อันตรายของยานอนหลับร้ายแรงแค่ไหน คนที่ต้องกินยานอนหลับติดต่อกันนาน ๆ อยากรู้ผลข้างเคียงจากยานอนหลับมีอะไรบ้าง แล้วผลเสียของยานอนหลับเป็นอย่างไร ลองมาอ่านกัน
นอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก เป็นปัญหาระดับชาติของหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้ และพอนอนไม่หลับบ่อยเข้าก็เริ่มหาตัวช่วยอย่างยานอนหลับมากิน แต่ก็เคยสงสัยกันใช่ไหมคะว่า ยานอนหลับอันตรายไหม กินต่อเนื่องนาน ๆ แล้วจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง คำตอบอยู่ตรงนี้แล้ว
ยานอนหลับ ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
แม้ยานอนหลับจะช่วยให้เรานอนหลับง่ายขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายานอนหลับมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนี้
- ตื่นมาไม่สดชื่น และบางคนอาจรู้สึกเวียนศีรษะหลังตื่นนอน
- อ่อนเพลีย
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- คลื่นไส้ อาเจียน (ในบางราย)
- ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง เมื่ออยู่ภายใต้ฤทธิ์ของยา
- เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หากกินยานอนหลับแล้วขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ อาจทำให้เผลอหลับและเกิดอันตรายได้
ยานอนหลับ อันตรายยังไง
การใช้ยานอนหลับเพื่อรักษาโรคในระยะเวลาสั้น ๆ อาจไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายเท่าไร หากเราสามารถหยุดยาและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ทว่ากับคนที่ต้องกินยานอนหลับนาน ๆ อาจได้รับอันตรายจากยานอนหลับ ดังนี้
* ดื้อยา
เมื่อใช้ยาติดกันไประยะหนึ่งแล้ว ยาอาจไม่ตอบสนองต่อร่างกายได้เท่าตอนใช้แรก ๆ กล่าวคือ ใช้ยาขนาดเท่าเดิม แต่ได้ผลน้อยลง กินยานอนหลับแต่นอนไม่หลับ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ก็คืออาการดื้อยา จำเป็นต้องใช้ยานอนหลับที่แรงกว่าเดิม หรือใช้ยานอนหลับในปริมาณที่มากกว่าเดิมถึงจะช่วยให้นอนหลับได้
* ติดยา
ยานอนหลับเป็นยาที่ออกฤทธิ์กดระบบประสาทและสมอง ดังนั้นหากเรากินยานอนหลับติดต่อกันนาน ๆ ร่างกายก็จะชินกับการมีตัวยาถึงจะทำให้นอนหลับได้ ดังนั้นเมื่อเราไม่ได้กินยานอนหลับก็จะเกิดอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ สุดท้ายก็ต้องไปพึ่งยานอนหลับ จนเหมือนว่าเราจะหยุดยานอนหลับไม่ได้เลย
* เสี่ยงอัลไซเมอร์
ยานอนหลับมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ดังนั้นหากกินยานอนหลับนาน ๆ อาจเสี่ยงต่ออาการสมองเสื่อม ความจำลดลง และเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ในกลุ่มผู้สูงอายุได้
* เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ยานอนหลับบางชนิดมีผลต่อเพศชาย โดยอาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
* อันตรายถึงชีวิต
หากกินยานอนหลับเกินขนาดอาจทำให้ยาไปออกฤทธิ์กดการทำงานของสมองในส่วนที่ควบคุมการหายใจ ก่อให้เกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
กินยานอนหลับกับเหล้า เบียร์ ยิ่งอันตราย
ยานอนหลับกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ไม่ควรกินคู่กันอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจไปเสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ ซึ่งอาจกดการหายใจจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ยานอนหลับ ไม่ควรใช้กับใครบ้าง
ผู้ที่ไม่ควรใช้ยานอนหลับเนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายได้มากกว่าปกติ ได้แก่
- ผู้ป่วยโรคตับ
- ผู้ป่วยโรคไต
- ผู้สูงอายุ
- หญิงตั้งครรภ์
- หญิงให้นมบุตร
- ผู้ป่วยโรคปอด
- ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ผู้ที่ใช้ยาออกฤทธิ์กดประสาทอยู่แล้ว
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ยานอนหลับ ซื้อได้ที่ไหน
ยานอนหลับเป็นยาในกลุ่มที่ต้องระมัดระวังในการใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ นั่นคือต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาให้เท่านั้น ดังนั้นยานอนหลับจึงไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และถึงแม้จะหาซื้อได้ แต่ก็ไม่ควรซื้อมากิน เพราะเราอาจกินยานอนหลับเกินขนาดที่จำเป็น จนเสี่ยงต่ออันตรายจากยานอนหลับโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ยานอนหลับเป็นดาบสองคมที่หากใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจเสี่ยงต่ออันตรายได้อย่างไม่คาดคิด ดังนั้นหากนอนไม่หลับอยากให้ลองแก้นอนไม่หลับด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ต้องพึ่งยาไปก่อน อย่างวิธีแก้นอนไม่หลับเหล่านี้
- 10 เคล็ดลับหลับปุ๋ย แก้ปัญหานอนไม่หลับ
