โรควิตกกังวลหรือที่หลายคนคิดเองว่าเป็นอาการวิตกกังวลทั่วไป จริง ๆ แล้วมีอยู่หลายพฤติกรรมที่เราทำจนชิน และพฤติกรรมนั้นก็เข้าข่ายโรควิตกกังวลชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งควรต้องพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษา
โรควิตกกังวลชนิดนี้พบได้บ่อยในปัจจุบัน
แต่ยังถือว่าเป็นโรควิตกกังวลที่อาการไม่รุนแรงมาก
ผู้ป่วยมักจะมีความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน การเรียน งาน การเงิน
โดยที่ผู้ป่วยก็รู้ตัวว่าเป็นความกังวลที่เกินกว่าเหตุ
แต่ไม่สามารถระงับความกังวลเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง
และมักจะมีพฤติกรรมกังวลกับเรื่องเดิม ๆ เหตุการณ์เดิม ๆ วนไปวนมา เป็นต้น
ทั้งนี้ จิตแพทย์จะประเมินว่าความวิตกกังวลนั้นเป็นโรคจิตเวชได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีความวิตกกังวลร่วมกับมีอาการแสดงออกทางกายอย่างน้อย 3 อย่าง เช่น กระวนกระวาย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และนอนไม่หลับ โดยผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะถือว่าป่วยโรควิตกกังวลทั่วไป ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาทางจิตเวชและพฤติกรรมบำบัดค่ะ
2. โรคแพนิก
เป็นโรควิตกกังวลที่พบได้บ่อยเช่นกัน โดยโรคแพนิก หรือโรคตื่นตระหนก จะมีความรุนแรงกว่าโรควิตกกังวลทั่วไป ผู้ป่วยมักจะมีความกลัวผสมอยู่ในความวิตกกังวลนั้นด้วย และมักจะมีอาการแสดงออกทางกายอย่างรุนแรง จนต้องหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ ที่สำคัญผู้ป่วยจะมีความกลัวว่าตัวเองจะตาย กลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ กลัวจะเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ได้ป่วยกาย แต่ป่วยทางจิตต่างหาก มาดูกันว่าอาการเหล่านี้ตรงกับเราหรือเปล่า
- โรคแพนิก (Panic Disorder) ตื่นตระหนกเกินไป ทำเสียสุขภาพจิต
3. โรคย้ำคิดย้ำทำ
โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ และต่อยอดมาถึงการตอบสนองทางความคิดด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพื่อลดความวิตกกังวลนั้นให้หายไป
ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำอาจรู้ตัวดีว่าพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำของตัวเองไม่มีเหตุผล แถมยังทำให้เสียเวลาชีวิตไปกับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่น้อย แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำดังกล่าวได้เลย ส่งผลให้เกิดอาการเครียดจากโรคย้ำคิดย้ำทำต่อมาอีกทอดหนึ่ง เช่น จำไม่ได้ว่าล้างมือไปหรือยัง ล็อกประตูแล้วใช่ไหม ปิดไฟ ปิดน้ำ ปิดแก๊ส เรียบร้อยแล้วหรือเปล่า คิดจนกังวลต้องกลับไปเช็กอีกรอบ ใครมีอาการแบบนี้บ่อย ๆ ลองมาเช็กดู
- โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการชอบคิด-ทำซ้ำ ๆ เอ๊ะ...ลืมทำไปหรือเปล่านะ ?
