โรคแพนิก เป็นโรคทางจิตเวชโรคหนึ่งที่คนไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก ทำให้หลายคนป่วยแล้วไม่รู้ตัว ลองมาทำความรู้จัก พร้อมสำรวจตัวเองกัน
จู่ ๆ ก็หัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน เหงื่อแตก ท้องไส้ปั่นป่วน และมีความกลัวว่าตัวเองจะป่วยเป็นโรคร้ายแรง กำลังจะตาย ทำเอาสติหลุดไปหมด ทั้ง ๆ ที่ไปตรวจสุขภาพดูก็ปกติทุกอย่าง หรือที่ป่วยอาจไม่ใช่อาการทางกาย แต่เป็นอาการทางจิตอย่างโรคแพนิก (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก ที่อยากให้ทุกคนมาทำความเข้าใจ พร้อมกับเช็กอาการกันหน่อยว่าเราเป็นไหม
โรคแพนิก คืออะไร
โรคแพนิก (Panic disorder) คือ โรคจิตเวชชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปอาจไม่ค่อยเข้าใจความเป็นไปของโรคแพนิกเท่าไรนัก เนื่องจากอาการโรคแพนิกจะแสดงออกเป็นอาการทางกาย จนทำให้ผู้ป่วยเองหรือคนใกล้ชิดอาจคิดว่าเป็นอาการของโรคใดโรคหนึ่งได้ เช่น คนมักมองว่าเป็นแค่อาการเครียดหรือคิดมากเกินไป โดยคิดไม่ถึงว่าจะเป็นอาการของโรคจิตเวช
ทั้งนี้ ลักษณะของโรคแพนิก คือ ผู้ป่วยจะมีภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีเหตุผล อธิบายง่าย ๆ ว่า ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงทั้งที่ไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายใด ๆ เลย จริง ๆ อาการแพนิกไม่อันตราย แต่มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น กลัวการอยู่คนเดียว ไม่กล้าไปไหนคนเดียว หรือกลัวโรคกำเริบขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
ทั้งนี้ ลักษณะของโรคแพนิก คือ ผู้ป่วยจะมีภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีเหตุผล อธิบายง่าย ๆ ว่า ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงทั้งที่ไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายใด ๆ เลย จริง ๆ อาการแพนิกไม่อันตราย แต่มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น กลัวการอยู่คนเดียว ไม่กล้าไปไหนคนเดียว หรือกลัวโรคกำเริบขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
โรคแพนิก สาเหตุเกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคแพนิกยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่เชื่อกันว่ามีหลายปัจจัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนี้
ปัจจัยทางร่างกาย
อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า อะมิกดาลา ทำงานผิดปกติ เมื่อมีสิ่งกระตุ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็จะเกิดพฤติกรรมและความคิดที่ผิดปกติไป ต่อเนื่องไปถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย คล้ายกับระบบสัญญาณกันขโมยที่ดังขึ้นมาทั้งที่ไม่มีขโมยหรือใครมาแตะต้องมันเลย
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น กรรมพันธุ์ การใช้สารเสพติดจนทำให้เคมีในสมองเสียสมดุล หรือระดับฮอร์โมนผิดปกติไป ก็อาจทำให้สารเคมีในร่างกายไม่สมดุลได้เหมือนกัน
ปัจจัยทางจิตใจ
มีงานวิจัยยืนยันว่า คนที่เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต มีความเสี่ยงที่สารเคมีในสมองจะเสียสมดุลได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะในวัยเด็กที่เคยถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขืน หรือเจอเหตุการณ์รุนแรงอื่น ๆ ในชีวิต ก็จะเสี่ยงมีสภาวะจิตใจไม่ปกติได้
ปัจจัยทางร่างกาย
อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า อะมิกดาลา ทำงานผิดปกติ เมื่อมีสิ่งกระตุ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็จะเกิดพฤติกรรมและความคิดที่ผิดปกติไป ต่อเนื่องไปถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย คล้ายกับระบบสัญญาณกันขโมยที่ดังขึ้นมาทั้งที่ไม่มีขโมยหรือใครมาแตะต้องมันเลย
