ใช้ปากกับอวัยวะเพศหญิงเสี่ยงติดเอดส์ไหม แล้วจูบปากกับคนมีเชื้อ HIV ล่ะ พร้อมด้วยอีกสารพัดคำถาม-คำตอบเรื่องเซ็กส์กับโรคเอดส์ ที่คนอยากมีชีวิตรักที่สุขสม ห่างไกลจากเอดส์ต้องอ่าน !
ใช้ปากกับอวัยวะเพศหญิงเสี่ยงติดเอดส์ไหม ?
คำตอบ : โดยปกติแล้วการใช้ปากกับอวัยวะเพศ หรือการทำออรัลเซ็กส์นั้น ไม่ได้ทำให้ติดเอดส์ ถึงแม้ว่าอีกฝ่ายจะมีเชื้อ HIV เพราะในน้ำลายนั้นมีน้ำย่อยบางอย่างที่ทำให้เชื้อ HIV บกพร่องและมีสภาพไม่สมบูรณ์ แต่ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย 100% เพราะถ้าหากฝ่ายชายมีแผลในปาก หรือมีเลือดออกในปากก็จะทำให้มีเชื้อ HIV ในปากมากขึ้น และถ้าหากในฝ่ายหญิงมีแผลบริเวณช่องคลอดก็จะเสี่ยงให้ได้รับเชื้อมากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้การใช้ปากยังทำให้เสี่ยงจะติดเชื้อโรคที่อยู่บริเวณอวัยวะเพศอย่างเช่น เชื้อบิด ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี พยาธิลำไส้ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม แผลริมอ่อน ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เอชพีวีไวรัส (HPV Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากและลำคอได้เช่นกันค่ะ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการใช้ถุงยางอนามัยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายชายหรือหญิง เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อพยาธิ และเชื้อ HIV ค่ะ
จูบปากจะทำให้ติดเอดส์หรือไม่ ?
คำตอบ : เช่นเดียวกับการทำออรัลเซ็กส์ค่ะ ในปากของผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีเชื้อน้อย และโดยส่วนใหญ่เชื้อก็จะไม่สมบูรณ์ ดังนั้นการจูบปากจะไม่ทำให้ติดเชื้อ ยกเว้นแต่ถ้าหากภายในปากผู้ติดเชื้อ HIV มีแผล หรือเลือดไหลก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่่ยงหากมีการจูบแบบดูดดื่มได้ค่ะ แต่แผลร้อนในปากนั้นไม่สามารถเป็นช่องทางให้เชื้อเล็ดลอดเข้าไปได้เนื่องจากปากแผลไม่ใช่แผลเปิดค่ะ
ใช้มือสัมผัสกับอวัยวะเพศของผู้ป่วยโรคเอดส์ทำให้ติดเชื้อได้หรือไม่ ?
คำตอบ : การติดเชื้อ HIV นั้น ไม่สามารถเกิดจากสัมผัสได้ แต่ถ้าหากมือของผู้ที่สัมผัสนั้นมีบาดแผลก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงได้ ดังนั้นทางที่ดี ก่อนจะสัมผัสควรจะสวมใส่ถุงยางที่อวัยวะเพศก่อนแล้วค่อยสัมผัสดีกว่าค่ะ จะได้มั่นใจว่าปลอดภัยอย่างแน่นอน
มีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่โดยไม่ป้องกันมีความเสี่ยงหรือไม่ ?
คำตอบ : มีความเสี่ยงสูง เพราะเชื้อ HIV ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในน้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด ซึ่งเชื้อในบริเวณเหล่านั้นจะเป็นเชื้อที่มีความสมบูรณ์มาก และการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่นั้นเป็นวิธีการส่งและรับเชื้อที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมาก เพราะไม่สัมผัสอากาศและไม่มีการออกมานอกร่างกาย โดยเชื้อ HIV นั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางเยื่อบุผนังช่องคลอด เยื่อบุช่องทวาร และเยื่อบุอ่อนปลายอวัยวะเพศชาย หรือปลายท่ออสุจิ ถ้าไม่อยากให้เสี่ยงกับการติดเชื้อ ก็ควรที่จะสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่จะมีเพศสัมพันธ์ดีที่สุดค่ะ
มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันและหลั่งภายนอก ทำให้เกิดความเสี่ยงได้หรือไม่ ?
คำตอบ : การมีเพศสัมพันธ์หากไม่มีการป้องกันโดยการใส่ถุงยางอนามัยก็เกิดความเสี่ยงได้ ไม่ว่าจะหลั่งภายนอกหรือภายใน แต่โอกาสที่จะติดเชื้อนั้นแตกต่างกันไป เช่นหากฝ่ายหญิงติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว แต่ฝ่ายชายไม่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะหลั่งภายนอกหรือหลั่งภายในก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกันเพราะอวัยวะเพศชายก็ต้องมีการสัมผัสกับน้ำช่องคลอดของฝ่ายหญิง แต่ถ้าหากฝ่ายชายติดเชื้อแต่ฝ่ายหญิงไม่ติดเชื้อ การหลั่งภายนอกก็จะทำให้เสี่ยงน้อยลงค่ะ
ถ้าถุงยางอนามัยเกิดรั่วหรือแตกระหว่างมีเพศสัมพันธ์จะมีโอกาสเสี่ยงหรือไม่ ?