4. โรคกลัวอย่างเฉพาะเจาะจง
ผู้ป่วยจะมีความกลัวต่อบางสิ่งบางอย่างจนเกินขอบเขต โดยที่รู้ตัวเองดีว่าสิ่งที่กลัวนั้นไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ก็ไม่สามารถควบคุมความกลัวของตัวเองให้เป็นปกติได้ เช่น กลัวที่แคบ กลัวรู กลัวการเข้าสังคม ซึ่งเมื่อต้องเผชิญต่อสิ่งเร้าอย่างในลิฟต์ ในห้องแคบ ๆ ต้องพูดในที่สาธารณะ หรือเห็นของบางอย่างที่มีรูเยอะ ๆ ก็เกิดปฏิกิริยาทางกายขึ้นมา เช่น ใจสั่น หน้ามืด มือ-เท้าเย็น เป็นต้น โดยเราก็มีตัวอย่างโรควิตกกังวลชนิดกลัวอย่างเฉพาะเจาะจงมาให้ศึกษาเป็นตัวอย่างด้วยค่ะ
- โรคกลัวที่แคบ ใจสั่น อึดอัด เกือบเอาชีวิตไม่รอดเมื่อรู้สึกโดนกักล้อม
- โรคกลัวรู trypophobia ภาวะโฟเบียที่อาจร้ายแรงกว่าที่คิด
- โรคกลัวสุนัขอย่างรุนแรง ไม่ใช่การแสดงแต่ควรต้องรักษา
- โรคกลัวทะเล เช็กอาการแล้วอาจคุ้น เหมือนกำลังเป็นอยู่ !
5. โรคกลัวการเข้าสังคม
โรคกลัวการเข้าสังคม คือ อาการวิตกกังวลว่าตัวเองจะเผลอทำอะไรเปิ่น ๆ เชย ๆ หรือทำพลาดให้ต้องอับอาย กลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้าง ซึ่งดูเหมือนอาการของคนตื่นเต้นกับบางอย่างแบบปกติทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) จะประหม่ามาก มักจะคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะนินทาว่าลับหลัง และไม่สามารถบังคับตัวเองให้ไม่ขลาดกลัวการเข้าสังคมได้เลย อย่างอาการต่อไปนี้
- โรคกลัวการเข้าสังคมคืออะไร อาการแบบไหนถึงจะเข้าข่ายป่วย ?
6. โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD)
ในทางการแพทย์มีโรคทางจิตเวชโรคหนึ่งที่เรียกว่า "ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ" มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น อยู่ในเหตุการณ์วินาศกรรม จลาจล สึนามิ ดินโคลนถล่ม บ้านพัง ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ ถูกโจรปล้น พบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ฯลฯ หรือบางคนอาจจะไม่ได้ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง แต่อาจเห็นจากข่าวหรือได้ฟังคำบอกเล่ามาแล้วรู้สึกตื่นกลัวตามไปด้วย จนเกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางจิตเวช เพื่อให้รู้สึกเครียดและกลัวลดลง จนไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิต
- โรคเครียด PTSD ป่วยทางใจ หลังประสบภัยรุนแรงในชีวิต
7. โรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ (Situational Anxiety)
เชื่อไหมคะว่าคนเป็นโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์กันเยอะมาก แต่กว่า 80% ไม่คิดว่าเป็นอาการป่วย เพราะความกังวลต่อสถานการณ์นั้นเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป เช่น กังวลว่าจะเจอรถติด กังวลว่าจะต้องไปเดินในที่ที่มีคนเยอะ กังวลว่าต้องรออะไรนาน ๆ แล้วเกิดอาการตื่นตระหนกเมื่อต้องไปเจอสถานการณ์ดังกล่าว บางคนมีอาการใจสั่น มือเย็น หน้ามืด ท้องไส้ปั่นป่วน หายใจแรงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งหากมีอาการทางกายร่วมกับความวิตกกังวลนี้ ทางจิตแพทย์จะถือว่าเป็นโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์
โดยส่วนมากแล้วโรคนี้มีสาเหตุมาจากประสบการณ์ที่ต้องไปเจอสถานการณ์อันส่งผลให้รู้สึกไม่สบายใจ หงุดหงิดใจ ตลอดจนเกิดความเครียดหลาย ๆ ครั้ง เจอบ่อยจนก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความตึงเครียด ทั้งที่สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความกังวลเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่ไม่ส่งผลทางกายและใจต่อบุคคลอื่น แต่ในผู้ป่วยโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์จะรู้สึกกังวลและอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้อาการวิตกกังวลต่อสถานการณ์ยังรวมถึงกรณีที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้นในชีวิตด้วยนะคะ เช่น กำลังจะแต่งงาน กำลังจะมีลูก จึงรู้สึกคิดมาก วิตกกังวลไปหมด
8. โรควิตกกังวลจากการใช้สารเสพติด (Substance-Related Anxiety Symptoms)
โรควิตกกังวลนี้เกิดจากการใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ โดยอาจมีลักษณะอาการเหมือนกับโรควิตกกังวลชนิดใดชนิดหนึ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่เป็นอาการที่มีสาเหตุชัดเจนว่าเกิดจากการเสพหรือการเลิกใช้สารเสพติด สารเสพติดที่พบว่าเป็นสาเหตุของโรควิตกกังวลมากที่สุด ได้แก่ แอลกอฮอล์หรือสุรา แอมเฟตามีนหรือยาบ้า คาเฟอีน กัญชา โคเคน สารเสพติดประเภทสูดดม สารเสพติดที่ออกฤทธิ์ทางประสาท เช่น เฟนไซคลิดีน (PCP) เป็นต้น
ทั้งนี้ ความรู้สึกกังวลที่เข้าข่ายโรคจิตเวชสามารถเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่หลัก ๆ คือ ระดับสารเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมองเกิดความบกพร่อง มีน้อยเกินไปหรือมีมากเกินไป ซึ่งยาทางจิตเวชจะช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุลกัน อาการวิตกกังวลที่เข้าขั้นโรควิตกกังวลก็จะบรรเทาลงหรือหายขาดได้
อย่างไรก็ตาม ลักษณะของผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะมีข้อสังเกตคือ ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ มากผิดปกติ และมีอาการแสดงออกทางกายอย่างน้อย 3 อย่าง เช่น กระวนกระวาย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และนอนไม่หลับ โดยผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะเข้าข่ายว่าเป็นโรควิตกกังวล หนึ่งในโรคจิตเวชที่ควรได้รับการรักษา
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสุขภาพจิต
รามา แชนแนล
คณะแพทยศาสต์ศิริราชพยาบาล
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ความกังวล ความเครียด 2 ความรู้สึกนี้ดูเป็นองค์ประกอบหนึ่งในชีวิตของคนในยุคนี้ไปซะแล้ว
จนบางครั้งเราเองมีความกังวลใจบางอย่างก็คิดไปว่าเป็นความกังวลทั่ว ๆ ไป
ทว่าหากอาการวิตกกังวลกระทบถึงชีวิตประจำวันและสุขภาพเมื่อไร
เมื่อนั้นทางจิตแพทย์จะเรียกว่า โรควิตกกังวล ซึ่งเป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง โดยแบ่งแยกชนิดของโรควิตกกังวลได้ถึง 12 โรคด้วยกัน
ทว่าที่พบบ่อยในไทยและในสังคมยุคนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 8 ชนิด
เรามาดูกันค่ะว่า โรควิตกกังวล ชนิดไหน อาการไหน
เราเข้าข่ายหรือใกล้เคียงอยู่บ้าง
1. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder : GAD)
ทั้งนี้ จิตแพทย์จะประเมินว่าความวิตกกังวลนั้นเป็นโรคจิตเวชได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีความวิตกกังวลร่วมกับมีอาการแสดงออกทางกายอย่างน้อย 3 อย่าง เช่น กระวนกระวาย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และนอนไม่หลับ โดยผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะถือว่าป่วยโรควิตกกังวลทั่วไป ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาทางจิตเวชและพฤติกรรมบำบัดค่ะ
