กินยาแล้วง่วง..อย่าห่วงขับรถ

หลับ,ง่วง

กินยาแล้วง่วง..อย่าห่วงขับรถ (Ya&You)


ผู้เรียบเรียง ภก. ปรัชญา เจตินัย
นักวิชาการ มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

          ยาบางชนิดทั้งที่ได้รับจากแพทย์หรือหาซื้อรับประทานเองตามร้านขายยาเพื่อรักษาโรคหรืออาการที่เป็นอยู่ ยาหลายชนิดมักมีผลทำให้สูญเสียความสามารถในการขับขี่ คุณอาจไม่รู้สึกตัวว่ายาอาจทำให้สูญเสียความสามารถในการขับขี่จนกว่าคุณจะอยู่ในสภาวะที่ต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วและแม่นยำเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นเสมอไปว่ายาเหล่านี้จะมีผลต่อการขับขี่ของคุณ

โรคหรืออาการที่อาจจะได้รับยาที่มีผลต่อความสามารถในการขับขี่ ได้แก่ 

          นอนไม่หลับ เครียด ซึมเศร้า

         โรคทางระบบประสาท

         ภูมิแพ้ ไข้หวัด อาการไอ

         อาการปวด

         ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

         เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

         ยาที่มีการใช้บ่อย ได้แก่ chlorpheniramine, diphenhydramine, dimenhydrinate, ibuprofen, naproxen, tramadol, codeine, amitriptyline, flunarizine, cinnarizine, tolperisone, ?orphenadrine ฯลฯ โดยยาเหล่านี้อาจทำให้

         ง่วงนอน อ่อนเพลีย อ่อนล้า

         การมองเห็นเปลี่ยนไป ไม่สามารถปรับระยะสายตาได้ มองภาพเบลอ

         วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด

         เคลื่อนไหวช้าลง

         คลื่นไส้

         หงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์เสียง่าย

         กระสับกระส่าย เสียสมาธิ

หากต้องขับรถแล้วจะรับประทานยาเหล่านี้ได้หรือไม่

         ถ้าหากคุณเคยรับประทานยาเหล่านี้มาแล้วและไม่เกิดอาการข้างเคียงใด ๆ ก็สามารถขับขี่รถได้ตามปกติ ในบางรายหากเกิดอาการข้างเคียง แพทย์จะเป็นผู้ลดผลกระทบจากยาที่มีต่อการขับขี่รถของคุณ โดยที่แพทย์อาจจะ

         ปรับขนาดยา

         ปรับเวลาในการรับประทานยา เช่น อาจรับประทานยาหลังจากขับรถถึงที่หมายแล้ว หรือให้รับประทานก่อนนอน

         แนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ออกกำลังกาย หรือ รับประทานอาหาร เพื่อทดแทนการใช้ยา

         และสุดท้าย แพทย์อาจเปลี่ยนยาเป็นตัวยาที่มีผลทำให้ง่วงนอนน้อยกว่า

การปฏิบัติตัวเมื่อรับประทานยาเหล่านี้

          หากได้ยาใหม่ ควรสังเกตอาการข้างเคียงในช่วงแรก แม้ว่ายาจะมีแนวโน้มทำให้ง่วงแต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคน

         แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง หากคุณรับประทานยา ยาสมุนไพร หรืออาหารเสริม เพราะยาบางอย่างอาจเสริมฤทธิ์ในการเกิดผลข้างเคียง

         ไม่ควรรับประทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ บรั่นดี เหล้า

         หากมีอาการง่วงให้หยุดขับรถชั่วคราว การรับประทานยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ร่างกายมักจะปรับตัวได้ อาการง่วงอาจลดลงหรือหายไปในที่สุด

         ห้ามหยุดยาเองโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง ยาบางอย่างหากหยุดรับประทานอาจมีผล

         คาดเข็มขัดนิรภัยหรือสวมหมวกกันน็อกทุกครั้ง

ทางเลือก หากเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรับประทานยา

         หาเพื่อนร่วมทาง อาจเป็นญาติหรือเพื่อนสักคน แนะนำว่าควรเป็นผู้ที่ขับขี่รถเป็นด้วย

         โบกแท็กซี่

         นั่งรถตู้ รถประจำทาง รถไฟฟ้า

         หากที่ทำงานไม่ไกลมากนักหรือรู้สึกง่วงแล้วหละก็ จอดรถทิ้งไว้แล้วเดินออกกำลังสักนิดก็คงพอทำให้สดชื่น หายง่วงขึ้นมาบ้าง

         หากสงสัยว่ายาที่ท่านได้มานั้นมีโอกาสทำให้ง่วงหรือไม่ สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ที่ www.yaandyou.net


 

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 

  คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ

 





ขอขอบคุณข้อมูลจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กินยาแล้วง่วง..อย่าห่วงขับรถ อัปเดตล่าสุด 21 ตุลาคม 2560 เวลา 08:24:10 1,631 อ่าน
TOP
x close