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น กรรมพันธุ์ การใช้สารเสพติดจนทำให้เคมีในสมองเสียสมดุล หรือระดับฮอร์โมนผิดปกติไป ก็อาจทำให้สารเคมีในร่างกายไม่สมดุลได้เหมือนกัน
ปัจจัยทางจิตใจ
มีงานวิจัยยืนยันว่า คนที่เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต มีความเสี่ยงที่สารเคมีในสมองจะเสียสมดุลได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะในวัยเด็กที่เคยถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขืน หรือเจอเหตุการณ์รุนแรงอื่น ๆ ในชีวิต ก็จะเสี่ยงมีสภาวะจิตใจไม่ปกติได้
โรคแพนิก อาการเป็นอย่างไร
เมื่อเกิดอาการแพนิกขึ้นมา ผู้ป่วยจะมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้
* ใจสั่น ใจเต้นแรง
* อึดอัด แน่นหน้าอก
* หายใจขัด หายใจลำบาก
* เวียนหัว
* ท้องไส้ปั่นป่วน
* มือชา เท้าชา (มือ-เท้า เย็น)
* เหงื่อแตก
* รู้สึกเหมือนควบคุมตัวเองไม่ได้
* กลัวเหมือนตัวเองกำลังจะตาย หรือจะเป็นบ้า
ทั้งนี้ อาการแพนิกจะเกิดขึ้นทันทีทันใด โดยค่อย ๆ รุนแรงจนเต็มที่ และจะสงบลงได้เองในเวลาประมาณ 10 นาที หรือนานกว่านั้นแต่ไม่เกิน 1 ชั่วโมง และจะเป็นซ้ำ ๆ แม้จะมีหรือไม่มีสิ่งกระตุ้นก็ตาม ซึ่งอาจเกิดขึ้นแบบปุบปับเช่นกัน ทำให้บางคนหวาดกลัวว่าตัวเองจะเป็นโรคร้ายแรงที่ถึงแก่ชีวิต
เมื่อเกิดอาการแพนิกขึ้นมา ผู้ป่วยจะมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้
* ใจสั่น ใจเต้นแรง
* อึดอัด แน่นหน้าอก
* หายใจขัด หายใจลำบาก
* เวียนหัว
* ท้องไส้ปั่นป่วน
* มือชา เท้าชา (มือ-เท้า เย็น)
* เหงื่อแตก
* รู้สึกเหมือนควบคุมตัวเองไม่ได้
* กลัวเหมือนตัวเองกำลังจะตาย หรือจะเป็นบ้า
ทั้งนี้ อาการแพนิกจะเกิดขึ้นทันทีทันใด โดยค่อย ๆ รุนแรงจนเต็มที่ และจะสงบลงได้เองในเวลาประมาณ 10 นาที หรือนานกว่านั้นแต่ไม่เกิน 1 ชั่วโมง และจะเป็นซ้ำ ๆ แม้จะมีหรือไม่มีสิ่งกระตุ้นก็ตาม ซึ่งอาจเกิดขึ้นแบบปุบปับเช่นกัน ทำให้บางคนหวาดกลัวว่าตัวเองจะเป็นโรคร้ายแรงที่ถึงแก่ชีวิต
โรคแพนิก รักษาให้หายได้ไหม
การรักษาโรคแพนิกสามารถทำได้ไม่ยาก โดยการรักษาหลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ
1. รักษาด้วยยา
ยาที่ใช้รักษาโรคแพนิกมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ยาที่ออกฤทธิ์เร็ว อย่างยากล่อมประสาท หรือยาคลายกังวล ที่ผู้ป่วยกินแล้วอาการจะหายในทันที ใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการแล้ว และยาที่ออกฤทธิ์ช้า อย่างยาปรับสารเคมีในสมอง หรือยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า เพื่อป้องกันการเกิดอาการ ซึ่งจะต้องกินต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ จึงจะเห็นผล
ทั้งนี้ ในการรักษาโรคแพนิกแรก ๆ แพทย์จะให้ยาทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อระงับอาการผู้ป่วยจนสามารถเป็นปกติได้ พอผู้ป่วยอาการดีขึ้น แพทย์จะสั่งลดยาที่ออกฤทธิ์เร็ว จนกระทั่งผู้ป่วยหายสนิท ไม่มีอาการแพนิกแล้ว แพทย์ก็จะให้ยาต่อไปอีกประมาณ 8-12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาของอาการแพนิก
2. รักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด
เพื่อการรักษาโรคแพนิกให้ได้ผลดี ผู้ป่วยก็ควรได้รับการรักษาทางจิตใจ และพฤติกรรมบำบัดเพื่อปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยควบคู่ไปด้วย
เป็นแพนิก ทำไงดี
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการแพนิกก็ไม่ยาก แค่ทำตามนี้
