อะมีบากินสมอง วายร้ายที่แฝงตัวอยู่ในแหล่งน้ำอุ่น หากสำลักเชื้ออะมีบาเข้าร่างกายไปก็อาจถึงตายได้ในไม่กี่วัน
อะมีบากินสมอง เชื่อว่าหลายคนคุ้น ๆ ชื่อนี้จากข่าวคนไปว่ายน้ำ สำลักน้ำ และได้รับเชื้ออะมีบาเข้าสู่ร่างกาย เป็นสาเหตุที่ทำให้ป่วยและทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดก็ต้องสังเวยชีวิตให้อะมีบากินสมอง นำมาซึ่งความสงสัยถึงอันตรายของอะมีบาที่แฝงตัวอยู่ในแหล่งน้ำ หรือแม้แต่สระน้ำทั่วไป ฉะนั้นเพื่อความสบายใจ กระปุกดอทคอมจะพามารู้จักอะมีบากินสมอง หรือโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร รักษาได้ไหม รวมไปถึงวิธีป้องกัน
อะมีบากินสมอง มีชื่อทางการแพทย์ว่า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา โดยอะมีบากินสมองเกิดจากเชื้ออะมีบาสายพันธุ์นีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) และอะมีบาสายพันธุ์อะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ซึ่งเป็นเชื้อเซลล์เดียวเหมือนอะมีบาอื่น ๆ ทว่าอะมีบา 2 สายพันธุ์นี้จัดเป็นอะมีบาฉวยโอกาสที่พบว่าก่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในมนุษย์
อะมีบามักจะอาศัยอยู่ในดินและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ลำธาร ลำคลอง หนองน้ำ บ่อ บึง ทะเลสาบน้ำจืด แหล่งน้ำจืดที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง หรือแหล่งน้ำขังในเขตอุสาหกรรมและในเขตอบอุ่น อย่างไรก็ตาม มีรายงานพบอะมีบากินสมองในสระว่ายน้ำที่มีคลอรีนผสมอยู่ รวมทั้งในน้ำที่ถูกเก็บไว้ในแท็งก์และน้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงเครื่องฟอกอากาศ
เชื้ออะมีบาสายพันธุ์นีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) จะเข้าสู่ร่างกายคนทางจมูก เช่น จากการสำลักน้ำในขณะว่ายน้ำหรือดำน้ำ เชิ้ออะมีบาที่ปนอยู่ในน้ำจะผ่านเข้าทางประสาทรับรู้กลิ่นในจมูกและผ่านเข้าสู่สมอง ก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
ส่วนเชื้ออะมีบาสายพันธุ์อะแคนทามีบา (Acanthamoeba) จะเข้าสู่ร่างกายคนผ่านทางบาดแผลตามผิวหนัง เดินทางผ่านกระแสเลือด จนเข้าสู่สมอง และทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างเฉียบพลัน นอกจากนี้เชื้ออะมีบาสายพันธุ์อะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ยังสามารถติดต่อคนทางเยื่อตาหรือกระจกตาได้ด้วยนะคะ ซึ่งหากติดเชื้ออะมีบาที่ตาก็เกิดอาการเยื่อบุตาอักเสบ หรือร้ายแรงก็อาจทำให้ตาบอดได้ ส่วนใหญ่มักพบการติดเชื้อนี้ในคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่ก่อนแล้ว
ความน่ากลัวของการติดเชื้ออะมีบาคืออาการแสดงจะคล้าย ๆ ไข้หวัด โดยมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้
- มีไข้ ปวดหัวมาก ๆ
- คัดจมูก น้ำมูกไหล
- คลื่นไส้ อาเจียน
- คอแข็ง
- สับสน ทรงตัวไม่ได้
- ซึม ชัก
- ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
- สูญเสียการมองเห็น และรับรู้กลิ่น
เนื่องจากอาการแสดงที่เหมือนไข้หวัด ปวดหัวธรรมดา อาจทำให้ผู้ป่วยไม่เฉลียวใจว่าตัวเองติดเชื้ออะมีบา รวมทั้งแพทย์ก็อาจหาสาเหตุของอาการป่วยได้ไม่ทันการณ์ เพราะหากอาการผู้ติดเชื้ออะมีบาที่สมองจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตภายใน 10 วัน ในกรณีที่ทำการรักษาไม่ทัน
อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับโรคนี้จนเกินไป เพราะจริง ๆ แล้ว โอกาสที่คนติดเชื้ออะมีบาจนถึงขั้นสมองอักเสบและเสียชีวิตนั้นมีไม่มากนัก
หากแพทย์สามารถวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยและตรวจน้ำไขสันหลังเจอเชื้ออะมีบาในระยะต้น ๆ แพทย์ก็จะรีบทำการรักษาด้วยตัวยา amphotericin B ร่วมกับ sulphonamide ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำซ้ำ ๆ และฉีดยาเข้าสมองใน 24 ชั่วโมงแรก หรืออาจจะพิจารณาให้ยาทางหลอดเลือดดำเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้อาจมีการใช้ยาฆ่าอะมีบาตัวอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย
เนื่องจากสาเหตุการติดเชื้ออะมีบาเกิดจากการว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด ดังนั้นเราก็สามารถป้องกันเชื้ออะมีบากินสมองได้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำและดำน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะการดำน้ำลึก หรือน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำอยู่มาก เพราะเชื้ออะมีบามักจะอาศัยอยู่ตามดินโคลนก้นบึ้งลำธารค่อนข้างเยอะ รวมทั้งหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีน้ำเสียจากโรงงาน เพราะมักจะมีอะมีบาเจริญเติบโตอยู่ หากจำเป็นต้องลงน้ำ ต้องระวังอย่าให้สำลักน้ำเข้าโพรงจมูก
- ควรว่ายน้ำในสระว่ายน้ำที่มีความสะอาดตามมาตรฐาน และมีสุขอนามัยที่ดี
- ควรถอดคอนแทคเลนส์ออกขณะว่ายน้ำ และทำความสะอาดเลนส์ด้วยน้ำยาแช่เลนส์ที่มีคุณภาพ
- ไม่ทิ้งขยะหรือของเสียลงแม่น้ำลำคลอง
- หากว่ายน้ำ ดำน้ำแล้วมีอาการปวดหัวมาก ร่วมกับมีไข้ ควรรีบพบแพทย์และแจ้งว่ามีอาการหลังจากว่ายน้ำหรือดำน้ำมา
- ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นแผลในขณะที่ว่ายน้ำ ควรรีบรักษาและฆ่าเชื้อที่บาดแผลนั้นโดยทันที โดยเฉพาะแผลในบริเวณผิวหนัง ตา ทางเดินหายใจ อวัยวะสืบพันธุ์
- คนที่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน ควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดหรือมีความสุ่มเสี่ยง รวมไปถึงไม่ควรสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่ต้องสงสัยว่าจะมีเชื้ออะมีบา
โรคอะมีบากินสมองจัดเป็นภัยอันตรายที่คร่าชีวิตคนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติหลังไปว่ายน้ำ ดำน้ำ หรือสัมผัสกับแหล่งน้ำที่สกปรก ควรรีบไปพบแพทย์ และทางที่ดีก็พยายามหลีกเลี่ยงการยุ่งเกี่ยวกับแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน, ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา, เฟซบุ๊ก MySci
อะมีบากินสมอง คืออะไร
อะมีบากินสมอง มีชื่อทางการแพทย์ว่า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา โดยอะมีบากินสมองเกิดจากเชื้ออะมีบาสายพันธุ์นีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) และอะมีบาสายพันธุ์อะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ซึ่งเป็นเชื้อเซลล์เดียวเหมือนอะมีบาอื่น ๆ ทว่าอะมีบา 2 สายพันธุ์นี้จัดเป็นอะมีบาฉวยโอกาสที่พบว่าก่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในมนุษย์
อะมีบาอาศัยอยู่ที่ไหน
อะมีบามักจะอาศัยอยู่ในดินและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ลำธาร ลำคลอง หนองน้ำ บ่อ บึง ทะเลสาบน้ำจืด แหล่งน้ำจืดที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง หรือแหล่งน้ำขังในเขตอุสาหกรรมและในเขตอบอุ่น อย่างไรก็ตาม มีรายงานพบอะมีบากินสมองในสระว่ายน้ำที่มีคลอรีนผสมอยู่ รวมทั้งในน้ำที่ถูกเก็บไว้ในแท็งก์และน้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงเครื่องฟอกอากาศ
การติดเชื้ออะมีบากินสมอง เกิดจากอะไร
เชื้ออะมีบาสายพันธุ์นีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) จะเข้าสู่ร่างกายคนทางจมูก เช่น จากการสำลักน้ำในขณะว่ายน้ำหรือดำน้ำ เชิ้ออะมีบาที่ปนอยู่ในน้ำจะผ่านเข้าทางประสาทรับรู้กลิ่นในจมูกและผ่านเข้าสู่สมอง ก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
