พฤติกรรมชอบกัดเล็บตัวเองอย่างจริงจัง เกิดจากอะไร มีนิสัยกัดเล็บตัวเองตอนเผลอ ๆ ถือว่าป่วยจิตไหม รักษาได้หรือเปล่า ?
เราอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นคนชอบกัดเล็บตัวเอง แต่มาสังเกตเห็นว่าสภาพเล็บมือเราดูไม่จืดเท่าไร ประกอบกับเริ่มมีคนทักว่าเราชอบกัดเล็บเล่นตอนเหม่อ ๆ เผลอ ๆ เรื่องนี้จิตวิทยามีคำตอบนะคะว่าพฤติกรรมชอบกัดเล็บตัวเองเกิดจากอะไร เข้าข่ายโรคจิตเวชอะไรหรือเปล่า แล้วมีวิธีแก้นิสัยชอบกัดเล็บตัวเองไหม ลองมาดูกัน
พฤติกรรมชอบกัดเล็บ เกิดจากอะไร
นิสัยชอบกัดเล็บมักเกิดในวัยเด็กที่มีอาการมันเขี้ยว ชอบกัดทุกอย่างแม้กระทั่งเล็บมือ-เล็บเท้าของตัวเอง ทว่าหากนิสัยชอบกัดเล็บเกิดในวัยผู้ใหญ่ ทางจิตวิทยาจะถือพฤติกรรมกัดเล็บเป็นการแสดงออกถึงความวิตกกังวล ความเครียด ความเบื่อหน่าย หรือมีความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
ทั้งนี้ในกรณีที่กัดเล็บตัวเองอย่างจริงจัง ห้ามตัวเองไม่ได้ และมีพฤติกรรมกัดเล็บจนก่อให้เกิดแผลที่เล็บ มีเลือดออก แบบนี้ทางจิตวิทยาอาจบ่งชี้ถึงภาวะของโรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคกัดเล็บ (Onychophagia) หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ภาวะโรค Nail Biting ได้ด้วยนะคะ
- 8 โรควิตกกังวลที่คนป่วยกันบ่อยในสังคมปัจจุบัน
- โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการชอบคิด-ทำซ้ำ ๆ เอ๊ะ...ลืมทำไปหรือเปล่านะ ?
นิสัยชอบกัดเล็บ เกิดกับใครได้บ้าง
เรามักจะเห็นพฤติกรรมชอบกัดเล็บในวัยเด็ก ทว่านิสัยชอบกัดเล็บในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ก็พบได้บ่อยด้วยเช่นกัน โดยจะพบนิสัยชอบกัดเล็บในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอาจพบพฤติกรรมชอบกัดเล็บในกลุ่มคนเสพติดความสมบูณ์แบบ หรือที่เรียกกันว่าเพอร์เฟกชั่นนิสต์ด้วยล่ะ นั่นก็เพราะว่า คนกลุ่มนี้จะมีความกดดันในตัวเองสูง และอาจเผลอแสดงความเครียดด้วยอาการทางกาย เช่น กัดเล็บตัวเอง ดึงผม กระดิกเท้า เคาะมือกับโต๊ะ เป็นต้น
- โรคดึงผมตัวเอง รักษาอย่างไร...อาการทางจิตเวชที่หลายคนเป็นไม่รู้ตัว !
กัดเล็บตัวเอง อาการแบบไหนเข้าข่ายป่วย
การกัดเล็บตัวเองเป็นพฤติกรรมยามเผลอของใครหลายคน ซึ่งทางจิตวิทยาแล้วก็นับว่าพฤติกรรมกัดเล็บตัวเองเป็นการแสดงความรู้สึกในทางลบชนิดหนึ่ง โดยบางคนอาจมีนิสัยชอบกัดเล็บเนื่องจากความเคยชินมาตั้งแต่วัยเด็ก หรือชอบกัดเล็บตัวเองเล่น ๆ แก้เครียดในบางครั้ง แต่สำหรับโรคกัดเล็บแล้ว รวมไปถึงกลุ่มอาการทางจิตเวชอย่างโรควิตกกังวลและโรคย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้
- กัดเล็บในขณะที่ตัวเองเหม่อลอย ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่ากำลังกัดเล็บตัวเองอยู่
- กัดเล็บจนเล็บผิดรูปหรือเป็นแผลที่เล็บ
- รู้สึกอายเล็บตัวเอง พยายามจะหลบเลี่ยงไม่ให้ใครเห็นเล็บมือของตัวเอง