- นั่งพัก หายใจเข้า-ออก ลึก ๆ ช้า ๆ ยาว ๆ และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย เดี๋ยวก็หาย หากหายใจเร็วจะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น
- พกยารักษาโรคแพนิกติดตัวไว้ตลอดเวลา เมื่อมีอาการมากจนเหนือการควบคุม ให้กินยาบรรเทาอาการ
- ฝึกการผ่อนคลายอื่น ๆ เช่น เล่นโยคะ ฝึกสมาธิ ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชื่นชอบ
การรักษาโรคแพนิกสามารถทำได้ไม่ยาก โดยการรักษาหลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ
1. รักษาด้วยยา
ยาที่ใช้รักษาโรคแพนิกมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ยาที่ออกฤทธิ์เร็ว อย่างยากล่อมประสาท หรือยาคลายกังวล ที่ผู้ป่วยกินแล้วอาการจะหายในทันที ใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการแล้ว และยาที่ออกฤทธิ์ช้า อย่างยาปรับสารเคมีในสมอง หรือยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า เพื่อป้องกันการเกิดอาการ ซึ่งจะต้องกินต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ จึงจะเห็นผล
ทั้งนี้ ในการรักษาโรคแพนิกแรก ๆ แพทย์จะให้ยาทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อระงับอาการผู้ป่วยจนสามารถเป็นปกติได้ พอผู้ป่วยอาการดีขึ้น แพทย์จะสั่งลดยาที่ออกฤทธิ์เร็ว จนกระทั่งผู้ป่วยหายสนิท ไม่มีอาการแพนิกแล้ว แพทย์ก็จะให้ยาต่อไปอีกประมาณ 8-12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาของอาการแพนิก
2. รักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด
เพื่อการรักษาโรคแพนิกให้ได้ผลดี ผู้ป่วยก็ควรได้รับการรักษาทางจิตใจ และพฤติกรรมบำบัดเพื่อปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยควบคู่ไปด้วย
เป็นแพนิก ทำไงดี
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการแพนิกก็ไม่ยาก แค่ทำตามนี้
- นั่งพัก หายใจเข้า-ออก ลึก ๆ ช้า ๆ ยาว ๆ และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย เดี๋ยวก็หาย หากหายใจเร็วจะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น
- พกยารักษาโรคแพนิกติดตัวไว้ตลอดเวลา เมื่อมีอาการมากจนเหนือการควบคุม ให้กินยาบรรเทาอาการ
- ฝึกการผ่อนคลายอื่น ๆ เช่น เล่นโยคะ ฝึกสมาธิ ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชื่นชอบ
คนใกล้ตัวเป็นแพนิก เราควรทำยังไงดี
ในกรณีที่มีคนใกล้ตัวป่วยด้วยโรคแพนิก เราควรเข้าใจและให้กำลังใจเขา และอย่าคิดว่าอาการที่ผู้ป่วยเป็นคือแกล้งทำ เพราะความคิดแบบนี้จะทำร้ายจิตใจผู้ป่วยโรคแพนิกมาก ทางที่ดีจึงควรปลอบใจเมื่อเขามีอาการแพนิก ช่วยให้เขาสงบได้โดยไวจะดีกว่า
โรคแพนิกเป็นโรคจิตเวชที่รักษาให้หายได้ไม่ยาก ขอแค่เข้าใจโรคนี้ และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะสามารถหายจากโรคแพนิกและกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้ในที่สุดค่ะ
ในกรณีที่มีคนใกล้ตัวป่วยด้วยโรคแพนิก เราควรเข้าใจและให้กำลังใจเขา และอย่าคิดว่าอาการที่ผู้ป่วยเป็นคือแกล้งทำ เพราะความคิดแบบนี้จะทำร้ายจิตใจผู้ป่วยโรคแพนิกมาก ทางที่ดีจึงควรปลอบใจเมื่อเขามีอาการแพนิก ช่วยให้เขาสงบได้โดยไวจะดีกว่า
โรคแพนิกเป็นโรคจิตเวชที่รักษาให้หายได้ไม่ยาก ขอแค่เข้าใจโรคนี้ และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะสามารถหายจากโรคแพนิกและกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้ในที่สุดค่ะ
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 3 ธันวาคม 2562
ขอบคุณข้อมูลจาก
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
เฟซบุ๊ก สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
infomental