x close

ลืมภาษาพูดตัวเอง แต่พูดภาษาอื่นคล่องปร๋อ ป่วยแปลก ๆ แบบนี้ก็มีด้วย !

          รู้จักอาการ Foreign Language Syndrome ของผู้ป่วยกระทบกระเทือนทางสมอง ที่จู่ ๆ ก็ลืมภาษาพูดของตัวเอง แต่กลับพูดภาษาอื่นได้คล่องปร๋อ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร 

ลืมภาษาพูดตัวเอง แต่พูดภาษาอื่นคล่องปร๋อ ป่วยแปลก ๆ แบบนี้ก็มีด้วย !

          หลายคนน่าจะเคยได้ยินข่าวผู้ป่วยที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง เมื่อฟื้นขึ้นมาแล้วไม่สามารถพูดภาษาแม่ได้ แต่กลับพูดภาษาอื่นได้คล่องปร๋อ ดังเช่นเรื่องราวเหล่านี้

          - หญิงจีนลืมภาษาจีนเกลี้ยง พูดอังกฤษปร๋อ หลังป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ
          - แพทย์อึ้ง หนุ่มออสซี่ป่วยโคม่า ตื่นมาพูดภาษาจีนคล่องปร๋อ 

          หรือแม้แต่กรณีของ เอส กันตพงศ์ ที่ป่วยด้วยอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน และวูบหมดสติ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจรักษาตัวนานกว่า 45 วัน กว่าจะฟื้นคืนสติ และเมื่อฟื้นมาแล้วกลับพูดภาษาไทยไม่ได้ พูดได้แค่ภาษาอังกฤษ เนื่องจากสมองทำงานผิดปกติไปนั้น

          - อึ้ง ! เอส กันตพงศ์ ฟื้นขึ้นมาแล้ว แต่พูดภาษาไทยไม่ได้แล้ว ? 

          เรื่องนี้สร้างความประหลาดใจให้หลายคน แต่ก็คงมีบางคนสงสัยว่าเรื่องแบบนี้มีจริงด้วยหรือ เพราะเหตุใดถึงเป็นแบบนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยนำข้อมูลเกี่ยวกับอาการแปลกประหลาดนี้ ที่มีชื่อว่า "Foreign Language Syndrome" มาเล่าสู่กันฟังค่ะ 

Foreign Language Syndrome คืออะไร เกิดจากอะไร


ลืมภาษาพูด

          สำหรับอาการที่ไม่สามารถพูดภาษาเกิดได้ แต่กลับพูดภาษาอื่นได้อย่างคล่องแคล่วนั้นก็คือ อาการ Foreign Language Syndrome ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่สมองในส่วนใดส่วนหน­ึ่งถูกทำลายจนทำให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเดิม­ ๆ ไปยังรูปแบบใหม่

          ทั้งนี้ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ผู้ที่มีอาการเช่นนี้เกิดขึ้น เนื่องจากสมองซีกซ้ายซึ่งเป็นด้านที่ควบคุมความสามารถในการพูดภาษาแม่ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหาย อาจมาจากสมองถูกกระทบกระเทือน หรือเป็นผลจากความเจ็บป่วย เช่น ไมเกรนบางรูปแบบ เส้นเลือดในสมองตีบ หลอดเลือดสมอง ได้รับบาดเจ็บที่สมอง เป็นต้น 

          โดยการเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะส่งผลให้อุปนิสัย บุคลิกภาพ เปลี่ยนไป แต่ในกรณีนี้คือการเปลี่ยนแปลงของสมองทำให้รูปแบบของภาษาที่ใช้­­­เกิดการเปลี่ยนไป ซึ่งภาษาที่ใช้นั้นก็ไม่ใช่ภาษาใหม่ที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน แต่เป็นภาษาที่สองที่มีความเชี่ยวชาญอยู่ก่อนแล้ว อาการนี้ไม่เพียงส่งผลทำให้เปลี่ยนแปลงสำเนียงพูดเท่านั้น แต่ยังทำให้ลืมภาษาที่เคยใช้มาตลอดชีวิตไปจนหมด ไม่ว่าจะเป็นภาษาเขียน หรือภาษาพูด รวมทั้งทักษะการฟังในภาษาเดิมก็จะหมดไปด้วย แต่จะไม่กระทบกับความสามารถในการพูดภาษาที่สองหรือภ­าษาอื่น ๆ ที่ได้เรียนรู้หลังผ่านพ้นช่วงวัยเด็กไปแล้ว เนื่องจากทักษะด้านนี้ถูกบรรจุอยู่ในสมองซีกขวา 
 

