1. ชนิดพูดไม่คล่อง
ผู้ป่วยสามารถเข้าใจการสื่อสารจากคนอื่นได้ แต่จะมีปัญหาในการสื่อสารกลับไป เช่น นึกคำที่จะพูดไม่ออก บอกสิ่งที่ต้องการไม่ได้
2. ชนิดพูดคล่อง
ผู้ป่วยจะขาดความเข้าใจในคำพูดของผู้อื่น แต่สามารถพูดสื่อสารได้ เพียงแต่เนื้อหาที่พูดออกมานั้นจะเป็นคนละเรื่องกับที่สนทนา เช่น ถามว่าไปไหนมา อาจตอบว่าเมื่อเช้ากินข้าวไปแล้ว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่หากอาการรุนแรงมาก อาจไม่เข้าใจคำพูดหรือสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสารมาเลย และจะสื่อสารตอบโต้กลับไม่ได้ด้วย ทั้งนี้ ภาวะเสียการสื่อความเป็นความผิดปกติทางด้านสมองที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระดับสติปัญญา ผู้ป่วยยังมีสติปัญญาคงเดิมอย่างที่เคยเป็นมา แม้จะบกพร่องทางด้านการสื่อสารอย่างกับเปลี่ยนไปเป็นคนละคนก็ตาม
นอกจากนี้ภาวะเสียการสื่อความยังอาจเกิดขึ้นได้ในคนที่มีอาการบาดเจ็บทางสมอง มีเนื้องอกในสมอง หรือเกิดจากปัจจัยที่ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมด้านการสื่อสารเสียหายไปอย่างถาวร เช่น ติดเชื้อในสมอง สมองอักเสบ โรคทางระบบประสาท มีการผ่าตัดสมอง และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น
อาการของภาวะเสียการสื่อความ สังเกตได้ชัดจากท่าทางการพูดและตอบโต้ ดังนี้
- พูดไม่ได้ สื่อสารไม่ได้ และใช้ภาษากายไม่ได้เช่นกัน
- ตอบไม่ตรงคำถาม เนื่องจากไม่เข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด
- พูดไม่ชัด พูดได้เป็นประโยคสั้น ๆ
- นึกคำที่จะพูดไม่ออก
- ลืมชื่อคนในครอบครัว ลืมชื่อของใช้ บอกความต้องการของตัวเองไม่ได้
- บอกตามคำสั่งไม่ได้
- พูดตามไม่ได้
- มีความผิดปกติทางการใช้ภาษา คืออาจพูดอะไรที่ไม่มีความหมาย ฟังแล้วไม่สามารถเข้าใจได้ตามปกติ
- มีความลำบากในการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ในการพูด ทั้งปาก ลิ้น ขากรรไกร
ความผิดปกตินี้สามารถรักษาได้ด้วยวิธีบำบัดและฟื้นฟู เช่น กระตุ้นให้ผู้ป่วยพยายามสื่อสารบ่อย ๆ พูดประโยคสั้น ๆ ช้า ๆ ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน พร้อมใช้ท่าทางประกอบเพื่อเสริมให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยด้วยนะคะ บางคนอาจใช้เวลาบำบัดไม่นานก็เรียกคืนทักษะการสื่อสารกลับมาได้พอสมควร แต่บางคนก็อาจใช้เวลานานหน่อยอาการถึงจะค่อย ๆ ดีขึ้น
เนื่องจากสาเหตุของภาวะเสียการสื่อความเกิดขึ้นได้บ่อยจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งก็คือบรรดาโรคเส้นเลือดสมองตีบ แตก ตัน ทั้งหลาย ที่เราสามารถลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดกับตัวเองได้โดยรักษาสุขภาพให้ดี กินอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่ดีต่อร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่เครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคนี้ไปได้ส่วนหนึ่ง
โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน-เส้นเลือดในสมองแตก (Stroke) รู้ทันก่อนป่วย
บทความที่เกี่ยวข้องกับโรคทางสมองและการบำรุงสมอง
- เส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน สาว ๆ มารู้ให้ทัน 7 สาเหตุยิ่งทำให้เสี่ยง
- เจาะเลือดที่นิ้ว รักษาเส้นเลือดสมองแตก จริงหรือมั่ว ?
- นึกอะไรไม่ค่อยออก จำอะไรไม่ค่อยได้ แบบนี้เข้าข่ายสมองเสื่อมหรือเปล่า ?
- ขี้ลืม VS อัลไซเมอร์ เจออาการแบบไหนถึงใช่สมองเสื่อม
- โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เช็กอาการอย่างไรว่าต้องสงสัยความจำเสื่อม
- 7 พฤติกรรมป้องกันความจำเสื่อม เลี่ยงอัลไซเมอร์ให้ไกล
- 22 วิธีกระตุ้นสมอง ฟิตเฟิร์มความจำ ออกกำลังให้เฉียบคม
- อาหารบำรุงสมองให้ใสปิ๊ง โบกมือลาโรคอัลไซเมอร์ไปได้เลย !