มะรุม ที่หลายคนรู้จักดีในฐานะผักในแกงส้ม และอาจจะเคยเห็นเป็นชาใบมะรุมหรือสมุนไพรไทยบรรเทาอาการป่วยอยู่บ้าง แล้วอยากรู้ให้มากกว่านี้ไหมว่ามะรุมสรรพคุณดียังไง
* มะรุม มีที่มา
มะรุม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. อยู่ในวงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ชื่อมะรุมนี้ เป็นคำเรียกของชาวภาคกลาง หากเป็นทางภาคเหนือจะเรียกว่า "ผักมะค้อนก้อม" ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก "ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม" ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก "กาแน้งเดิง" ส่วนชาวฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก "ผักเนื้อไก่" เป็นต้น
* ลักษณะต้นมะรุม
มะรุม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนก หรือคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับกัน ผิวใบสีเขียว ด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลหรือฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผลหรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอด และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก ฝักแก่มีผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
มะรุม เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกและการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา
* คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม
กองโภชนาการ กรมอนามัย แสดงคุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุม ปริมาณ 100 กรัม ดังนี้
- พลังงาน 37 กิโลแคลอรี
- น้ำ 89.9 กรัม
- โปรตีน 2.2 กรัม
- ไขมัน 0.2 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 6.6 กรัม
- ใยอาหาร (Crude fiber) 1.2 กรัม
- เถ้า 1.1 กรัม
- แคลเซียม 9 มิลลกรัม
- ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 53 ไมโครกรัม
- ไทอะมิน 0.05 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.05 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 262 มิลลิกรัม
นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางที่จะนำพืชชนิดนี้มาใช้รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมาก นั่นคือ
- มีโปรตีน สูงกว่านมสด 2 เท่า
- มีวิตามินเอ มากกว่าแครอต 3 เท่า
- มีวิตามินซี 7 เท่าของส้ม
- มีแคลเซียม 3 เท่าของนมสด
- มีโพแทสเซียม 3 เท่าของกล้วย
- มีใยอาหารและพลังงานไม่สูงมาก เหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
* มะรุม สรรพคุณดียังไง รักษาโรคอะไรได้บ้าง
มะรุม เป็นสมุนไพรไทยที่อยู่ในตำรับยาพื้นบ้าน โดยแต่ละส่วนของต้นมะรุมยังมีสรรพคุณเฉพาะทางที่สามารถใช้เป็นยาได้ ดังนี้
- ราก มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ
- เปลือกจากลำต้น มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อน นำมาใช้ประคบ แก้โรค ปวดหลัง ปวดตามข้อ ได้เป็นอย่างดี รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบทจะใช้เปลือกมะรุมสด ๆ ตำบุบพอแตก ๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วดื่มสุราจะไม่รู้สึกเมา
- กระพี้ แก้ไข้สันนิบาตเพื่อลม
- ใบสด มีวิตามินซีสูง ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เยื่อเมือกอักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีแคลเซียม แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
- ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย
- ฝัก รสหวาน เย็น แก้ไข้หรือลดไข้
- เมล็ด นำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมัน สามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเกาต์ รักษาโรครูมาติสซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
- เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
นอกจากนี้ กากของเมล็ดมะรุมที่เหลือจากการทำน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในการกรอง หรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้ กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถนำมาทำปุ๋ยต่อได้อีกด้วย
* ประโยชน์ของมะรุม ในทางการแพทย์
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง พบว่ามะรุมมีฤทธิ์ที่น่าสนใจมากมาย ดังนี้
1. ลดความดันโลหิต