Foreign Accent Syndrome อีกหนึ่งอาการที่ใกล้เคียงกัน


ลืมภาษาพูด

          สำหรับอาการลืมภาษาพูดตัวเองหลังประสบอุบัติเหตุทางสมองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนเสมอไป เพราะในบางรายอาจจะไม่มีอาการดังกล่าว หรือเกิดเป็นอาการที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งก็คือ Foreign Accent Syndrome (FAS) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคสำเนียงต่างประเทศเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอาการที่มีสาเหตุการเกิดคล้ายกับ Foreign Language Syndrome และสามารถเกิดจากการป่วยด้วยโรคไมเกรน โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง รวมทั้งการได้รับบาดเจ็บที่สมองเช่นเดียวกัน

          โดยอาการโรคสำเนียงต่างประเทศเฉียบพลัน จะส่งผลไปยังสมองในส่วนที่ควบคุมการทำงานของลิ้นได้รับความเสีย­­­หายจนไม่สามารถควบคุมการออกเสียงได้ดังเดิม แม้แต่จังหวะและโทนเสียงสูง-ต่ำ เสียงสั้น หรือเสียงยาว ก็จะเปลี่ยนไปจนคล้ายกับสำเนียงพูดอื่นที่ผู้ป่วยอาจจะไม่เคยได­­­้ยินมาก่อนได้

         ตัวอย่างเช่น หญิงชาวออสเตรเลียคนหนึ่งที่ตลอดชีวิตของเธอพูดแต่ภาษาอัง­­­กฤษสำเนียงออสเตรเลีย แต่เมื่อเธอได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง เมื่อฟื้นขึ้นมาเธอก็ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษสำเนียงออสเตรเลียไ­­­ด้ แต่กลับพูดภาษาอังกฤษสำเนียงฝรั่งเศสแทน ซึ่งอาการเหล่านี้ก็ยังคงติดตัวเธอมาตลอด 

          หรือจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2553 หญิงชาวอังกฤษรายหนึ่งซึ่งป่วยด้วยอาการไมเกรนชนิด Sporadic hemiplegic ส่งผลให้เธอพูดภาษาอังกฤษในสำเนียงจีน ทั้ง ๆ ที่เธอก็ไม่เคยไปประเทศจีนหรือเคยได้ยินภาษาอังกฤษสำเนียงจี­นมาก่อน 

อาการลืมภาษาพูดของตัวเองรักษาได้ไหม


          ในเรื่องของการรักษาก็ยังไม่มีการค้นพบวิธีใดทางการแพทย์ที่จะช­­­่วยรักษาอาการทั้ง 2 ชนิดได้ เนื่องจากยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดว่าแท้จริงแล้วเกิดจากอะไร และเกิดขึ้นภายในสมองส่วนใดกันแน่ จึงทำให้ผู้ที่ป่วยด้วยอาการเหล่านี้จะต้องอยู่กับอาการดังกล่า­­­วไปตลอดชีวิต โดยอาจจะมีบางรายเท่านั้นที่เป็นเพียงชั่วคราว

           สำหรับผู้ป่วยด้วยโรค Foreign Language Syndrome และ Foreign Accent Syndrome จะไม่มีความเจ็บป่วยทางร่างกายแต่อย่างใด แต่ก็อาจจะมีความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เนื่องจากอาจถูกคนในสังคมมองว่าตัวเองผิดปกติ รวมทั้งการที่ไม่สามารถสื่อสารกับคนใกล้ชิดได้เหมือนเก่า ดังนั้นญาติและคนใกล้ชิดจะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษเพื่อไม่ให้ผู้­­­ป่วยรู้สึกเป็นปมด้อยค่ะ 


บทความที่เกี่ยวข้องกับโรคทางสมอง
 


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ลืมภาษาพูดตัวเอง แต่พูดภาษาอื่นคล่องปร๋อ ป่วยแปลก ๆ แบบนี้ก็มีด้วย ! อัปเดตล่าสุด 23 มิถุนายน 2566 เวลา 15:23:45 25,919 อ่าน
TOP