
รู้จักหรือยัง?...โรคเมลิออยโดซิส (สสส.)
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 2
เมลิออยโดซิส (Melioidosis)...เป็นโรคติดเชื้อ อีกโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งสถานการณ์ของโรคในประเทศไทย จากการรายงานของกรมควบคุมโรค เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2550 มีผู้ป่วย 789 ราย เสียชีวิต 6 ราย จากการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีอาการหลายรูปแบบ ที่อาจคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ เช่น มาลาเรีย วัณโรค จึงได้ชื่อว่า "ยอดนักเลียนแบบ"
เมลิออยโดซิส เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Burkholderia pseudomalliei ซึ่งพบได้ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แพะ แกะ โค กระบือ โรคนี้พบได้ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยมีถิ่นระบาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ พบได้ทั่วไปในบริเวณระบาดโดยเฉพาะในดินและน้ำ มักพบในฤดูฝนหลังจากที่มีฝนตกประมาณ 1-2 เดือน ซึ่งคาดว่าเกิดจากการที่น้ำชะเอาเชื้อที่อยู่ในดิน ขึ้นมาอยู่ที่บริเวณผิวดิน ซึ่งเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย

ทั่วไปสามารถติดต่อจากการสัมผัสกับดินหรือน้ำ ผ่านทางแผลที่ผิวหนัง หรือหายใจเอาฝุ่นจากดิน หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไป เชื้อเมลิออยโดซิส สามารถอยู่ได้ในซากสัตว์ที่อยู่ในดินและน้ำ
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเมลิออยโดซิส ส่วนใหญ่คือผู้ที่มีอาชีพที่ต้องสัมผัสดินและน้ำโดยเฉพาะ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไตและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ เช่น ติดสุราหรือทานยากดภูมิคุ้มกัน โรคนี้ก็อาจเข้าแทรกซ้อนได้ เพราะเชื้อโรคชนิดนี้มีความพิเศษ ตรงที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยหลบหลีกระบบการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ทำให้สามารถหลบซ่อนอยู่ในร่างกายของเราได้นาน 20-30 ปี แต่ทั้งนี้ระยะฟักตัวอาจสั้นเพียง 2 วันหรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและอาการของโรค

เมื่อเชื้อเมลิออยโดซิสเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ทุกระบบ อาการของโรคจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อและความต้านทานโรคของร่างกาย
อาการโดยทั่วไป ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หายใจไม่สะดวก หรือหอบเหนื่อย ซึมแบบไม่รู้ตัว ผู้ป่วยบางรายมีอาการคล้ายโรคปอดบวมรุนแรง บางรายมีอาการคล้ายวัณโรค ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการและอาการแสดงได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ ๆ คือ









เนื่องจากอาการของโรคคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายชนิด อาจทำให้การวินิจฉัยผิดได้ ซึ่งจะมีผลต่อการรักษา เพราะการรักษาโรคเมลิออยซิสมีรูปแบบจำเพาะไม่เหมือนโรคติดเชื้ออื่น จำเป็นต้องพัฒนาวิธีการตรวจอย่างมีประสิทธิภาพ การวินิจฉัยจึงต้องตรวจยืนยัน โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะ ซึ่งถือเป็นวิธีมาตรฐาน








เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