สารสกัดน้ำและเอทานอลของใบมะรุม รวมไปถึงสารสกัดเอทานอลของผลและฝักของมะรุม และสารในกลุ่ม Glycosides ที่พบในสารสกัดเมทานอลของฝักมะรุมแห้ง และเมล็ดมะรุม มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลอง เช่น หนูแรท และสุนัข
2. ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง
โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ ซึ่งทางสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิจัยศักยภาพของฝักมะรุมต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในหนูเมาส์ที่ถูกชักนำด้วยอะซอกซีมีเทน และเด็กซ์แทรนโซเดียมซัลเฟต และพบว่าในเชิงป้องกันมะเร็ง หนูเมาส์ที่ได้รับอาหารผสมผงฝักมะรุมในความเข้มข้นทุกขนาด สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ แต่กลุ่มหนูเมาส์ที่ได้รับอาหารผสมผงฝักมะรุมในความเข้มข้นสูง สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ
ส่วนในเชิงรักษา กลับพบว่าหนูเมาส์ที่ได้รับอาหารผสมผงฝักมะรุมในความเข้มข้นต่ำ มีจำนวนก้อนมะเร็งลำไส้ลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับผงฝักมะรุมในโดสสูง
นอกจากนี้ ผลการศึกษาชิ้นอื่น ๆ ยังพบว่า สารสกัดสำคัญจากใบมะรุม ยังแสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโด และทำลายเซลล์มะเร็งของหนูเมาส์ที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
3. ลดระดับคอเลสเตอรอล
สารสกัดน้ำของใบมะรุมมีผลลดระดับคอเลสเตอรอลและลดการเกิดพลัคในหลอดเลือดของหนูแรทและกระต่าย ที่ถูกกระตุ้นให้ได้รับอาหารไขมันสูง
4. ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สารสกัดเมทานอลของใบ และดอกของมะรุม สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูทดลองได้ และสารสกัดใบมะรุมยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย
5. ป้องกันตับอักเสบ
จากการศึกษาพบว่า สารสกัดเอทานอลจากใบมะรุม สารสกัดน้ำและเอทานอลจากดอกมะรุม มีฤทธิ์ป้องกันเซลล์ตับของหนูทดลองได้
6. ต้านและกำจัดอนุมูลอิสระ
งานวิจัยพบสรรพคุณต้านออกซิเดชั่นของใบ เมล็ดและรากของมะรุม โดยพบสารสำคัญในการต้านและกำจัดอนุมูลอิสระในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง
7. ต้านเชื้อแบคทีเรีย
สารสกัดจากใบ เมล็ด เปลือกต้น เปลือกราก ของมะรุม มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิดเลยทีเดียว
8. ลดน้ำตาลในเลือด
จากการศึกษาสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือดของมะรุม พบว่า ผงใบแห้ง สารสกัด 95% เอทานอล และเถ้าจากเปลือกต้นมะรุม มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน ส่วนสารสกัดเมทานอลจากเปลือกรากแสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในหนูเมาส์ได้
9. ต้านการอักเสบ
ชาชงน้ำร้อน และสารสกัดเมทานอลจากรากมะรุม มีสรรพคุณยับยั้งอาการบวมจากการอักเสบที่อุ้งเท้าของหนูแรทและหนูเมาส์ ส่วนเมล็ดแก่สีเขียว สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้ง และสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดมะรุม มีผลลดการอักเสบของทางเดินหายใจในหนูตะเภา ซึ่งตำรับยาพื้นบ้านได้นำสรรพคุณนี้ไปใช้บำบัดอาการผิดปกติจากภูมิแพ้อีกด้วย
ย้ำกันอีกครั้งว่าสรรพคุณมะรุมข้างต้นเป็นการศึกษาในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้น แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า มะรุมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณน่าสนใจหลายอย่าง ที่ทางการแพทย์มีความพยายามจะศึกษาสรรพคุณของมะรุมต่อไป เพื่อหวังว่าจะใช้ประโยชน์ของมะรุมในการรักษาโรคได้จริง ๆ ในสักวัน
* มะรุม ลดน้ำหนักได้จริงไหม
ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในคนที่แน่ชัดว่ามะรุมมีสรรพคุณลดน้ำหนักได้ ทว่ามะรุมก็เป็นผักพื้นบ้านที่มีไฟเบอร์เยอะ ให้พลังงานต่ำ และยังมีสารสำคัญและแร่ธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย แถมในการทดลองกับหนูยังพบฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย ดังนั้น หากจะกินมะรุมเป็นอาหารในบางมื้อ ก็ถือว่าเป็นเมนูสุขภาพที่น่าสนใจ แต่หากหวังผลในการลดน้ำหนักอย่างจริงจัง คงต้องลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นควบคู่ไปด้วยนะคะ
* มะรุม ทำอาหารอะไรได้บ้าง
เมนูมะรุมทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ยำ เช่น...