คำตอบ : โดยปกติแล้วถุงยางอนามัยที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากสำนักงานอาหารและยา (อย.) และมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) แล้วนั้น จะไม่มีโอกาสรั่วเลย แต่ถ้าหากเกิดอาการรั่วซึมหรือแตก นั่นอาจมีสาเหตุมาจากการเสื่อมคุณภาพ อย่างเช่นการทิ้งไว้นานจนหมดอายุ หรือเก็บในที่ร้อนมาก ๆ หรือโดนแดดเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่มีการพบว่าเกิดการติดเชื้อ HIV จากการถุงยางอนามัยรั่วหรือแตกมาก่อนค่ะ
มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อ HIV หรือไม่ ?
คำตอบ : จริง ๆ แล้ว การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับเพศเดียวกันหรือต่างเพศ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้หากไม่มีการป้องกันที่ปลอดภัย แต่ในกรณีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายนั้นมีโอกาสติดเชื้อได้มากกว่าปกติเนื่องจากการสอดใส่ทางทวารนั้นจะทำให้เกิดบาดแผลได้ง่ายกว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบปกติ ดังนั้น จึงควรที่จะสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงจะดีกว่าค่ะ
การเล้าโลมภายนอก โดยไม่มีการสอดใส่ ทำให้ติดเชื้อได้หรือไม่ ?
คำตอบ : ไม่สามารถทำให้ติดเชื้อได้ เนื่องจากการติดเชื้อ HIV ได้นั้นจะต้องมีปัจจัย 3 ประการครบถ้วนคือ
- เชื่อที่สัมผัสจะต้องมีปริมาณมากพอ
- เชื้อที่ได้รับหรือสัมผัสต้องเป็นเชื้อที่มีคุณภาพเพียงพอ
- เชื้อจะต้องเข้าสู่ร่างกายโดยตรง
ได้ทราบกันแบบนี้แล้วก็คงจะรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าจะป้องกันอย่างไรดีเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์ การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าอีกฝ่ายนั้นติดเชื้อเอดส์หรือไม่ รักสนุกก็อย่าลืมรักตัวเองดีกว่าเนอะ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลังยังไงล่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์เภสัชสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
โรคเอดส์
คือโรคติดต่อร้ายแรงทางเพศสัมพันธ์ที่ยังคงเป็นภัยคุกคามร้ายแรงมาตั้งแต่ในอดีต
ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์เพื่อป้องกันอย่างไรแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอัตราของผู้ติดเชื้อ
HIV ก็เพิ่มสูงขึ้นอยู่ดี
นั่นเป็นเพราะว่าคนส่วนใหญ่ยังคงคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัว
แถมยังไม่มีความรู้เรื่องโรคเอดส์อย่างเพียงพอ
วันนี้กระปุกดอทคอมเลยจะนำสารพัดคำถาม-คำตอบ
เกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์มาบอกกัน ใครที่กำลังสงสัยในหลาย ๆ
เรื่องแต่ไม่กล้าถามใคร เรามีคำตอบให้ค่ะ
คำตอบ : โดยปกติแล้วการใช้ปากกับอวัยวะเพศ หรือการทำออรัลเซ็กส์นั้น ไม่ได้ทำให้ติดเอดส์ ถึงแม้ว่าอีกฝ่ายจะมีเชื้อ HIV เพราะในน้ำลายนั้นมีน้ำย่อยบางอย่างที่ทำให้เชื้อ HIV บกพร่องและมีสภาพไม่สมบูรณ์ แต่ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย 100% เพราะถ้าหากฝ่ายชายมีแผลในปาก หรือมีเลือดออกในปากก็จะทำให้มีเชื้อ HIV ในปากมากขึ้น และถ้าหากในฝ่ายหญิงมีแผลบริเวณช่องคลอดก็จะเสี่ยงให้ได้รับเชื้อมากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้การใช้ปากยังทำให้เสี่ยงจะติดเชื้อโรคที่อยู่บริเวณอวัยวะเพศอย่างเช่น เชื้อบิด ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี พยาธิลำไส้ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม แผลริมอ่อน ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เอชพีวีไวรัส (HPV Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากและลำคอได้เช่นกันค่ะ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการใช้ถุงยางอนามัยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายชายหรือหญิง เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อพยาธิ และเชื้อ HIV ค่ะ
จูบปากจะทำให้ติดเอดส์หรือไม่ ?
คำตอบ : เช่นเดียวกับการทำออรัลเซ็กส์ค่ะ ในปากของผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีเชื้อน้อย และโดยส่วนใหญ่เชื้อก็จะไม่สมบูรณ์ ดังนั้นการจูบปากจะไม่ทำให้ติดเชื้อ ยกเว้นแต่ถ้าหากภายในปากผู้ติดเชื้อ HIV มีแผล หรือเลือดไหลก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่่ยงหากมีการจูบแบบดูดดื่มได้ค่ะ แต่แผลร้อนในปากนั้นไม่สามารถเป็นช่องทางให้เชื้อเล็ดลอดเข้าไปได้เนื่องจากปากแผลไม่ใช่แผลเปิดค่ะ
ใช้มือสัมผัสกับอวัยวะเพศของผู้ป่วยโรคเอดส์ทำให้ติดเชื้อได้หรือไม่ ?