- อาจมีอาการแสดงอื่น ๆ ร่วมกับการกัดเล็บ เช่น ดึงผม แคะ แกะ เกาผิวหนัง กัดริมฝีปาก หรือเขย่าขาร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมกัดเล็บจะรุนแรงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ด้วย ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการกัดเล็บจนก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพทางกาย หรือทางจิตใจต่อตัวเอง ก็ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ประเมินอาการ และรักษาต่อไป
ชอบกัดเล็บตัวเอง ทำไงดี
วิธีแก้นิสัยกัดเล็บตัวเอง เราสามารถเริ่มต้นปรับพฤติกรรมตัวเองง่าย ๆ ตามนี้
1. พยายามตัดเล็บให้สั้นเข้าไว้
2. ตกแต่งเล็บให้สวยงาม หากเป็นผู้หญิงจะทาสีเล็บสวย ๆ ก็ได้
3. เคลือบเล็บด้วยรสเผ็ดหรือรสขมจากผักหรือสมุนไพร
4. สวมถุงมือ
5. หันเหความสนใจไปกับเรื่องอื่น
6. ปรับพฤติกรรมกับจิตแพทย์
ทั้งนี้หากอาการชอบกัดเล็บที่เป็นอยู่สัมพันธ์กับโรคทางจิตเวชโรคใดโรคหนึ่ง เคสนี้แนะนำให้ไปรักษากับจิพแพทย์โดยตรงจะดีกว่านะคะ โดยจิตแพทย์อาจเลือกวิธีรักษาแบบพฤติกรรมบำบัด หรืออาจให้ยากลุ่มต้านเศร้า ยาคลายกังวลเพื่อช่วยรักษาพฤติกรรมกัดเล็บด้วยอีกทาง
กัดเล็บบ่อย ๆ เสี่ยงโรคด้วยนะ !
นอกจากการกัดเล็บจะเป็นต้นเหตุให้เล็บของคุณไม่เรียบสวยแล้ว เชื้อโรคและแบคทีเรียจากช่องปากและที่ติดอยู่รอบ ๆ บริเวณเล็บ ยังจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนที่อยู่กันอย่างเมามัน กลายเป็นปัญหาสุขภาพอย่างเชื้อราที่เล็บ รวมทั้งปัญหาช่องปากและลำคออักเสบจากการติดเชื้อ หรือหากกัดเล็บจนเป็นแผลใหญ่เรื้อรังไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เนื้อบริเวณนิ้วอักเสบติดเชื้อ แผลเน่า จนต้องตัดนิ้วทิ้งก็เป็นได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลพระราม 9, psychologytoday, healthline
เราอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นคนชอบกัดเล็บตัวเอง แต่มาสังเกตเห็นว่าสภาพเล็บมือเราดูไม่จืดเท่าไร ประกอบกับเริ่มมีคนทักว่าเราชอบกัดเล็บเล่นตอนเหม่อ ๆ เผลอ ๆ เรื่องนี้จิตวิทยามีคำตอบนะคะว่าพฤติกรรมชอบกัดเล็บตัวเองเกิดจากอะไร เข้าข่ายโรคจิตเวชอะไรหรือเปล่า แล้วมีวิธีแก้นิสัยชอบกัดเล็บตัวเองไหม ลองมาดูกัน
พฤติกรรมชอบกัดเล็บ เกิดจากอะไร
นิสัยชอบกัดเล็บมักเกิดในวัยเด็กที่มีอาการมันเขี้ยว ชอบกัดทุกอย่างแม้กระทั่งเล็บมือ-เล็บเท้าของตัวเอง ทว่าหากนิสัยชอบกัดเล็บเกิดในวัยผู้ใหญ่ ทางจิตวิทยาจะถือพฤติกรรมกัดเล็บเป็นการแสดงออกถึงความวิตกกังวล ความเครียด ความเบื่อหน่าย หรือมีความรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
ทั้งนี้ในกรณีที่กัดเล็บตัวเองอย่างจริงจัง ห้ามตัวเองไม่ได้ และมีพฤติกรรมกัดเล็บจนก่อให้เกิดแผลที่เล็บ มีเลือดออก แบบนี้ทางจิตวิทยาอาจบ่งชี้ถึงภาวะของโรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคกัดเล็บ (Onychophagia) หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ภาวะโรค Nail Biting ได้ด้วยนะคะ
- 8 โรควิตกกังวลที่คนป่วยกันบ่อยในสังคมปัจจุบัน
- โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการชอบคิด-ทำซ้ำ ๆ เอ๊ะ...ลืมทำไปหรือเปล่านะ ?
นิสัยชอบกัดเล็บ เกิดกับใครได้บ้าง
เรามักจะเห็นพฤติกรรมชอบกัดเล็บในวัยเด็ก ทว่านิสัยชอบกัดเล็บในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ก็พบได้บ่อยด้วยเช่นกัน โดยจะพบนิสัยชอบกัดเล็บในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอาจพบพฤติกรรมชอบกัดเล็บในกลุ่มคนเสพติดความสมบูณ์แบบ หรือที่เรียกกันว่าเพอร์เฟกชั่นนิสต์ด้วยล่ะ นั่นก็เพราะว่า คนกลุ่มนี้จะมีความกดดันในตัวเองสูง และอาจเผลอแสดงความเครียดด้วยอาการทางกาย เช่น กัดเล็บตัวเอง ดึงผม กระดิกเท้า เคาะมือกับโต๊ะ เป็นต้น
- โรคดึงผมตัวเอง รักษาอย่างไร...อาการทางจิตเวชที่หลายคนเป็นไม่รู้ตัว !
กัดเล็บตัวเอง อาการแบบไหนเข้าข่ายป่วย
การกัดเล็บตัวเองเป็นพฤติกรรมยามเผลอของใครหลายคน ซึ่งทางจิตวิทยาแล้วก็นับว่าพฤติกรรมกัดเล็บตัวเองเป็นการแสดงความรู้สึกในทางลบชนิดหนึ่ง โดยบางคนอาจมีนิสัยชอบกัดเล็บเนื่องจากความเคยชินมาตั้งแต่วัยเด็ก หรือชอบกัดเล็บตัวเองเล่น ๆ แก้เครียดในบางครั้ง แต่สำหรับโรคกัดเล็บแล้ว รวมไปถึงกลุ่มอาการทางจิตเวชอย่างโรควิตกกังวลและโรคย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้
- กัดเล็บในขณะที่ตัวเองเหม่อลอย ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่ากำลังกัดเล็บตัวเองอยู่
- กัดเล็บจนเล็บผิดรูปหรือเป็นแผลที่เล็บ
- รู้สึกอายเล็บตัวเอง พยายามจะหลบเลี่ยงไม่ให้ใครเห็นเล็บมือของตัวเอง
- อาจมีอาการแสดงอื่น ๆ ร่วมกับการกัดเล็บ เช่น ดึงผม แคะ แกะ เกาผิวหนัง กัดริมฝีปาก หรือเขย่าขาร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมกัดเล็บจะรุนแรงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ด้วย ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการกัดเล็บจนก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพทางกาย หรือทางจิตใจต่อตัวเอง ก็ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ประเมินอาการ และรักษาต่อไป
ชอบกัดเล็บตัวเอง ทำไงดี
วิธีแก้นิสัยกัดเล็บตัวเอง เราสามารถเริ่มต้นปรับพฤติกรรมตัวเองง่าย ๆ ตามนี้
1. พยายามตัดเล็บให้สั้นเข้าไว้
2. ตกแต่งเล็บให้สวยงาม หากเป็นผู้หญิงจะทาสีเล็บสวย ๆ ก็ได้
3. เคลือบเล็บด้วยรสเผ็ดหรือรสขมจากผักหรือสมุนไพร
4. สวมถุงมือ
5. หันเหความสนใจไปกับเรื่องอื่น
6. ปรับพฤติกรรมกับจิตแพทย์
ทั้งนี้หากอาการชอบกัดเล็บที่เป็นอยู่สัมพันธ์กับโรคทางจิตเวชโรคใดโรคหนึ่ง เคสนี้แนะนำให้ไปรักษากับจิพแพทย์โดยตรงจะดีกว่านะคะ โดยจิตแพทย์อาจเลือกวิธีรักษาแบบพฤติกรรมบำบัด หรืออาจให้ยากลุ่มต้านเศร้า ยาคลายกังวลเพื่อช่วยรักษาพฤติกรรมกัดเล็บด้วยอีกทาง
กัดเล็บบ่อย ๆ เสี่ยงโรคด้วยนะ !
นอกจากการกัดเล็บจะเป็นต้นเหตุให้เล็บของคุณไม่เรียบสวยแล้ว เชื้อโรคและแบคทีเรียจากช่องปากและที่ติดอยู่รอบ ๆ บริเวณเล็บ ยังจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนที่อยู่กันอย่างเมามัน กลายเป็นปัญหาสุขภาพอย่างเชื้อราที่เล็บ รวมทั้งปัญหาช่องปากและลำคออักเสบจากการติดเชื้อ หรือหากกัดเล็บจนเป็นแผลใหญ่เรื้อรังไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เนื้อบริเวณนิ้วอักเสบติดเชื้อ แผลเน่า จนต้องตัดนิ้วทิ้งก็เป็นได้
ฉะนั้นพยายามมีสติอยู่กับตัวเองตลอดเวลา และเมื่อรู้ตัวว่ากำลังกัดเล็บตัวเองเมื่อไรก็ให้รีบหยุด หรือหากยังแก้นิสัยชอบกัดเล็บไม่ได้ พบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาหาทางออกเลยจะดีกว่านะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลพระราม 9, psychologytoday, healthline