- 4 เสียงช่วยกล่อมให้นอนหลับสบาย แก้ปัญหานอนตาค้างง่าย ๆ ด้วยโทนเสียง
- 19 วิธีทำให้ง่วงนอนสำหรับคนนอนไม่หลับ ไม่ต้องมัวนับแกะอีกต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก
หมอชาวบ้าน, เฟซบุ๊ก นิตยสารชีวจิต, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
ยานอนหลับ ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
แม้ยานอนหลับจะช่วยให้เรานอนหลับง่ายขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายานอนหลับมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนี้
- ตื่นมาไม่สดชื่น และบางคนอาจรู้สึกเวียนศีรษะหลังตื่นนอน
- อ่อนเพลีย
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- คลื่นไส้ อาเจียน (ในบางราย)
- ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง เมื่ออยู่ภายใต้ฤทธิ์ของยา
- เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หากกินยานอนหลับแล้วขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ อาจทำให้เผลอหลับและเกิดอันตรายได้
ยานอนหลับ อันตรายยังไง
การใช้ยานอนหลับเพื่อรักษาโรคในระยะเวลาสั้น ๆ อาจไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายเท่าไร หากเราสามารถหยุดยาและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ทว่ากับคนที่ต้องกินยานอนหลับนาน ๆ อาจได้รับอันตรายจากยานอนหลับ ดังนี้
* ดื้อยา
เมื่อใช้ยาติดกันไประยะหนึ่งแล้ว ยาอาจไม่ตอบสนองต่อร่างกายได้เท่าตอนใช้แรก ๆ กล่าวคือ ใช้ยาขนาดเท่าเดิม แต่ได้ผลน้อยลง กินยานอนหลับแต่นอนไม่หลับ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ก็คืออาการดื้อยา จำเป็นต้องใช้ยานอนหลับที่แรงกว่าเดิม หรือใช้ยานอนหลับในปริมาณที่มากกว่าเดิมถึงจะช่วยให้นอนหลับได้
* ติดยา
ยานอนหลับเป็นยาที่ออกฤทธิ์กดระบบประสาทและสมอง ดังนั้นหากเรากินยานอนหลับติดต่อกันนาน ๆ ร่างกายก็จะชินกับการมีตัวยาถึงจะทำให้นอนหลับได้ ดังนั้นเมื่อเราไม่ได้กินยานอนหลับก็จะเกิดอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ สุดท้ายก็ต้องไปพึ่งยานอนหลับ จนเหมือนว่าเราจะหยุดยานอนหลับไม่ได้เลย
* เสี่ยงอัลไซเมอร์
ยานอนหลับมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ดังนั้นหากกินยานอนหลับนาน ๆ อาจเสี่ยงต่ออาการสมองเสื่อม ความจำลดลง และเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ในกลุ่มผู้สูงอายุได้
* เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ยานอนหลับบางชนิดมีผลต่อเพศชาย โดยอาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
* อันตรายถึงชีวิต
หากกินยานอนหลับเกินขนาดอาจทำให้ยาไปออกฤทธิ์กดการทำงานของสมองในส่วนที่ควบคุมการหายใจ ก่อให้เกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
กินยานอนหลับกับเหล้า เบียร์ ยิ่งอันตราย
ยานอนหลับกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ไม่ควรกินคู่กันอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจไปเสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ ซึ่งอาจกดการหายใจจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ยานอนหลับ ไม่ควรใช้กับใครบ้าง
ผู้ที่ไม่ควรใช้ยานอนหลับเนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายได้มากกว่าปกติ ได้แก่
- ผู้ป่วยโรคตับ
- ผู้ป่วยโรคไต
- ผู้สูงอายุ
- หญิงตั้งครรภ์
- หญิงให้นมบุตร
- ผู้ป่วยโรคปอด
- ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ผู้ที่ใช้ยาออกฤทธิ์กดประสาทอยู่แล้ว
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ยานอนหลับ ซื้อได้ที่ไหน
ยานอนหลับเป็นยาในกลุ่มที่ต้องระมัดระวังในการใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ นั่นคือต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาให้เท่านั้น ดังนั้นยานอนหลับจึงไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และถึงแม้จะหาซื้อได้ แต่ก็ไม่ควรซื้อมากิน เพราะเราอาจกินยานอนหลับเกินขนาดที่จำเป็น จนเสี่ยงต่ออันตรายจากยานอนหลับโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ยานอนหลับเป็นดาบสองคมที่หากใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจเสี่ยงต่ออันตรายได้อย่างไม่คาดคิด ดังนั้นหากนอนไม่หลับอยากให้ลองแก้นอนไม่หลับด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ต้องพึ่งยาไปก่อน อย่างวิธีแก้นอนไม่หลับเหล่านี้
- 10 เคล็ดลับหลับปุ๋ย แก้ปัญหานอนไม่หลับ
- 4 เสียงช่วยกล่อมให้นอนหลับสบาย แก้ปัญหานอนตาค้างง่าย ๆ ด้วยโทนเสียง
- 19 วิธีทำให้ง่วงนอนสำหรับคนนอนไม่หลับ ไม่ต้องมัวนับแกะอีกต่อไป
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 13 กันยายน 2562
หมอชาวบ้าน, เฟซบุ๊ก นิตยสารชีวจิต, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล