ฉลาดใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ



 

ฉลาดใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ (สุขภาพดี)

          เวลาเราขยับเขยื้อนร่างกาย ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน จะต้องใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวทั้งสิ้น โดยระบบประสาทที่อยู่ในสมองจะสั่งการผ่านมาทางเส้นประสาทให้หลั่งสารสื่อประสาทไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้หดหรือคลายตัว ทำให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้

          สำหรับคนเมืองที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบกับการทำงาน อาจส่งผลให้บ่อยครั้งที่สมองหลั่งสารสื่อประสาทออกมามากเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อถูกกระตุ้นเยอะ และเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวอย่างต่อเนื่องนานๆ อาจทำให้เกิดการอักเสบและรู้สึกปวดกล้ามเนื้อได้ รวมถึงคนรักสุขภาพที่ชอบออกกำลังกาย การใช้กล้ามเนื้อหนักๆ ก็อาจทำให้คุณปวดตึง เมื่อยล้า พอเป็นบ่อยๆ ก็เริ่มเบื่อที่จะไปหาหมอ แล้วเลือกที่จะซื้อยามากินเอง ซึ่งการกินยาคลายกล้ามเนื้ออย่างไรให้ปลอดภัย เรามีข้อมูลดีๆ จาก พญ.กานต์ชนก พานิช มาฝากค่ะ

ยากินเพื่อช่วยลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมีหลายประเภท

          1.ยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาท โดยยับยั้งการสั่งผ่านความรู้สึกในระบบประสาท ได้แก่ ยา Orphenadrine, Tolperisone
          2.ยาลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ มีฤทธิ์ยับยั้งขบวนการอักเสบและการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ มี 2 กลุ่ม คือ
               2.1.ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid)
               2.2.ยาลดการอักเสบลดปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ได้แก่ Diclofenac, Nappraxen, Piraxicam, Nidol, Aspirin, lndomethacin
          3.ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ลดอาการไข้โดยการยับยั้งศูนย์ควบคุมอุณหภูมิความร้อน และบรรเทาอาการปวดทั่วๆ ไป

กินยาช่วยลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างไรให้ปลอดภัย

          ในคนที่เล่นกีฬาหรือคนทำงานที่มักเคร่งเครียดแล้วมีอาการปวดเมื่อยอยู่บ่อยครั้ง อาจจะใช้ยาผสมผสานหลายๆ กลุ่ม เพื่อลดอาการปวดเมื่อยที่รุมเร้า โดยอาจใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดอาการปวดดูก่อน หากยังไม่ดีขึ้นจึงค่อยใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ แล้วใช้ยาลดการอักเสบ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สารก่อการอักเสบ (Prostaglandin) ซึ่งหากกินแล้วอาการทุเลาลง ให้กินต่อจนอาการหายจากปวดเมื่อย แต่ก็ต้องระวังในยากลุ่ม NSAIDS ซึ่งจะมีฤทธิ์กัดกระเพาะ จึงไม่ควรใช้ในระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะได้

          ซึ่งการใช้ยาในขั้นต้นสามารถใช้ยาพาราเซตามอลเองได้ แต่ถ้ากินแล้วอาการปวดไม่ทุเลา อาจจะไปพบแพทย์เพื่อรับยากลุ่มอื่น และถ้ามีอาการปวดอยู่และกินยาไปประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น มีอาการอักเสบ ปวด บวมแดง ร้อน มีไข้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย

 
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก




 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ฉลาดใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ อัปเดตล่าสุด 16 ธันวาคม 2556 เวลา 11:36:13 17,790 อ่าน
TOP
x close