กินเจอย่างไรไม่ให้ป่วย (Momypedia)
เทศกาลกินเจได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งนอกจากจะได้บุญจากการละเว้นเนื้อสัตว์แล้ว ยังได้สุขภาพที่ดีอีกด้วย แต่ถ้าหากกินผิดหลักระวังจะป่วยได้นะคะ มาดูกันว่าควรเลือกการกินเจอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ
ล้างให้สะอาด
แน่นอนว่าวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารเจ ส่วนใหญ่จะมีวัตถุหลักคือ ผัก การนำผักมาประกอบอาหารควรล้างให้สะอาด ไม่มีสารพิษจากยากำจัดแมลงตกค้าง ควรล้างด้วยน้ำไหล 2 นาที หรือแช่ด้วยเกลือ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร หากมีน้ำส้มสายชูก็สามารถนำมาใช้ล้างผักได้เช่นกัน อัตราส่วนครึ่งถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร โดยแช่ไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นน้ำมาล้างน้ำสะอาดอีก 2 ครั้ง
แต่หากดูแล้วยุ่งยากเกินไป หรือไม่สะดวกที่จะทำเอง การเลือกซื้ออาหารเจจากร้านค้าควรเลือกร้านที่สะอาด ตามหลักโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดีต่อคนทานอย่างเรา ๆ นะคะ
ลดอาหารเค็มหรือหวานเกินไป
เนื่องจากการปรุงอาหารเจจะไม่มีส่วนผสมบางอย่างที่สามารถปรุงได้ ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วมักใช้ซีอิ๊ว ซอส น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงหลัก แต่ความเค็มมีโซเดียมสูง ส่งผลต่อภาวะความดันโลหิตสูงและไตทำงานหนัก ส่วนความหวานจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ ดังนั้นควรลดการเติมซอส ซีอิ๊ว และน้ำตาลนะคะ
เลี่ยงแป้งซะ
ใครว่ากินเจแล้วจะผอม ช้าก่อน ! อาหารเจส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมที่เป็นแป้ง ดังนั้นอาหารเจที่มีแป้งมาก โดยเฉพาะประเภทผัด ทอด จะมีไขมันสูง หากได้รับเกินความจำเป็นจะทำให้น้ำหนักเกินและอ้วน ควรเน้นประเภทต้มที่มีผักเป็นส่วนประกอบจะดีที่สุดค่ะ
ห้ามขาดอาหารประเภทนี้
อย่างที่ทราบกันดีว่าอาหารเจไม่มีเนื้อสัตว์ จึงควรเลือกอาหารที่มีถั่วหรือผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น น้ำเต้าหู้ ฟองเต้าหู้ โปรตีนเกษตร และซื้อจากร้านอาหารหรือแผงลอยมีป้ายสัญลักษณ์ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เพื่อไม่ให้ขาดสารอาหารจนเกินไป
การถือศีลกินเจเป็นสิ่งที่ดีต่อชีวิตและร่างกาย ได้ทั้งบุญเนื่องจากไม่มีฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และยังได้สุขภาพที่ดีจากการทานผักผลไม้มากขึ้นอีกด้วยนะคะ แต่อย่างไรก็ตาม อาหารเจนั้นทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการขาดโปรตีนและธาตุเหล็ก โดยเฉพาะเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย แม้จะมีผลิตภัณฑ์ที่ทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ในรูปแบบต่าง ๆ แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์จากแป้ง จึงควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และควรเลือกบริโภคอาหารประเภทธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ รวมทั้งเต้าหู้ โปรตีนเกษตรเป็นแหล่งโปรตีนทดแทน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เทศกาลกินเจได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งนอกจากจะได้บุญจากการละเว้นเนื้อสัตว์แล้ว ยังได้สุขภาพที่ดีอีกด้วย แต่ถ้าหากกินผิดหลักระวังจะป่วยได้นะคะ มาดูกันว่าควรเลือกการกินเจอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ
ล้างให้สะอาด
แน่นอนว่าวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารเจ ส่วนใหญ่จะมีวัตถุหลักคือ ผัก การนำผักมาประกอบอาหารควรล้างให้สะอาด ไม่มีสารพิษจากยากำจัดแมลงตกค้าง ควรล้างด้วยน้ำไหล 2 นาที หรือแช่ด้วยเกลือ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร หากมีน้ำส้มสายชูก็สามารถนำมาใช้ล้างผักได้เช่นกัน อัตราส่วนครึ่งถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร โดยแช่ไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นน้ำมาล้างน้ำสะอาดอีก 2 ครั้ง
แต่หากดูแล้วยุ่งยากเกินไป หรือไม่สะดวกที่จะทำเอง การเลือกซื้ออาหารเจจากร้านค้าควรเลือกร้านที่สะอาด ตามหลักโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่ดีต่อคนทานอย่างเรา ๆ นะคะ
ลดอาหารเค็มหรือหวานเกินไป
เนื่องจากการปรุงอาหารเจจะไม่มีส่วนผสมบางอย่างที่สามารถปรุงได้ ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วมักใช้ซีอิ๊ว ซอส น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงหลัก แต่ความเค็มมีโซเดียมสูง ส่งผลต่อภาวะความดันโลหิตสูงและไตทำงานหนัก ส่วนความหวานจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ ดังนั้นควรลดการเติมซอส ซีอิ๊ว และน้ำตาลนะคะ
เลี่ยงแป้งซะ
ใครว่ากินเจแล้วจะผอม ช้าก่อน ! อาหารเจส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมที่เป็นแป้ง ดังนั้นอาหารเจที่มีแป้งมาก โดยเฉพาะประเภทผัด ทอด จะมีไขมันสูง หากได้รับเกินความจำเป็นจะทำให้น้ำหนักเกินและอ้วน ควรเน้นประเภทต้มที่มีผักเป็นส่วนประกอบจะดีที่สุดค่ะ
อย่างที่ทราบกันดีว่าอาหารเจไม่มีเนื้อสัตว์ จึงควรเลือกอาหารที่มีถั่วหรือผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น น้ำเต้าหู้ ฟองเต้าหู้ โปรตีนเกษตร และซื้อจากร้านอาหารหรือแผงลอยมีป้ายสัญลักษณ์ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เพื่อไม่ให้ขาดสารอาหารจนเกินไป
การถือศีลกินเจเป็นสิ่งที่ดีต่อชีวิตและร่างกาย ได้ทั้งบุญเนื่องจากไม่มีฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และยังได้สุขภาพที่ดีจากการทานผักผลไม้มากขึ้นอีกด้วยนะคะ แต่อย่างไรก็ตาม อาหารเจนั้นทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการขาดโปรตีนและธาตุเหล็ก โดยเฉพาะเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย แม้จะมีผลิตภัณฑ์ที่ทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ในรูปแบบต่าง ๆ แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์จากแป้ง จึงควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และควรเลือกบริโภคอาหารประเภทธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ รวมทั้งเต้าหู้ โปรตีนเกษตรเป็นแหล่งโปรตีนทดแทน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก