
ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน (Woman Plus)
โดย หมอมงคล แก้วสุทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย และฟื้นฟูสุขภาพ
ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจัดเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญลำดับต้น ๆ ในปัจจุบัน โดยเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า ดัชนีมวลกายของคนปกติควรมีค่าอยู่ระหว่าง 18.5-24.9 แต่สำหรับคนเอเชียแล้ว ถ้ามีค่าดัชนีมวลกาย >23 ถือว่า มีภาวะน้ำหนักเกิน และถ้ามากกว่า 25 ถือได้ว่าเป็นโรคอ้วน

ค่าดัชนีมวลกายเปรียบเหมือนการหาความหนาแน่นของร่างกาย โดยสามารถคำนวณได้จากน้ำหนักตัวและส่วนสูง
ดังนี้
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง
โดยค่าดัชนีมวลกายเป็นการประเมินภาวะน้ำหนักเกินแบบง่าย ๆ แต่ไม่สามารถใช้ในการประเมินบุคคลบางกลุ่มได้ เช่น สตรีมีครรภ์ นักเพาะกายอาชีพ เด็กวัยกำลังเจริญเติบโต (อายุ <18 ปี)


นอกเหนือจากค่าดัชนีมวลกายแล้ว เราสามารถสังเกตความอ้วนได้ด้วยตัวเองอย่างง่าย ๆ ดังนี้




เป็นภาวะที่เกิดจากการกินแป้งและน้ำตาลมากเกินไป และเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคทางเมตาบอลิกต่าง ๆ เช่น เบาหวาน หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีการวินิจฉัยตามเกณฑ์ โดยต้องมีลักษณะ 3 ใน 5 ข้อดังต่อไปนี้















คนทั่วไปมักจะคิดว่าการลดความอ้วนที่ดีที่สุดคือการอดอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นเพศหญิง ซึ่งกลัวอ้วนเลยกินอาหารน้อยเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ บางคนถึงขั้นโรคจิตที่เรียกว่า โรคคลั่งผอม ที่พบมากในหมู่ดารา นางแบบ หรือนักร้อง โดยโรคนี้จะทำให้เกิดอัตราเสียชีวิตได้ถึง 9 เท่าของคนปกติ
การอดอาหารเพียงอย่างเดียว เมื่อไขมันเริ่มลดขนาดลง (ไม่ได้ลดจำนวนลง) ร่างกายก็จะไปสลายกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเหลวและเหี่ยว แต่เมื่อเกิดพื้นที่ว่างจากกล้ามเนื้อที่หายไป และหากกลับไปรับประทานอาหารเหมือนเดิม ร่างกายก็จะเริ่มสะสมไขมันได้อีกครั้งอย่างง่ายดายในพื้นที่ร่างกายที่ว่างเปล่าจากการขับไล่ไขมันออกไปแล้ว และกล้ามเนื้อที่หดตัวลงเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า โยโย่ (YoYo Effect) กลับมาอ้วนได้เหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม


เป็นหน่วยวัดผลของคาร์โบไฮเดรตที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด หลังจากที่กินอาหารชนิดนั้น ๆ 1-2 ชั่วโมง อาหารที่มี GI สูง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงเร็วกว่าอาหารที่มี GI ต่ำ โดยค่าดัชนีน้ำตาลนี้จะเปรียบเทียบกับค่าอาหารอ้างอิง "น้ำตาลกลูโคส" ที่ 100 ดังนี้



การกินอาหารที่มีค่า GI ต่ำจะช่วยให้ร่างกายสามารถใช้ฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นผลให้ร่างกายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดีขึ้น






เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
