ผักพื้นบ้านอย่างใบเหลียงมีประโยชน์ต่อสุขภาพไม่น้อยไปกว่าความอร่อยในฐานะอาหารจานเด็ดเลย
ใบเหลียงเป็นผักพื้นเมืองของภาคใต้ แต่มีชื่อเสียงได้จากเมนูใบเหลียงผัดไข่ ที่คนภาคไหน ๆ ก็ชอบกิน ทว่านอกจากความอร่อยของใบเหลียงแล้ว ผักชนิดนี้ยังมีดีต่อสุขภาพไม่น้อยเลยนะ เรามาทำความรู้จักผักเหลียงและสรรพคุณของผักกินใบ อาหารเพื่อสุขภาพ ชนิดนี้กันดีกว่า
ใบเหลียง ผักพื้นบ้านของภาคใต้
ผักเหลียงหรือในชื่ออื่น ๆ อย่างผักเหมียง ผักเขรียง จริง ๆ แล้วมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gnetum gnemon L. Var. tenerum Markgr. เป็นพืชในวงศ์ GNETACEAE ลักษณะลำต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-4 เมตร ผักเหลียงเป็นพืชกินใบ ลักษณะใบเรียวยาว สีเขียวอ่อน ๆ ไปจนเขียวเข้ม ทั้งใบและยอดของผักเหลียงสามารถรับประทานได้ แต่ต้องทำให้สุกก่อน
ทั้งนี้แหล่งปลูกผักเหลียงในประเทศไทยจะอยู่ในแถบภาคใต้ อย่างจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง เป็นต้น
ใบเหลียง คุณค่าทางโภชนาการไม่ใช่ย่อย
ใบเหลียงปริมาณ 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
พลังงาน 100 กรัม
น้ำ 75.1 กรัม
โปรตีน 6.6 กรัม
ไขมัน 1.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 15.8 กรัม
ไฟเบอร์ 8.8 กรัม
เถ้า 1.3 กรัม
แคลเซียม 151 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 224 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 1089 ไมโครกรัม
ไทอามิน 0.18 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.75 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 1.7 มิลลิกรัม
วิตามินซี 192 มิลลิกรัม
ใบเหลียง สรรพคุณไม่ธรรมดา
นอกจากความอร่อยของใบเหลียงที่มีรสหวาน มัน ในตัวเองจนได้ชื่อว่า "ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้" แล้ว ใบเหลียงยังมีประโยชน์ด้านสุขภาพ ดังนี้
1. วิตามินเอสูง ดีต่อดวงตา
วิตามินเอหรือเบต้าแคโรทีนในใบเหลียงมีมากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า จึงจัดได้ว่าใบเหลียงเป็นแหล่งของวิตามินเอ และสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ มีประโยชน์ในด้านช่วยเสริมการเจริญเติบโตในเด็ก และผู้ที่มีปัญหาสายตา เช่น ปัญหาตาบอดกลางคืน หรือตาฝ้าฟางจากภาวะขาดวิตามินเอ
นอกจากนี้วิตามินเอยังเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ลูกตา และลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกอีกด้วย
2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย
สารต้านอนุมูลอิสระในใบเหลียงมีส่วนช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ชื่อว่า ทีเฮลเปอร์ (T helper cell) ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นและชี้นำการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ให้มีความสามารถในการต้านสิ่งแปลกปลอมและฆ่าเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายได้ดีขึ้น ดังนั้นหากอยากมีภูมิต้านทานที่ดี อย่าลืมกินใบเหลียงบ่อย ๆ ล่ะ
3. บำรุงกระดูกและฟัน
จะเห็นได้ว่าใบเหลียงมีทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ทั้งยังมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตในเด็กได้อีกด้วย
4. ชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ
ทั้งน้ำ ไฟเบอร์ วิตามินเอ รวมไปถึงสารต้านอนุมูลอิสระ และสารพฤกษเคมีในใบเหลียง ล้วนเป็นสารสำคัญในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิวพรรณ และยังช่วยเติมควมเปล่งปลั่งให้ผิว ป้องกันความเหี่ยวย่น รวมทั้งยังต้านความแก่ได้ดี
5. ป้องกันมะเร็ง
อย่างที่รู้กันดีว่าสารต้านอนุมูลอิสระเป็นอาวุธสำคัญในการป้องกันมะเร็งร้าย และช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายได้ ดังนั้นการกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงเป็นประจำ ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง และใบเหลียงก็จัดเป็นผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง แถมยังมีสารพฤกษเคมีในตัวเองอีกด้วย
ใบเหลียง เมนูไหนก็อร่อย
ใบเหลียงทำอาหารได้หลายอย่าง เพราะเป็นผักที่มีรสชาติอร่อยในตัวเอง โดยเมนูใบเหลียงที่นิยมทำกันก็จะมี ใบเหลียงต้มกะปิ หรือที่คนใต้เรียกว่าแกงเคย และอีกหนึ่งเมนูใบเหลียงยอดฮิต ที่คนภาคไหนก็ชอบกิน ซึ่งก็คือใบเหลียงผัดไข่นั่นเอง
- ใบเหลียงผัดไข่ อาหารไทยจากผักพื้นบ้าน
ใบเหลียง ต้านโควิด 19 ได้จริงไหม
จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลว่าใบเหลียงสามารถต้านโควิด 19 ได้ จนเกิดความเข้าใจผิด ๆ ส่งต่อกันอย่างมากมาย ซึ่งเรื่องนี้จริง ๆ แล้วเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะยังไม่มีงานวิจัยยืนยันได้ว่า ใบเหลียงมีสรรพคุณต้าน COVID-19 ได้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ใบเหลียงมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายเรา และเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน อย่างที่เราเพิ่งนำเสนอไปข้างต้น ซึ่งหากต้องการมีร่างกายที่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดีในการต่อต้านโรคภัย ก็สามารถรับประทานใบเหลียงเสริมไปได้อย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ เช่น กินอาหารครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