- แกงส้มมะรุม
- ยำฟักมะรุม
- ดอกหรือฝักมะรุมชุบแป้งทอด
- ไข่เจียวใบมะรุม
- แกงอ่อมมะรุม
- มะรุมต้มจิ้มน้ำพริก
- ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน
- ยอดมะรุมผัดไฟแดง
- แกงใบมะรุมใส่ปลาย่าง
ใครมีต้นมะรุมอยู่ที่บ้านต้องลองจัดสักเมนูแล้วล่ะเนอะ โดยหากจะรับประทานใบมะรุม ควรใช้ใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป นำไปลวกแต่พอดี ไม่ต้องสุกมาก เพราะหากถูกความร้อนนานเกินไปอาจสูญเสียคุณค่าทางอาหาร ถ้ารับประทานสดได้ก็จะดีมาก
* มะรุม กับโทษที่ควรระวัง
แม้มะรุมจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก แต่ก็มีข้อควรระวังในการรับประทานด้วยเหมือนกัน ดังนี้
1. ไม่ควรกินมะรุมในปริมาณมากเกินไป
จากการศึกษาพบว่า การได้รับมะรุมในปริมาณมากอาจไม่ได้ให้ผลดีเสมอไป และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการสะสมของสารบางอย่างที่อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรกินมะรุมอย่างพอเหมาะ โดยแนะนำให้กินมะรุมเป็นอาหาร ร่วมกับอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารชนิดอื่น ๆ อย่างครบถ้วน
2. สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังการรับประทานมะรุมในทุก ๆ ส่วน
เพราะจากการทดลองความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง พบว่าการรับประทานมะรุมเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดการสะสมของสารบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นพิษและทำให้เกิดการแท้งได้
3. ผู้ป่วยที่กินมะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหมั่นตรวจการทำงานของตับ
เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ตรวจพบว่ามีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น
4. ผู้ป่วยโรคเลือดควรหลีกเลี่ยงมะรุม
มะรุมอาจส่งผลให้เม็ดเลือดแตกง่าย อันตรายต่อผู้ป่วยโรคเลือด
5. ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรรับประทาน
มะรุมเป็นผักที่มีโปรตีนสูง อาจทำให้อาการโรคเกาต์กำเริบได้
การรับประทานมะรุมเป็นอาหารเมนูต่าง ๆ คงไม่น่าเป็นห่วงเท่าไร เพราะปริมาณที่เรารับประทานได้อาจไม่มากจนเกินไป แต่สำหรับคนที่รับประทานมะรุมในรูปแบบอาหารเสริม หรือยาสมุนไพร ควรต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง และทางที่ดีต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนกินสมุนไพรหรืออาหารเสริมทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นมะรุมหรือสมุนไพรชนิดอื่นก็ตาม
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 25 มกราคม 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก
กองโภชนาการ กรมอนามัย, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหิดล แชนแนล, สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถ้าพูดถึงสมุนไพรไทย มะรุม ก็จัดว่าเป็นตัวท็อปในวงการอยู่เหมือนกัน เพราะนอกจากจะนำมะรุมมาทำเมนูต่าง ๆ แล้ว เราก็ยังเห็นมะรุมในรูปแบบยาสมุนไพร หรือชาสมุนไพรด้วย แสดงว่าประโยชน์ของมะรุม ต้องมีดีอยู่พอตัวแหละ งั้นมาเจาะลึกกับสมุนไพรที่ชื่อว่ามะรุมกันเลยไหม
มะรุม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. อยู่ในวงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ชื่อมะรุมนี้ เป็นคำเรียกของชาวภาคกลาง หากเป็นทางภาคเหนือจะเรียกว่า "ผักมะค้อนก้อม" ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก "ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม" ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก "กาแน้งเดิง" ส่วนชาวฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก "ผักเนื้อไก่" เป็นต้น
* ลักษณะต้นมะรุม
มะรุม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนก หรือคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับกัน ผิวใบสีเขียว ด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลหรือฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผลหรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอด และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก ฝักแก่มีผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
มะรุม เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกและการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา
* คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม
กองโภชนาการ กรมอนามัย แสดงคุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุม ปริมาณ 100 กรัม ดังนี้
- พลังงาน 37 กิโลแคลอรี
- น้ำ 89.9 กรัม
- โปรตีน 2.2 กรัม
- ไขมัน 0.2 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 6.6 กรัม
- ใยอาหาร (Crude fiber) 1.2 กรัม
- เถ้า 1.1 กรัม
- แคลเซียม 9 มิลลกรัม
- ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 53 ไมโครกรัม
- ไทอะมิน 0.05 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.05 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 262 มิลลิกรัม
นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางที่จะนำพืชชนิดนี้มาใช้รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมาก นั่นคือ
- มีโปรตีน สูงกว่านมสด 2 เท่า
- มีวิตามินเอ มากกว่าแครอต 3 เท่า
- มีวิตามินซี 7 เท่าของส้ม
- มีแคลเซียม 3 เท่าของนมสด
- มีโพแทสเซียม 3 เท่าของกล้วย
- มีใยอาหารและพลังงานไม่สูงมาก เหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
* มะรุม สรรพคุณดียังไง รักษาโรคอะไรได้บ้าง
มะรุม เป็นสมุนไพรไทยที่อยู่ในตำรับยาพื้นบ้าน โดยแต่ละส่วนของต้นมะรุมยังมีสรรพคุณเฉพาะทางที่สามารถใช้เป็นยาได้ ดังนี้
- ราก มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ
- เปลือกจากลำต้น มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อน นำมาใช้ประคบ แก้โรค ปวดหลัง ปวดตามข้อ ได้เป็นอย่างดี รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบทจะใช้เปลือกมะรุมสด ๆ ตำบุบพอแตก ๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วดื่มสุราจะไม่รู้สึกเมา
- กระพี้ แก้ไข้สันนิบาตเพื่อลม
- ใบสด มีวิตามินซีสูง ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เยื่อเมือกอักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีแคลเซียม แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
- ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย
- ฝัก รสหวาน เย็น แก้ไข้หรือลดไข้
- เมล็ด นำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมัน สามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเกาต์ รักษาโรครูมาติสซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
- เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
นอกจากนี้ กากของเมล็ดมะรุมที่เหลือจากการทำน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในการกรอง หรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้ กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถนำมาทำปุ๋ยต่อได้อีกด้วย
* ประโยชน์ของมะรุม ในทางการแพทย์
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง พบว่ามะรุมมีฤทธิ์ที่น่าสนใจมากมาย ดังนี้
1. ลดความดันโลหิต
สารสกัดน้ำและเอทานอลของใบมะรุม รวมไปถึงสารสกัดเอทานอลของผลและฝักของมะรุม และสารในกลุ่ม Glycosides ที่พบในสารสกัดเมทานอลของฝักมะรุมแห้ง และเมล็ดมะรุม มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลอง เช่น หนูแรท และสุนัข
2. ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง
โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ ซึ่งทางสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิจัยศักยภาพของฝักมะรุมต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในหนูเมาส์ที่ถูกชักนำด้วยอะซอกซีมีเทน และเด็กซ์แทรนโซเดียมซัลเฟต และพบว่าในเชิงป้องกันมะเร็ง หนูเมาส์ที่ได้รับอาหารผสมผงฝักมะรุมในความเข้มข้นทุกขนาด สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ แต่กลุ่มหนูเมาส์ที่ได้รับอาหารผสมผงฝักมะรุมในความเข้มข้นสูง สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ
ส่วนในเชิงรักษา กลับพบว่าหนูเมาส์ที่ได้รับอาหารผสมผงฝักมะรุมในความเข้มข้นต่ำ มีจำนวนก้อนมะเร็งลำไส้ลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับผงฝักมะรุมในโดสสูง
นอกจากนี้ ผลการศึกษาชิ้นอื่น ๆ ยังพบว่า สารสกัดสำคัญจากใบมะรุม ยังแสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโด และทำลายเซลล์มะเร็งของหนูเมาส์ที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
3. ลดระดับคอเลสเตอรอล
สารสกัดน้ำของใบมะรุมมีผลลดระดับคอเลสเตอรอลและลดการเกิดพลัคในหลอดเลือดของหนูแรทและกระต่าย ที่ถูกกระตุ้นให้ได้รับอาหารไขมันสูง
4. ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สารสกัดเมทานอลของใบ และดอกของมะรุม สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูทดลองได้ และสารสกัดใบมะรุมยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย
5. ป้องกันตับอักเสบ
จากการศึกษาพบว่า สารสกัดเอทานอลจากใบมะรุม สารสกัดน้ำและเอทานอลจากดอกมะรุม มีฤทธิ์ป้องกันเซลล์ตับของหนูทดลองได้
6. ต้านและกำจัดอนุมูลอิสระ
งานวิจัยพบสรรพคุณต้านออกซิเดชั่นของใบ เมล็ดและรากของมะรุม โดยพบสารสำคัญในการต้านและกำจัดอนุมูลอิสระในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง
7. ต้านเชื้อแบคทีเรีย