เป็นโรควิตกกังวลที่พบได้บ่อยเช่นกัน โดยโรคแพนิก หรือโรคตื่นตระหนก จะมีความรุนแรงกว่าโรควิตกกังวลทั่วไป ผู้ป่วยมักจะมีความกลัวผสมอยู่ในความวิตกกังวลนั้นด้วย และมักจะมีอาการแสดงออกทางกายอย่างรุนแรง จนต้องหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ ที่สำคัญผู้ป่วยจะมีความกลัวว่าตัวเองจะตาย กลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ กลัวจะเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ได้ป่วยกาย แต่ป่วยทางจิตต่างหาก มาดูกันว่าอาการเหล่านี้ตรงกับเราหรือเปล่า
- โรคแพนิก (Panic Disorder) ตื่นตระหนกเกินไป ทำเสียสุขภาพจิต
3. โรคย้ำคิดย้ำทำ
โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ และต่อยอดมาถึงการตอบสนองทางความคิดด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพื่อลดความวิตกกังวลนั้นให้หายไป
ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำอาจรู้ตัวดีว่าพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำของตัวเองไม่มีเหตุผล แถมยังทำให้เสียเวลาชีวิตไปกับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่น้อย แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำดังกล่าวได้เลย ส่งผลให้เกิดอาการเครียดจากโรคย้ำคิดย้ำทำต่อมาอีกทอดหนึ่ง เช่น จำไม่ได้ว่าล้างมือไปหรือยัง ล็อกประตูแล้วใช่ไหม ปิดไฟ ปิดน้ำ ปิดแก๊ส เรียบร้อยแล้วหรือเปล่า คิดจนกังวลต้องกลับไปเช็กอีกรอบ ใครมีอาการแบบนี้บ่อย ๆ ลองมาเช็กดู
- โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการชอบคิด-ทำซ้ำ ๆ เอ๊ะ...ลืมทำไปหรือเปล่านะ ?
4. โรคกลัวอย่างเฉพาะเจาะจง
ผู้ป่วยจะมีความกลัวต่อบางสิ่งบางอย่างจนเกินขอบเขต โดยที่รู้ตัวเองดีว่าสิ่งที่กลัวนั้นไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ก็ไม่สามารถควบคุมความกลัวของตัวเองให้เป็นปกติได้ เช่น กลัวที่แคบ กลัวรู กลัวการเข้าสังคม ซึ่งเมื่อต้องเผชิญต่อสิ่งเร้าอย่างในลิฟต์ ในห้องแคบ ๆ ต้องพูดในที่สาธารณะ หรือเห็นของบางอย่างที่มีรูเยอะ ๆ ก็เกิดปฏิกิริยาทางกายขึ้นมา เช่น ใจสั่น หน้ามืด มือ-เท้าเย็น เป็นต้น โดยเราก็มีตัวอย่างโรควิตกกังวลชนิดกลัวอย่างเฉพาะเจาะจงมาให้ศึกษาเป็นตัวอย่างด้วยค่ะ
- โรคกลัวที่แคบ ใจสั่น อึดอัด เกือบเอาชีวิตไม่รอดเมื่อรู้สึกโดนกักล้อม
- โรคกลัวรู trypophobia ภาวะโฟเบียที่อาจร้ายแรงกว่าที่คิด
- โรคกลัวสุนัขอย่างรุนแรง ไม่ใช่การแสดงแต่ควรต้องรักษา
- โรคกลัวทะเล เช็กอาการแล้วอาจคุ้น เหมือนกำลังเป็นอยู่ !
โรคกลัวการเข้าสังคม คือ อาการวิตกกังวลว่าตัวเองจะเผลอทำอะไรเปิ่น ๆ เชย ๆ หรือทำพลาดให้ต้องอับอาย กลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้าง ซึ่งดูเหมือนอาการของคนตื่นเต้นกับบางอย่างแบบปกติทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) จะประหม่ามาก มักจะคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะนินทาว่าลับหลัง และไม่สามารถบังคับตัวเองให้ไม่ขลาดกลัวการเข้าสังคมได้เลย อย่างอาการต่อไปนี้
- โรคกลัวการเข้าสังคมคืออะไร อาการแบบไหนถึงจะเข้าข่ายป่วย ?
6. โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD)
ในทางการแพทย์มีโรคทางจิตเวชโรคหนึ่งที่เรียกว่า "ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ" มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น อยู่ในเหตุการณ์วินาศกรรม จลาจล สึนามิ ดินโคลนถล่ม บ้านพัง ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ ถูกโจรปล้น พบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ฯลฯ หรือบางคนอาจจะไม่ได้ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง แต่อาจเห็นจากข่าวหรือได้ฟังคำบอกเล่ามาแล้วรู้สึกตื่นกลัวตามไปด้วย จนเกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางจิตเวช เพื่อให้รู้สึกเครียดและกลัวลดลง จนไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิต
- โรคเครียด PTSD ป่วยทางใจ หลังประสบภัยรุนแรงในชีวิต
7. โรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ (Situational Anxiety)
เชื่อไหมคะว่าคนเป็นโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์กันเยอะมาก แต่กว่า 80% ไม่คิดว่าเป็นอาการป่วย เพราะความกังวลต่อสถานการณ์นั้นเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป เช่น กังวลว่าจะเจอรถติด กังวลว่าจะต้องไปเดินในที่ที่มีคนเยอะ กังวลว่าต้องรออะไรนาน ๆ แล้วเกิดอาการตื่นตระหนกเมื่อต้องไปเจอสถานการณ์ดังกล่าว บางคนมีอาการใจสั่น มือเย็น หน้ามืด ท้องไส้ปั่นป่วน หายใจแรงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งหากมีอาการทางกายร่วมกับความวิตกกังวลนี้ ทางจิตแพทย์จะถือว่าเป็นโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์
โดยส่วนมากแล้วโรคนี้มีสาเหตุมาจากประสบการณ์ที่ต้องไปเจอสถานการณ์อันส่งผลให้รู้สึกไม่สบายใจ หงุดหงิดใจ ตลอดจนเกิดความเครียดหลาย ๆ ครั้ง เจอบ่อยจนก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความตึงเครียด ทั้งที่สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความกังวลเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่ไม่ส่งผลทางกายและใจต่อบุคคลอื่น แต่ในผู้ป่วยโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์จะรู้สึกกังวลและอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้อาการวิตกกังวลต่อสถานการณ์ยังรวมถึงกรณีที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้นในชีวิตด้วยนะคะ เช่น กำลังจะแต่งงาน กำลังจะมีลูก จึงรู้สึกคิดมาก วิตกกังวลไปหมด
8. โรควิตกกังวลจากการใช้สารเสพติด (Substance-Related Anxiety Symptoms)
โรควิตกกังวลนี้เกิดจากการใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ โดยอาจมีลักษณะอาการเหมือนกับโรควิตกกังวลชนิดใดชนิดหนึ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่เป็นอาการที่มีสาเหตุชัดเจนว่าเกิดจากการเสพหรือการเลิกใช้สารเสพติด สารเสพติดที่พบว่าเป็นสาเหตุของโรควิตกกังวลมากที่สุด ได้แก่ แอลกอฮอล์หรือสุรา แอมเฟตามีนหรือยาบ้า คาเฟอีน กัญชา โคเคน สารเสพติดประเภทสูดดม สารเสพติดที่ออกฤทธิ์ทางประสาท เช่น เฟนไซคลิดีน (PCP) เป็นต้น
ทั้งนี้ ความรู้สึกกังวลที่เข้าข่ายโรคจิตเวชสามารถเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่หลัก ๆ คือ ระดับสารเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมองเกิดความบกพร่อง มีน้อยเกินไปหรือมีมากเกินไป ซึ่งยาทางจิตเวชจะช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุลกัน อาการวิตกกังวลที่เข้าขั้นโรควิตกกังวลก็จะบรรเทาลงหรือหายขาดได้
อย่างไรก็ตาม ลักษณะของผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะมีข้อสังเกตคือ ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ มากผิดปกติ และมีอาการแสดงออกทางกายอย่างน้อย 3 อย่าง เช่น กระวนกระวาย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และนอนไม่หลับ โดยผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะเข้าข่ายว่าเป็นโรควิตกกังวล หนึ่งในโรคจิตเวชที่ควรได้รับการรักษา
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสุขภาพจิต
รามา แชนแนล
คณะแพทยศาสต์ศิริราชพยาบาล
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล