โรคหนังแข็ง เกิดจากอะไร รักษาได้ไหมนะ

          โรคหนังแข็ง โรคชื่อประหลาดที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และที่ร้ายกาจก็คือไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

โรคหนังแข็ง

          โรคหนังแข็ง เมื่อได้ยินชื่อนี้หลายคนก็อาจจะเกิดความสงสัยว่าเจ้าโรคชื่อปร­­­ะหลาดนี้คือโรคอะไรกันแน่ หลายคนอาจจะคิดว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไร เพราะชื่อของโรคก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่หารู้ไม่ว่าจริง ๆ แล้วโรคนี้มีความอันตรายและความน่ากลัวไม่น้อยเลยเชียวละค่ะ แต่ความอันตรายและความน่ากลัวจะมีมากขนาดไหนนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำตอบให้ทุกท่านได้มาเรียนรู้กันค่ะ ถึงอาจจะไม่ใช่โรคใกล้ตัว แต่รู้เอาไว้ระวังภัยดีกว่าเนอะ 

โรคหนังแข็งคืออะไร 

          โรคหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ โดยจัดเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มของโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิ­­­คุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีโอกาสเป็นเพียง 1,000 ต่อ 67 ล้านคนเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค แต่ลักษณะของโรคนั้นจะเกิดจากการสะสมของเส้นใยคอลลาเจนที่มากผิ­­­ดปกติที่บริเวณหนังแท้และผนังหลอดเลือด ทำให้อวัยวะภายในเกิดการแข็งตัวและหนา รวมทั้งผิวหนังภายนอกก็จะเกิดการบวม ตึง และแข็งเป็นบริเวณกว้าง จนดูคล้ายผิวขิงหุ่นขี้ผึ้งที่แข็งตึงจนหยิบไม่ขึ้น รวมทั้งขาดความยืดหยุ่นอีกด้วย 

อาการของโรคหนังแข็ง 

          โรคหนังแข็งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบทั้งทางผิวหนังภายนอก­­­และอวัยวะภายใน โดยมีอาการดังนี้ 

โรคหนังแข็ง

อาการทางผิวหนัง 

          ผิวหนังจะกลายเป็นสีดำ ไม่สามารถกำมือได้ มือจะขาวหรือสีซีดเนื่องจากเส้นเลือดหดตัว หลังจากนั้นมือจะกลายเป็นสีม่วงหรือคล้ำเนื่องจากภาวะผิวหนังขา­­­ดออกซิเจน ต่อมามือจะเป็นสีแดงเพราะเลือดที่ไหลไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น และอาจพบแผลจุดเล็ก ๆ ที่บริเวณปลายนิ้วอีกด้วย โดยอาการเหล่านี้จะเริ่มขึ้นที่มือก่อนแล้วจึงลามไปที่แขน ใบหน้า ลำตัว เมื่อกระจายไปที่บริเวณหน้าจะเกิดหน้าผากย่น ยิ้มยาก หากกระจายไปตามลำตัวจะพบด่างขาวเป็นจุด ๆ 

อาการกับอวัยวะภายใน 

          หลอดอาหาร : 80 % ของผู้ป่วยโรคหนังแข็งจะมีอาการทางหลอดอาหาร ทำให้เวลากลืนอาหารทำได้ลำบาก และรู้สึกเจ็บเวลากลืนอาหาร เนื่องจากการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารน้อยลง เกิดกรดไหลย้อน หรือหลอดอาหารอักเสบ แสบร้อนกลางอก หากเกิดที่ลำไส้จะทำให้ระบบการทำงานของลำไส้ผิดปกติจนเกิดอาการ­­­ท้องผูกหรือถ่ายเหลว รวมทั้งจะเรอบ่อยผิดปกติหลังจากรับประทานอาหาร 

          - พังผืดที่ปอด : เป็นอาการที่พบได้บ่อยรองจากระบบทางเดินอาหาร พบได้ 40 - 90% ของผู้ป่วย โดยจะทำให้เหนื่อยง่าย มีอาการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ และเหนื่อยง่าย  

          - หัวใจและหลอดเลือด : โดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่มีอาการแต่หากมีอาการเกิดขึ้นกับหัวใจแล้­­­ว อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 70% ภายใน 5 ปี

          - ไต : อาการเกี่ยวกับไตนั้นแทบจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสี่ยงเสียชี­­­วิตสูง โดยอาการของโรคไตแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ แบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยแบบเฉียบพลันจะมีอาการปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง ตามัวลง และแบบเรื้อรังก็อาจจะทำให้กลายเป็นไตวายในที่สุดค่ะ  

          - กล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ : ผู้ป่วยด้วยโรคหนังแข็งจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ก็อาจจะมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ หรือมีพังผืดเข้าแทรกในมัดกล้ามเนื้อได้ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อต้นขา 

          - ระบบสืบพันธุ์ : ในผู้ป่วยโรคหนังแข็งเพศชายอาจจะมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเน­­­ื่องจากอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เนื่องจากหลอดเลือดและผิวหนังเกิดการผิดปกติค่ะ 

          ทั้งนี้ยังมีอาการอื่น ๆ อีกเช่น อาการตาแห้ง ปากแห้ง เนื่องจากใยคอลลาเจนเข้าไปแทรกอยู่ในต่อมน้ำตา และต่อมน้ำลาย มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า เนื่องจากปลายประสาทบริเวณนิ้วมือหรือข้อมือถูกเบียดรัด 

โรคหนังแข็ง

กลุ่มเสี่ยงโรคหนังแข็งคือใคร ? 

          โดยส่วนใหญ่แล้วโรคหนังแข็งมักจะพบบ่อยในคนที่มีเชื้อสายอยู่ทา­­­งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการสันนิฐานว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่าง­­­ นอกจากนี้ยังพบในผู้ใหญ่วัยตั้งแต่ 30 - 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเพศหญิงจะมีความเสี่ยงกว่าเพศชายอยู่เล็กน้อย และสามารถพบได้ในครอบครัวเดียวกัน 

          อย่างเช่นหากแม่เป็น ลูกก็มีสิทธิ์จะเป็นได้เช่นกัน หรือ พี่น้องหากมีคนใดเป็นโรคหนังแข็ง พี่น้องร่วมสายเลือดก็มีสิทธิ์เป็นได้เช่นกัน แต่ก็มีการพบไม่บ่อยนัก ไม่เพียงเท่านั้นโรคหนังแข็งสามารถเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้ตนเองอ­­­ื่น ๆ เช่น โรคเอสแอลอี กลุ่มอาการโจเกรน หรือโรคกล้ามเนื้ออักเสบได้อีกด้วยค่ะ 

วิธีการรักษาโรคหนังแข็ง 

          โรคหนังแข็งมีวิธีการรักษา 2 แบบได้แก่การใช้ยา และการไม่ใช้ยา แต่ทั้ง 2 แบบก็เป็นการรักษาประคับประคองตามอาการเพียงเท่านั้น โดยการใช้ยาจะให้ยาที่มีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งและการสะสมตัวของ­­­เนื้อเยื่อเกี่ยวพันในอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งให้ยาขยายหลอดเลือดอาการปลายนิ้วซีด รวมทั้งลดอาการปวด 

          นอกจากนี้อาจจะเป็นยาที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร โดยการรักษานั้นสามารถหยุดได้เมื่ออาการสงบลง แต่ถ้าหากมีอาการกำเริบอีกก็จะเป็นที่จะต้องรักษาตามอาการกันต่­­­อไป และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดแต่อย่างใด 

โรคหนังแข็ง

ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวอย่างไร 

          ผศ.พญ.ปภาพิต ตู้จินดา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ให้ข้อมูลว่า ผู้ป่วยโรคนี้ควรปฏิบัติตัวดังนี้

          - หลีกเลี่ยงการสัมผัสความเย็น

          - ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย เนื่องจากอากาศเย็นจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น อาการของโรค เช่น ปลายนิ้วมือซีด เขียว ปวด จะกำเริบมากขึ้น

          - หยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น

          - ควรทำกายภาพบำบัดนิ้วมือเพื่อป้องกันการติดยึด และข้อผิดรูปของนิ้วมือ

          - หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการทำงานที่จะก่อให้แผลบริเวณปลายนิ้ว

          - ออกกำลังกายบริเวณหัวไหล่ โดยการหมุนหัวไหล่ในท่าขว้างลูกบอล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณปลายนิ้ว

          - ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนลำบาก, หายใจลำบากอึดอัด เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ มารับการตรวจ และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการป้องกัน 

          เนื่องจากโรคหนังแข็งนี้ยังเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน­­­ซึ่งแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้อย่างแน่ชัดถึงความผิดปกติ จึงทำให้ยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคนี้เช่นเดียวกับโรคแพ้ภูมิคุ­­­้มกันตนเองค่ะ 

          ได้ทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคหนังแข็งกันไปแล้ว หลายคนที่ไม่เคยได้ยินชื่อโรคนี้ก็คงจะพอรู้จักกันมาขึ้นแล้วใช­­­่ไหมคะ ในเมื่อโรคนี้เราไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้ เราก็ควรจะใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง และหากมีคนใกล้ชิดป่วยด้วยโรคนี้ละก็ ควรจะหมั่นให้กำลังใจเสมอ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้มีกำลังใจและมองโลกในแง่บวกมากขึ้นค่ะ 


ขอบคุณข้อมูลจาก 
ไทยโพสต์




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
โรคหนังแข็ง เกิดจากอะไร รักษาได้ไหมนะ อัปเดตล่าสุด 22 มิถุนายน 2565 เวลา 10:26:29 113,940 อ่าน
TOP
x close