ส่วนเชื้ออะมีบาสายพันธุ์อะแคนทามีบา (Acanthamoeba) จะเข้าสู่ร่างกายคนผ่านทางบาดแผลตามผิวหนัง เดินทางผ่านกระแสเลือด จนเข้าสู่สมอง และทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างเฉียบพลัน นอกจากนี้เชื้ออะมีบาสายพันธุ์อะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ยังสามารถติดต่อคนทางเยื่อตาหรือกระจกตาได้ด้วยนะคะ ซึ่งหากติดเชื้ออะมีบาที่ตาก็เกิดอาการเยื่อบุตาอักเสบ หรือร้ายแรงก็อาจทำให้ตาบอดได้ ส่วนใหญ่มักพบการติดเชื้อนี้ในคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่ก่อนแล้ว
อะมีบากินสมอง อาการเป็นอย่างไร
ความน่ากลัวของการติดเชื้ออะมีบาคืออาการแสดงจะคล้าย ๆ ไข้หวัด โดยมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้
- มีไข้ ปวดหัวมาก ๆ
- คัดจมูก น้ำมูกไหล
- คลื่นไส้ อาเจียน
- คอแข็ง
- สับสน ทรงตัวไม่ได้
- ซึม ชัก
- ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
- สูญเสียการมองเห็น และรับรู้กลิ่น
เนื่องจากอาการแสดงที่เหมือนไข้หวัด ปวดหัวธรรมดา อาจทำให้ผู้ป่วยไม่เฉลียวใจว่าตัวเองติดเชื้ออะมีบา รวมทั้งแพทย์ก็อาจหาสาเหตุของอาการป่วยได้ไม่ทันการณ์ เพราะหากอาการผู้ติดเชื้ออะมีบาที่สมองจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตภายใน 10 วัน ในกรณีที่ทำการรักษาไม่ทัน
อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับโรคนี้จนเกินไป เพราะจริง ๆ แล้ว โอกาสที่คนติดเชื้ออะมีบาจนถึงขั้นสมองอักเสบและเสียชีวิตนั้นมีไม่มากนัก
อะมีบากินสมอง รักษาอย่างไร
หากแพทย์สามารถวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยและตรวจน้ำไขสันหลังเจอเชื้ออะมีบาในระยะต้น ๆ แพทย์ก็จะรีบทำการรักษาด้วยตัวยา amphotericin B ร่วมกับ sulphonamide ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำซ้ำ ๆ และฉีดยาเข้าสมองใน 24 ชั่วโมงแรก หรืออาจจะพิจารณาให้ยาทางหลอดเลือดดำเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้อาจมีการใช้ยาฆ่าอะมีบาตัวอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย
อะมีบากินสมอง ป้องกันได้ไหม
เนื่องจากสาเหตุการติดเชื้ออะมีบาเกิดจากการว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด ดังนั้นเราก็สามารถป้องกันเชื้ออะมีบากินสมองได้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำและดำน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะการดำน้ำลึก หรือน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำอยู่มาก เพราะเชื้ออะมีบามักจะอาศัยอยู่ตามดินโคลนก้นบึ้งลำธารค่อนข้างเยอะ รวมทั้งหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีน้ำเสียจากโรงงาน เพราะมักจะมีอะมีบาเจริญเติบโตอยู่ หากจำเป็นต้องลงน้ำ ต้องระวังอย่าให้สำลักน้ำเข้าโพรงจมูก
- ควรว่ายน้ำในสระว่ายน้ำที่มีความสะอาดตามมาตรฐาน และมีสุขอนามัยที่ดี
- ควรถอดคอนแทคเลนส์ออกขณะว่ายน้ำ และทำความสะอาดเลนส์ด้วยน้ำยาแช่เลนส์ที่มีคุณภาพ
- ไม่ทิ้งขยะหรือของเสียลงแม่น้ำลำคลอง
- หากว่ายน้ำ ดำน้ำแล้วมีอาการปวดหัวมาก ร่วมกับมีไข้ ควรรีบพบแพทย์และแจ้งว่ามีอาการหลังจากว่ายน้ำหรือดำน้ำมา
- ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นแผลในขณะที่ว่ายน้ำ ควรรีบรักษาและฆ่าเชื้อที่บาดแผลนั้นโดยทันที โดยเฉพาะแผลในบริเวณผิวหนัง ตา ทางเดินหายใจ อวัยวะสืบพันธุ์
- คนที่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน ควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดหรือมีความสุ่มเสี่ยง รวมไปถึงไม่ควรสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่ต้องสงสัยว่าจะมีเชื้ออะมีบา
โรคอะมีบากินสมองจัดเป็นภัยอันตรายที่คร่าชีวิตคนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติหลังไปว่ายน้ำ ดำน้ำ หรือสัมผัสกับแหล่งน้ำที่สกปรก ควรรีบไปพบแพทย์ และทางที่ดีก็พยายามหลีกเลี่ยงการยุ่งเกี่ยวกับแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน, ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา, เฟซบุ๊ก MySci