สารสกัดจากใบ เมล็ด เปลือกต้น เปลือกราก ของมะรุม มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิดเลยทีเดียว
8. ลดน้ำตาลในเลือด
จากการศึกษาสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือดของมะรุม พบว่า ผงใบแห้ง สารสกัด 95% เอทานอล และเถ้าจากเปลือกต้นมะรุม มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน ส่วนสารสกัดเมทานอลจากเปลือกรากแสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในหนูเมาส์ได้
9. ต้านการอักเสบ
ชาชงน้ำร้อน และสารสกัดเมทานอลจากรากมะรุม มีสรรพคุณยับยั้งอาการบวมจากการอักเสบที่อุ้งเท้าของหนูแรทและหนูเมาส์ ส่วนเมล็ดแก่สีเขียว สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้ง และสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดมะรุม มีผลลดการอักเสบของทางเดินหายใจในหนูตะเภา ซึ่งตำรับยาพื้นบ้านได้นำสรรพคุณนี้ไปใช้บำบัดอาการผิดปกติจากภูมิแพ้อีกด้วย
ย้ำกันอีกครั้งว่าสรรพคุณมะรุมข้างต้นเป็นการศึกษาในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้น แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า มะรุมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณน่าสนใจหลายอย่าง ที่ทางการแพทย์มีความพยายามจะศึกษาสรรพคุณของมะรุมต่อไป เพื่อหวังว่าจะใช้ประโยชน์ของมะรุมในการรักษาโรคได้จริง ๆ ในสักวัน
* มะรุม ลดน้ำหนักได้จริงไหม
ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในคนที่แน่ชัดว่ามะรุมมีสรรพคุณลดน้ำหนักได้ ทว่ามะรุมก็เป็นผักพื้นบ้านที่มีไฟเบอร์เยอะ ให้พลังงานต่ำ และยังมีสารสำคัญและแร่ธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย แถมในการทดลองกับหนูยังพบฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย ดังนั้น หากจะกินมะรุมเป็นอาหารในบางมื้อ ก็ถือว่าเป็นเมนูสุขภาพที่น่าสนใจ แต่หากหวังผลในการลดน้ำหนักอย่างจริงจัง คงต้องลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นควบคู่ไปด้วยนะคะ
* มะรุม ทำอาหารอะไรได้บ้าง
เมนูมะรุมทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ยำ เช่น...
- แกงส้มมะรุม
- ยำฟักมะรุม
- ดอกหรือฝักมะรุมชุบแป้งทอด
- ไข่เจียวใบมะรุม
- แกงอ่อมมะรุม
- มะรุมต้มจิ้มน้ำพริก
- ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน
- ยอดมะรุมผัดไฟแดง
- แกงใบมะรุมใส่ปลาย่าง
ใครมีต้นมะรุมอยู่ที่บ้านต้องลองจัดสักเมนูแล้วล่ะเนอะ โดยหากจะรับประทานใบมะรุม ควรใช้ใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป นำไปลวกแต่พอดี ไม่ต้องสุกมาก เพราะหากถูกความร้อนนานเกินไปอาจสูญเสียคุณค่าทางอาหาร ถ้ารับประทานสดได้ก็จะดีมาก
* มะรุม กับโทษที่ควรระวัง
แม้มะรุมจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก แต่ก็มีข้อควรระวังในการรับประทานด้วยเหมือนกัน ดังนี้
1. ไม่ควรกินมะรุมในปริมาณมากเกินไป
จากการศึกษาพบว่า การได้รับมะรุมในปริมาณมากอาจไม่ได้ให้ผลดีเสมอไป และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการสะสมของสารบางอย่างที่อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรกินมะรุมอย่างพอเหมาะ โดยแนะนำให้กินมะรุมเป็นอาหาร ร่วมกับอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารชนิดอื่น ๆ อย่างครบถ้วน
2. สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังการรับประทานมะรุมในทุก ๆ ส่วน
เพราะจากการทดลองความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง พบว่าการรับประทานมะรุมเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดการสะสมของสารบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นพิษและทำให้เกิดการแท้งได้
3. ผู้ป่วยที่กินมะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหมั่นตรวจการทำงานของตับ
เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ตรวจพบว่ามีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น
4. ผู้ป่วยโรคเลือดควรหลีกเลี่ยงมะรุม
มะรุมอาจส่งผลให้เม็ดเลือดแตกง่าย อันตรายต่อผู้ป่วยโรคเลือด
5. ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรรับประทาน
มะรุมเป็นผักที่มีโปรตีนสูง อาจทำให้อาการโรคเกาต์กำเริบได้
การรับประทานมะรุมเป็นอาหารเมนูต่าง ๆ คงไม่น่าเป็นห่วงเท่าไร เพราะปริมาณที่เรารับประทานได้อาจไม่มากจนเกินไป แต่สำหรับคนที่รับประทานมะรุมในรูปแบบอาหารเสริม หรือยาสมุนไพร ควรต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง และทางที่ดีต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนกินสมุนไพรหรืออาหารเสริมทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นมะรุมหรือสมุนไพรชนิดอื่นก็ตาม
กองโภชนาการ กรมอนามัย, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหิดล แชนแนล, สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์