


บำบัดพาร์กินสันด้วยการฝังเข็ม (ไทยโพสต์)

          โรคพาร์กินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย มักจะพบมากในผู้สูงอายุ วัย 50-60 ปีขึ้นไป เกิดจากการเสียสมดุลของสารโดปามีนในสมอง โดยเซลล์สมองส่วนที่สร้างโดปามีนถูกทำลายไปมากกว่าร้อยละ 80

          ดร.คิงส์ตัน ซี ฮาว อุย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังเข็ม กล่าวว่า โดปามีนเป็นสารเคมีในสมอง ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย หากขาดโดปามีนในสมองจะทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายผิดปกติ อาการของโรคพาร์กินสันจะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทเด่นชัด คือ อาการสั่น โดยอาการสั่นมักเกิดขณะที่อยู่เฉย ๆ และจะสั่นมากเวลาอยู่นิ่ง ๆ เกิดกับมือข้างใดข้างหนึ่ง อาการเกร็ง มักมีอาการแข็งตึงของแขนขาและลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก และอาการเคลื่อนช้า ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน นั่ง หรือเคลื่อนไหวร่างกายก็ช้าลงไปจากเดิม ไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนเช่นเคย สังเกตได้ว่าแขนไม่แกว่งและแขนขาไม่มีแรง

          ในศาสตร์ของแพทย์แผนจีนให้ชื่อโรคนี้ว่า "อาการเกร็ง" อันเกิดจากความพร่องของไตและหยินของตับ ร่วมกับการเกิดลมภายใน ทำให้เกิดอาการสั่นและเกร็ง หรือเกิดจากการดื่มสุราและรับประทานยาที่ไปทำลายตับ รวมทั้งผู้ที่มีภาวะเสมหะและเลือดอุดกั้นในเส้นลมปราณ ถ้าเป็นที่ไตก็จะมีแยกออกมาเป็น หยินพร่อง หยางพร่อง หรือเป็นหยินหยางพร่อง การสังเกตอาการคนที่หยินพร่องคือ นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท สำหรับคนที่หยางพร่อง คือ มือเท้าเย็น เท้าไม่มีแรง

          ดร.คิงส์ตัน กล่าวถึงการรักษาแบบแพทย์แผนจีนด้วยการฝังเข็มว่า ในการรักษาโรคพาร์กินสันด้วยการฝังเข็มนั้นเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ถ้าเริ่มเป็นโอกาสที่จะควบคุมอาการไม่ให้ขยายตัวเร็วก็ยิ่งมีมาก ในการรักษาจะเริ่มจากการบำรุงไตและตับ โดยจะเน้นไปที่การบำรุงส่วนที่เป็นหยิน กำจัดเสมหะที่สะสมอยู่ภายใน สลายการคั่งของเลือดและสงบลมภายใน และการรักษาด้วยการฝังเข็มนั้นจะช่วยกระตุ้นและปรับระบบหยินหยางให้ดียิ่งขึ้น จุดที่ฝังเข็มส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่ศีรษะ เท้า หลังและคอ นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรจีนเพื่อช่วยในการรักษา และช่วยให้ร่างกายปรับสภาพสมดุลทำให้หยินหยางดีขึ้นอีกด้วย

          ผลการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มและรับประทานยาสมุนไพรควบคู่กันไป จะใช้ระยะเวลาการรักษาประมาณ 3-6 เดือน ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น อาการสั่นลดลง และช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น

          อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันไม่ควรรับประทานอาหารรสจัดและไขมันสูง ควรรับประทานอาหารที่ช่วยทำให้การขับถ่ายดีขึ้น รวมทั้งควรการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ฝึกการทรงตัวโดยการฝึกพลังชี่กงเพื่อปรับหยินหยางให้สมดุล สิ่งเหล่านี้ยิ่งจะช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย แข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย




ขอขอบคุณข้อมูลจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
บำบัดโรคพาร์กินสันด้วยการฝังเข็ม อัปเดตล่าสุด 16 ธันวาคม 2556 เวลา 17:12:55 5,753 อ่าน
TOP