คำตอบ : การติดเชื้อ HIV นั้น ไม่สามารถเกิดจากสัมผัสได้ แต่ถ้าหากมือของผู้ที่สัมผัสนั้นมีบาดแผลก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงได้ ดังนั้นทางที่ดี ก่อนจะสัมผัสควรจะสวมใส่ถุงยางที่อวัยวะเพศก่อนแล้วค่อยสัมผัสดีกว่าค่ะ จะได้มั่นใจว่าปลอดภัยอย่างแน่นอน
มีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่โดยไม่ป้องกันมีความเสี่ยงหรือไม่ ?
คำตอบ : มีความเสี่ยงสูง เพราะเชื้อ HIV ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในน้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด ซึ่งเชื้อในบริเวณเหล่านั้นจะเป็นเชื้อที่มีความสมบูรณ์มาก และการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่นั้นเป็นวิธีการส่งและรับเชื้อที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมาก เพราะไม่สัมผัสอากาศและไม่มีการออกมานอกร่างกาย โดยเชื้อ HIV นั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางเยื่อบุผนังช่องคลอด เยื่อบุช่องทวาร และเยื่อบุอ่อนปลายอวัยวะเพศชาย หรือปลายท่ออสุจิ ถ้าไม่อยากให้เสี่ยงกับการติดเชื้อ ก็ควรที่จะสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่จะมีเพศสัมพันธ์ดีที่สุดค่ะ
มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันและหลั่งภายนอก ทำให้เกิดความเสี่ยงได้หรือไม่ ?
คำตอบ : การมีเพศสัมพันธ์หากไม่มีการป้องกันโดยการใส่ถุงยางอนามัยก็เกิดความเสี่ยงได้ ไม่ว่าจะหลั่งภายนอกหรือภายใน แต่โอกาสที่จะติดเชื้อนั้นแตกต่างกันไป เช่นหากฝ่ายหญิงติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว แต่ฝ่ายชายไม่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะหลั่งภายนอกหรือหลั่งภายในก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกันเพราะอวัยวะเพศชายก็ต้องมีการสัมผัสกับน้ำช่องคลอดของฝ่ายหญิง แต่ถ้าหากฝ่ายชายติดเชื้อแต่ฝ่ายหญิงไม่ติดเชื้อ การหลั่งภายนอกก็จะทำให้เสี่ยงน้อยลงค่ะ
ถ้าถุงยางอนามัยเกิดรั่วหรือแตกระหว่างมีเพศสัมพันธ์จะมีโอกาสเสี่ยงหรือไม่ ?
คำตอบ : โดยปกติแล้วถุงยางอนามัยที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากสำนักงานอาหารและยา (อย.) และมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) แล้วนั้น จะไม่มีโอกาสรั่วเลย แต่ถ้าหากเกิดอาการรั่วซึมหรือแตก นั่นอาจมีสาเหตุมาจากการเสื่อมคุณภาพ อย่างเช่นการทิ้งไว้นานจนหมดอายุ หรือเก็บในที่ร้อนมาก ๆ หรือโดนแดดเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่มีการพบว่าเกิดการติดเชื้อ HIV จากการถุงยางอนามัยรั่วหรือแตกมาก่อนค่ะ
มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อ HIV หรือไม่ ?
คำตอบ : จริง ๆ แล้ว การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับเพศเดียวกันหรือต่างเพศ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้หากไม่มีการป้องกันที่ปลอดภัย แต่ในกรณีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายนั้นมีโอกาสติดเชื้อได้มากกว่าปกติเนื่องจากการสอดใส่ทางทวารนั้นจะทำให้เกิดบาดแผลได้ง่ายกว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบปกติ ดังนั้น จึงควรที่จะสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงจะดีกว่าค่ะ
การเล้าโลมภายนอก โดยไม่มีการสอดใส่ ทำให้ติดเชื้อได้หรือไม่ ?
คำตอบ : ไม่สามารถทำให้ติดเชื้อได้ เนื่องจากการติดเชื้อ HIV ได้นั้นจะต้องมีปัจจัย 3 ประการครบถ้วนคือ
- เชื่อที่สัมผัสจะต้องมีปริมาณมากพอ
- เชื้อที่ได้รับหรือสัมผัสต้องเป็นเชื้อที่มีคุณภาพเพียงพอ
- เชื้อจะต้องเข้าสู่ร่างกายโดยตรง
ได้ทราบกันแบบนี้แล้วก็คงจะรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าจะป้องกันอย่างไรดีเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์ การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่าอีกฝ่ายนั้นติดเชื้อเอดส์หรือไม่ รักสนุกก็อย่าลืมรักตัวเองดีกว่าเนอะ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลังยังไงล่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์เภสัชสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์