ขอบคุณข้อมูลจาก
เดลินิวส์, ไทยโพสต์, กองโภชนาการ กรมอนามัย, ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
ใบเหลียง ผักพื้นบ้านของภาคใต้
ผักเหลียงหรือในชื่ออื่น ๆ อย่างผักเหมียง ผักเขรียง จริง ๆ แล้วมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gnetum gnemon L. Var. tenerum Markgr. เป็นพืชในวงศ์ GNETACEAE ลักษณะลำต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-4 เมตร ผักเหลียงเป็นพืชกินใบ ลักษณะใบเรียวยาว สีเขียวอ่อน ๆ ไปจนเขียวเข้ม ทั้งใบและยอดของผักเหลียงสามารถรับประทานได้ แต่ต้องทำให้สุกก่อน
ทั้งนี้แหล่งปลูกผักเหลียงในประเทศไทยจะอยู่ในแถบภาคใต้ อย่างจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง เป็นต้น
ใบเหลียง คุณค่าทางโภชนาการไม่ใช่ย่อย
ใบเหลียงปริมาณ 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
พลังงาน 100 กรัม
น้ำ 75.1 กรัม
โปรตีน 6.6 กรัม
ไขมัน 1.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 15.8 กรัม
ไฟเบอร์ 8.8 กรัม
เถ้า 1.3 กรัม
แคลเซียม 151 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 224 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 1089 ไมโครกรัม
ไทอามิน 0.18 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.75 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 1.7 มิลลิกรัม
วิตามินซี 192 มิลลิกรัม
ใบเหลียง สรรพคุณไม่ธรรมดา
นอกจากความอร่อยของใบเหลียงที่มีรสหวาน มัน ในตัวเองจนได้ชื่อว่า "ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้" แล้ว ใบเหลียงยังมีประโยชน์ด้านสุขภาพ ดังนี้
1. วิตามินเอสูง ดีต่อดวงตา
วิตามินเอหรือเบต้าแคโรทีนในใบเหลียงมีมากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า จึงจัดได้ว่าใบเหลียงเป็นแหล่งของวิตามินเอ และสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ มีประโยชน์ในด้านช่วยเสริมการเจริญเติบโตในเด็ก และผู้ที่มีปัญหาสายตา เช่น ปัญหาตาบอดกลางคืน หรือตาฝ้าฟางจากภาวะขาดวิตามินเอ
นอกจากนี้วิตามินเอยังเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ลูกตา และลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกอีกด้วย
2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย
สารต้านอนุมูลอิสระในใบเหลียงมีส่วนช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ชื่อว่า ทีเฮลเปอร์ (T helper cell) ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นและชี้นำการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ให้มีความสามารถในการต้านสิ่งแปลกปลอมและฆ่าเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายได้ดีขึ้น ดังนั้นหากอยากมีภูมิต้านทานที่ดี อย่าลืมกินใบเหลียงบ่อย ๆ ล่ะ
3. บำรุงกระดูกและฟัน
จะเห็นได้ว่าใบเหลียงมีทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ทั้งยังมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตในเด็กได้อีกด้วย
4. ชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ
ทั้งน้ำ ไฟเบอร์ วิตามินเอ รวมไปถึงสารต้านอนุมูลอิสระ และสารพฤกษเคมีในใบเหลียง ล้วนเป็นสารสำคัญในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิวพรรณ และยังช่วยเติมควมเปล่งปลั่งให้ผิว ป้องกันความเหี่ยวย่น รวมทั้งยังต้านความแก่ได้ดี
5. ป้องกันมะเร็ง
อย่างที่รู้กันดีว่าสารต้านอนุมูลอิสระเป็นอาวุธสำคัญในการป้องกันมะเร็งร้าย และช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายได้ ดังนั้นการกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงเป็นประจำ ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง และใบเหลียงก็จัดเป็นผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง แถมยังมีสารพฤกษเคมีในตัวเองอีกด้วย
ใบเหลียง เมนูไหนก็อร่อย
ใบเหลียงทำอาหารได้หลายอย่าง เพราะเป็นผักที่มีรสชาติอร่อยในตัวเอง โดยเมนูใบเหลียงที่นิยมทำกันก็จะมี ใบเหลียงต้มกะปิ หรือที่คนใต้เรียกว่าแกงเคย และอีกหนึ่งเมนูใบเหลียงยอดฮิต ที่คนภาคไหนก็ชอบกิน ซึ่งก็คือใบเหลียงผัดไข่นั่นเอง
- ใบเหลียงผัดไข่ อาหารไทยจากผักพื้นบ้าน
ใบเหลียง ต้านโควิด 19 ได้จริงไหม
จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลว่าใบเหลียงสามารถต้านโควิด 19 ได้ จนเกิดความเข้าใจผิด ๆ ส่งต่อกันอย่างมากมาย ซึ่งเรื่องนี้จริง ๆ แล้วเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะยังไม่มีงานวิจัยยืนยันได้ว่า ใบเหลียงมีสรรพคุณต้าน COVID-19 ได้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ใบเหลียงมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายเรา และเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน อย่างที่เราเพิ่งนำเสนอไปข้างต้น ซึ่งหากต้องการมีร่างกายที่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดีในการต่อต้านโรคภัย ก็สามารถรับประทานใบเหลียงเสริมไปได้อย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ เช่น กินอาหารครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 28 เมษายน 2563
เดลินิวส์, ไทยโพสต์, กองโภชนาการ กรมอนามัย, ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย