ข่าวเกี่ยวกับสุขภาพของกระดูก (อาหาร & สุขภาพ)
หากคิดว่าตัวคุณทราบดีแล้วว่าจะทำให้กระดูกแข็งแรงได้อย่างไร แล้วยังยึดติดกับความเชื่อเดิม ๆ แล้ว คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกระดูก ที่จะให้คำแนะนำในการปกป้องกระดูกของคุณ
ทานผักใบเขียว
นมให้สารอาหารมากมาย แต่กลายเป็นว่าการดื่มแต่ของที่อุดมด้วยแคลเซียมยังไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันโรคกระดูกพรุน ด็อกเตอร์ เอมี่ เจ ลานู, Ph.D. นักวิทยาศาสตร์โภชนาการอาวุโสของ Physicans Committee for Responsible Medicine และเป็นผู้ร่วมเขียนหนังสือ Building Bone Vitality (McGraw-Hill) กล่าวว่า ที่จริงแล้วการดื่มนมมากอาจทำให้สูญเสียมวลกระดูก เพราะอาหารนมจะไปเพิ่มระดับความเป็นกรดในกระแสเลือด เพื่อที่จะลดระดับความเป็นกรดนั้น กระดูกจะปล่อยแคลเซียมออกมาในรูปเกลือ alkaline bone salt
ลานู แนะนำให้รับประทานผักใบเขียวจัดที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักกาดใบหยิก (kale) และ chard ซึ่งอุดมด้วยแคลเซียมและมีฤทธิ์เป็นด่าง-ไม่ใช่กรด และควรพิจารณาเปลี่ยนไปรับประทานอาหารอาหารมังสวิรัติที่ปราศจากผลิตภัณฑ์อาหารนม หรืออย่างน้อยก็รับประทานบ้างเป็นบางครั้ง
อย่าพึ่งพาแต่อาหารเสริมแคลเซียมเพียงอย่างเดียว จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์แบบออนไลน์ของวารสาร British Medical Journal ระบุว่า อาหารเสริมแคลเซียมมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจพิบัติที่สูงขึ้น และลานู กล่าวด้วยว่า "มันก็ไม่ได้ช่วยได้มากนัก เพราะร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมในนั้นได้ราว 32 เปอร์เซ็นต์" และกล่าวต่อไปว่า "เมื่อรับประทานผักกาดใบหยิก เราจะดูดซึมแคลเซียมในนั้นได้ 64 เปอร์เซ็นต์" ดังนั้นอาหารพืชที่มีประโยชน์จะเป็นแหล่งแคลเซียมได้เป็นอย่างดี
รับประทานวิตามินดี และ ซี
"แคลเซียมได้รับเครดิตทั้งหมดที่ว่าทำให้กระดูกแข็งแรง แต่ก็มีวิตามินและเกลือแร่อื่น ๆ อีกหลายอย่างที่สำคัญต่อสุภาพของกระดูก"
วิตามินซีช่วยสร้างคอลลาเจนในกระดูกซึ่งเป็นที่ที่แคลเซียมสะสมตัวอยู่ ส่วนวิตามินดีช่วยเคลื่อนย้ายแคลเซียมจากอาหารที่เราบริโภคเข้าไปจากทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสโลหิต เพื่อที่จะได้นำไปสะสมไว้ที่กระดูกต่อไป ให้รับประทานวิตามินซี วันละ 500 มิลลิกรัม และวิตามินดี วันละ 2,000 หน่วยสากล (IU)
อย่าใช้ยา
ทั้งยาสแตติน, สเตอรอยด์, ยาต้านการอักเสบ, ยาแก้แสบร้อนในอก และยาอื่นที่ใช้เป็นเวลานาน ๆ ล้วนมีผลในแง่ลบต่อสุขภาพของกระดูก เหตุผลก็แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของยา บ้างก็ยับยั้งการผลิตเซลล์กระดูก ในขณะที่ยาอื่นอาจไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
ลานู แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ว่ายาที่ใช้อยู่เป็นประจำอาจมีผลข้างเคียงทำให้กระดูกอ่อนแอหรือไม่ และถามถึงทางเลือกในการรักษาแบบธรรมชาติแทนการใช้ยา หรือวิธีที่จะรับมือกับผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น
ออกกำลังกาย
ลานู กล่าวว่า "ก็เหมือนกับการสร้างกล้ามเนื้อ นั่นคือเราต้องใช้กล้ามเนื้อ ดังนั้น เพื่อกระตุ้นการสร้างเซลกระดูก เราก็ต้องใช้กระดูกของเรา"
วิธีทำก็คือทำให้เกิดแรงกดขึ้นมาโดยการให้กล้ามเนื้อและเอ็นที่อยู่รอบ ๆ ทำงานหนักพอที่จะไปดึงกระดูก ให้เลือกการออกกำลังที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางที่แตกต่างกันออกไป อาจเป็นโยคะ, เต้นรำ, เทนนิส หรือกีฬาที่ใช้แร็คเก็ตอื่น ๆ การยกน้ำหนักก็ดี เช่นเดียวกับการวิ่งหรือพายเรือ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมเบา ๆ อย่างเช่นการทำสวน หรือการเดินก็ช่วยได้เช่นกัน
ลดการบริโภคเกลือ
เมื่อมีโซเดียมในเลือดมากเกินไป ไตก็จะทำงานหนักขึ้น เพื่อกำจัดส่วนเกินออก มีกลไกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "sodium pump" ที่ช่วยทำหน้าที่นี้และการปั๊มที่ว่านี้ก็ต้องการแคลเซียมในการทำงานด้วย เมื่อต้องการแคลเซียมเพื่อให้การปั๊มโซเดียมทำงาน ก็ต้องเอาแคลเซียมมาจากกระดูก หากมีไม่พอก็ต้องเอามาจากเลือด ในการควบคุมระดับโซเดียม หากคุณแข็งแรงก็อย่ารับประทานให้เกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม หากมีความดันโลหิตสูง, โรคไต หรือโรคเบาหวานก็อย่าเกิน 1,500 มิลลิกรัม
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก